พล.อ.เปรม นายทหาร ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย “โชติช่วง ชัชวาล”

26 พ.ค. 2562 | 05:49 น.

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ นอกจากจะได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในทางทหารโดยเป็นผู้บัญชาการทหารบก ที่มีผลงานโดดเด่นในการสู้รบ และปกป้องประเทศชาติจากภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศของประเทศแล้ว ในช่วง 8 ปีที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ให้รอดพ้นจากภาวะล้มละลาย จากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และนำมาเศรษฐกิจของไทยไปสู่ยุค “โชติช่วง ชัชวาล”

พล.อ.เปรม นายทหาร  ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย   “โชติช่วง ชัชวาล”
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2523 นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย  ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ที่เกิดวิกฤตการณ์นํ้ามันครั้งที่ 2 ทำให้ทั่วโลกเกิดเงินเฟ้อหนัก หลังจากนั้นเศรษฐกิจตกตํ่า รวมทั้งประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบ ทำให้ขาดเสถียรภาพทางการเงินและการคลัง รวมทั้งขาดดุลการค้า ดุลการชำระเงิน และดุลงบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถ้าแก้ไขไม่สำเร็จประเทศไทยอาจจะล้มละลายเหมือนประเทศอื่นๆ 


 รัฐบาลพล.อ.เปรม จึงดำเนินนโยบายกำหนดวินัยการเงินการคลังอย่างเข้มงวด ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดการกู้ยืมทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่กำลังทรุดหนัก ไม่ให้ประเทศต้องล้มละลายเหมือนกับประเทศฟิลิปปินส์ จึงต้องใช้วิธีรัดเข็มขัดตัดงบประมาณ จำกัดสินเชื่อ ไปจนถึงการประกาศลดค่าเงินบาทในปี 2527 


แม้ว่าช่วงนั้นคนไทยต้องทนทุกข์อย่างมากกับการลดค่าเงินบาท แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการล้มละลายมาได้ 

พล.อ.เปรม นายทหาร  ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย   “โชติช่วง ชัชวาล”
“ช่วงนั้นเสียสละกันมาก มีความเจ็บปวดทั่วกัน มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยต้องเลิกล้มไป โดยเฉพาะธุรกิจการนำเข้า ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องยอม โดยถือคติว่า“เสียสละส่วนน้อยเพื่อส่วนใหญ่” นอกจากนี้ผมโชคดีมากที่ผู้ที่มาร่วมทำ งานด้วยมีความสามารถมาก ทำ งานกันอย่างจริงจังและการให้เกียรติผู้ร่วมงานทุกคน ถือเป็นกุญแจของความสำ เร็จเพราะหากผมคนเดียวคงทำไม่ได้แต่พวกเขาเหล่านี้ที่ช่วยให้งานสำเร็จ”ดร.เสนาะ อูนากูล อดีตเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในยุคนั้น ซึ่งเป็นรหนึ่งในขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของพล.อ.เปรม สะท้อนผ่านวารสารสภาพัฒน์กับการพัฒนาประเทศสู่ปัจจุบันและอนาคต
 

ดร.เสนาะ เล่าว่า หลังการประกาศลดค่าเงินบาทไปได้ระยะหนึ่งเศรษฐกิจกลับทรุดลงไปอีกการดำเนินการตามมาตรการและนโยบายต่างๆในขณะนั้นยังไม่เพียงพอต่อการเยียวยาเสถียรภาพและฐานะทางการเงินของประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดดุลการค้า ดุลบัญชี เดินสะพัดการขาดดุลงบประมาณและการลดลงของเงินออมในประเทศ รัฐบาลจึงประกาศให้ดำเนินมาตรการอีก 3 เรื่อง โดยพล.อ.เปรม ได้ให้คำขวัญในการกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่พ.ศ. 2528 ว่า “มุ่งประหยัด เร่งรัดนิยมไทย ร่วมใจส่งออก“ จนนำมาสู่ 24  มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ใน 3  แนวทาง คือ การประหยัด การใช้สินค้าไทย และการส่งเสริมการส่งออกรวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการลงทุนของภาคเอกชน

