สศอ. เร่งดันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ SMEs

07 มิ.ย. 2562 | 09:01 น.

สศอ.เดินหน้าขยายผลการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่เอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมทั่วประเทศ  พร้อมจับมือทุกภาคส่วนเร่งพัฒนา  เชื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางภาคธุรกิจ และยกระดับผลิตภาพของอุตสาหกรรมไทย

สศอ. เร่งดันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ SMEs

ดร.ณัฐพล  รังสิตพล  ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า  ปี 62 สศอ. ตั้งเป้าที่จะขยายผลการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่เอสเอ็มอี (SMEs) ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเกษตร  โดยมุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือสำหรับเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเพื่อดำเนินการ Smart farming โดยสถาบันไทย-เยอรมันได้เริ่มนำร่องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ) เพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร เช่น การสนับสนุน Smart module เช่น ระบบเซ็นเซอร์ในการวัดตัวแปรหรือพารามิเตอร์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการประเมินปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรในระยะยาว รวมถึง มุ่งเป้าในการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

ทั้งนี้  มาตรการสนับสนุนการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) โดยร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชนจัดโครงการ Robotic Cluster Pavilion จุดประสงค์หลัก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ ที่มีอย่างครบวงจรในจุดเดียว เริ่มต้นจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุน การขอรับคำปรึกษา การประเมินความพร้อมและความคุ้มค่าในการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุนและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการจับคู่ธุรกิจกับ System Integrator (SI) ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเป็นปีที่สอง โดยในปีที่ผ่านมามีผลตอบรับจากนักลงทุนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี

สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานจะเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการทุกขนาดสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น ระบบ I-industry และระบบ Single Form ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการขออนุมัติ/อนุญาตกับกระทรวงอุตสาหกรรม การขอรับบริการจากศูนย์ Industrial Transformation Center (ITC) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมถึงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และสมัครเข้าโปรแกรมสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) นอกจากนี้ ยังมีธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เข้าร่วมนำเสนอโปรแกรมสินเชื่อ ได้แก่ SME Bank ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

สศอ. เร่งดันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ SMEs

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวถึงความคืบหน้าแผนพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ว่า เป้าหมายระยะกลาง 5 ปี (ภายในปี 2564) ยกระดับเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยการลงทุนขยายตัว 2 แสนล้านบาท และการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานมากกว่า 50 %  / ระยะยาว 10 ปี (ภายในปี 2569) ไทยเป็นผู้นำในการผลิตและการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียน โดยมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองและส่งออกหุ่นยนต์

นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน และประธานคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE)  กล่าวถึงผลการดำเนินงานหน่วยงาน CoRE ในปี 2561-2562 ว่า  โรงงานจำนวน 229 โรงงาน ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต / ผู้ประกอบการจำนวน 65 บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่ารวม 9,641 ล้านบาท และมีผู้ขอสินเชื่อ SME เพื่อปรับระบบรวม 20 ราย มูลค่ารวม 123.5 ล้านบาท  /  SI (System Integrator) ได้รับการอบรมและพัฒนาจำนวน 100 คน /  ต้นแบบหุ่นยนต์ ได้รับการพัฒนามากถึง 5 ต้นแบบ สมาชิกหน่วยงานเครือข่าย จำนวน 15 แห่ง รวมถึงบุคลากรหรือผู้ใช้ จำนวนทั้งสิ้น 610 คน ก็ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาตามโปรแกรม

นายชัยพล มหามงคลสวัสดิ์ กรรมการบริหารฝ่ายจัดงานของสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) กล่าวว่า  จำนวนผู้ให้บริการออกแบบระบบ (System Integrator: SI) ที่มีศักยภาพ ณ ปัจจุบัน มีจำนวน 110 ราย โดย TARA ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 200 ราย ภายในสิ้นปีนี้  กิจกรรมพิเศษใน Robotics Cluster pavilion  แสดงไลน์การผลิต 4.0 สำหรับ SME ด้วยการเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องจักรเข้าด้วยกัน พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมแก่ผู้ประกอบการที่มีความสนใจ หรือความต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเทคโนโลยี 

อีกหนึ่งไฮไลท์ของ Robotics Cluster Pavilion ภายในงาน แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป พร้อมเปิดตัว Industrial Transformation Platform ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรสำคัญ คือ หน่วยงานโรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) เพื่อสร้าง Ecosystem ใหม่ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยเชื่อมโยงการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร และปรับปรุงกระบวนการทำงานจากเดิมที่แต่ละหน่วยงานทำงานแบบแยกส่วน เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การทำงานร่วมกันบน Cyber Platform ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจและแก้ไขกระบวนการที่เป็นปัญหา (Pain point) ของผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ การขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรจากธนาคาร”

ดร.พิชัยรัตน์   จิรานันรัตน์  ผู้อำนวยการโครงการ โรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการมุ่งเน้นความสำคัญกับการพัฒนากลไกและสร้างสภาพแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ในการบูรณาการและสนับสนุนในการขับเคลื่อน Industrial Transformation ไปสู่ Industry 4.0 ของประเทศไทย โดยกลไกลนี้มีรูปแบบการให้บริการแบบ One-Stop Service และเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน ผ่านการเชื่อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น System Integrator ธนาคารในการจัดหาเงินทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) เป็นต้น 

นายชัยพล มหามงคลสวัสดิ์ กรรมการบริหารฝ่ายจัดงานของสมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) กล่าวว่า  จำนวนผู้ให้บริการออกแบบระบบ (System Integrator: SI) ที่มีศักยภาพ ณ ปัจจุบัน มีจำนวน 110 ราย โดย TARA ตั้งเป้าเพิ่มเป็น 200 ราย ภายในสิ้นปีนี้  กิจกรรมพิเศษใน Robotics Cluster pavilion  แสดงไลน์การผลิต 4.0 สำหรับ SME ด้วยการเชื่อมโยงการทำงานของเครื่องจักรเข้าด้วยกัน พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมแก่ผู้ประกอบการที่มีความสนใจ หรือความต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเทคโนโลยี 

สศอ. เร่งดันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ SMEs

อีกหนึ่งไฮไลท์ของ Robotics Cluster Pavilion ภายในงาน แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป พร้อมเปิดตัว Industrial Transformation Platform ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้ผนึกกำลังกับพันธมิตรสำคัญ คือ หน่วยงานโรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (CoRE) เพื่อสร้าง Ecosystem ใหม่ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยเชื่อมโยงการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร และปรับปรุงกระบวนการทำงานจากเดิมที่แต่ละหน่วยงานทำงานแบบแยกส่วน เปลี่ยนผ่านเข้าสู่การทำงานร่วมกันบน Cyber Platform ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจและแก้ไขกระบวนการที่เป็นปัญหา (Pain point) ของผู้ประกอบการได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่การขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ การขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรจากธนาคาร”

ดร.พิชัยรัตน์   จิรานันรัตน์  ผู้อำนวยการโครงการ โรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการมุ่งเน้นความสำคัญกับการพัฒนากลไกและสร้างสภาพแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ในการบูรณาการและสนับสนุนในการขับเคลื่อน Industrial Transformation ไปสู่ Industry 4.0 ของประเทศไทย โดยกลไกลนี้มีรูปแบบการให้บริการแบบ One-Stop Service และเป็นตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน ผ่านการเชื่อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น System Integrator ธนาคารในการจัดหาเงินทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) เป็นต้น