พล.อ.เปรม นายทหาร  ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย   “โชติช่วง ชัชวาล”
นอกจากนั้นในปี2525 พล.อ.เปรม ได้ให้ความสำคัญกับงานพัฒนาชนบท และต่อมาได้นำแผนพัฒนาชนบทในพื้นที่ยากจนนี้ไปสู่การปฏิบัติสืบต่อมาจนเป็นแผนชนบทก้าวหน้า และขยายผลไปสู่การดำเนินงานตามนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค

 

หลังปี 2528 สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายเนื่องจากระบบการเงินระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงด้วยข้อตกลงที่รู้จักกันในชื่อ“พลาซาแอคคอร์ด” (Plaza Accord) ซึ่งมีการตกลงให้ปลดแอกเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีผลทำให้เงินเหรียญสหรัฐลดค่าอย่างรวดเร็ว

 

ขณะนั้นประเทศญี่ปุ่นซึ่งแต่เดิมพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกเป็นอย่างมาก โดยอาศัยนโยบายรักษาค่าเงินเยนให้ถูกไว้ถูกบังคับให้ต้องเพิ่มค่าเงินเยน ญี่ปุ่นจึงมีความจำเป็นที่ต้องย้ายแหล่งผลิตอุตสาหกรรม โดยหาที่ตั้งฐานการผลิตใหม่ในต่างประเทศ ซึ่งพอดีกับที่ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ Eastern Sea Board (ESB) ซึ่งพล.อ. เปรม ให้คำขวัญว่า “โชติช่วง ชัชวาล” เพื่อยกฐานะเศรษฐกิจของไทยจากร้านชำที่อยู่ในตรอกมาเป็นห้างที่อยู่บนถนนใหญ่ ด้วยการเปิดประเทศโดยการสร้างท่าเรือนํ้าลึก 2 แห่ง คือ “แหลมฉบัง” เพื่ออุตสาหกรรมทั่วไปและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และที่ “มาบตาพุด” เพื่อเป็นท่าเรือสินค้าประเภทอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะปิโตรเคมิคัล เนื่องจากขณะนั้น 

พล.อ.เปรม นายทหาร  ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย   “โชติช่วง ชัชวาล”
การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก  ถือเป็นนโยบายที่เปลี่ยนประเทศไทยจากสังคมกึ่งเกษตรมาเป็นสังคมเกษตรอุตสาหกรรมเต็มตัว ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก เงินที่เคยไหลออกอย่างรวดเร็วก็ไหลเข้ามาอย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงเป็นที่ชัดเจนว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลพล.อ.เปรม ในเวลานั้นทำให้ประเทศไทยในสามารถอยู่รอดผ่านวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจมาได้ อีกทั้งยังเป็นยุคเปลี่ยนแปลงการพัฒนาประเทศครั้งใหญ่


“ช่วงนั้นเราต้องยอมเหนื่อยยาก โดยต้องพยามยามเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องเริ่มงานสำหรับอนาคตของประเทศด้วยโชคดีที่ขณะนั้นท่านนายกฯเปรม เป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มีความเข้มแข็งคณะรัฐมนตรีเกรงใจและท่านให้การสนับสนุนผมในฐานะเป็นเลขาธิการสภาพัฒน์ซึ่งถือหลักว่าต้องทำงานทุกอย่าง เพื่อส่วนรวมไม่ใช่ส่วนตัว ทำงานทุกอย่างบนโต๊ะ ไม่มีใต้โต๊ะ ซึ่งเป็นหลักใหญ่ที่เราใช้กันมาตลอดช่วง 8 ปีของรัฐบาลเปรม”ดร.เสนาะระบุ

พล.อ.เปรม นายทหาร  ผู้พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย   “โชติช่วง ชัชวาล”