ทีเอ็มบีหนุนลูกค้าส่งออกนำเข้า เปิดบัญชี MCA บริหารรายได้ตปท.

23 พ.ค. 2562 | 10:08 น.

ทีเอ็มบี เปิด“บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน” แห่งแรกในไทย ลดข้อจำกัดผู้ส่งออกบริหารรายได้หลายสกุล รองรับ 6 สกุลเงิน ครอบคลุม 95% ของธุรกรรม  ไม่ต้องเปิดบัญชีหลายบัญชี ทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ แถมได้ดอกเบี้ย 0.5-2% คาดปีแรกมีคนสนใจ 300 ราย

               นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)หรือ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกปีนี้คาดว่า  จะขยายตัวในระดับทรงตัว หลังจากตัวเลข 4 เดือนออกมาติดลบ จากเดิมที่ตลาดคาดว่า จะขยายตัวได้ 6-8% และปรับลงเหลือ 3-6% แต่หากดูสถานการณ์ตอนนี้ คาดว่ามีโอกาสน้อยที่การส่งออกจะขยายตัว จากความไม่แน่นอนและปัจจัยสงครามการค้าที่ไม่น่าจะจบง่ายๆ ส่งผลให้เป็นแรงกดดันต่อภาคการส่งออกของไทยด้วย

ทีเอ็มบีหนุนลูกค้าส่งออกนำเข้า เปิดบัญชี MCA บริหารรายได้ตปท.

               ทั้งนี้ หากดูตัวเลขส่งออกของไทย พบว่า มูลค่าส่งออกสูงถึงเฉลี่ยปีละ 8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 50% ของจีดีพี และมีผู้ประกอบการส่งออกราว 4.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งประสบปัญหาการบริหารจัดการรายได้จากการส่งออกค่อนข้างมาก ธนาคารจึงออกผลิตภัณฑ์ “บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน” หรือ Multi-Currency Account :MCA เป็นธนาคารแรกในไทย สำหรับธุรกิจส่งออกและลูกค้าที่ทำธุรกรรมสกุลเงินตราต่างประเทศให้สามารถบริหารจัดการรายได้จากภาคส่งออกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับ “บัญชีสำหรับหลายสกุลเงิน”จะนำจุดเด่นที่ผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าส่วนใหญ่ประสบปัญหาจากการใช้บริการบัญชีบริหารรายได้ 2 ประเภทคือ 1.บัญชีสกุลเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ ที่มีสัดส่วนการใช้ถึง 80% และ 2.บัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศของตัวเอง (Foreign Account Deposit : FCD) ที่สัดส่วนการใช้ยังน้อย ปัจจุบันธนาคารมีฐานลูกค้า 400 บัญชี โดยบัญชี MCA จะมาช่วยลดปัญหาเดิมๆทั้ง ลูกค้าไม่ต้องเปิดหลายบัญชี เพราะบัญชี MCA รองรับสูงถึง 6 สกุลเงินคือ เงินบาท ดอลลาร์สหรัฐฯ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ยูโร ปอนด์สเตอร์ลิง และเยน ซึ่งถือเป็น 6 สกุลหลักที่ผู้ประกอบการใช้เพื่อการส่งออกนำเข้ามากที่สุด แต่ในอนาคตจะขยายไปอีกหลายสกุล เริ่มจากเงินหยวน  

               นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เปิดบัญชี MCA และมีเงินสกุลเงินตราต่างประเทศคงค้างในบัญชียังได้รับดอกเบี้ยด้วย โดยอัตราเฉลี่ย 0.5-2% ขึ้นกับสกุลเงินนั้นๆ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการรายได้บนออนไลน์ผ่านช่องทาง “TMB Business Click” ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน แลกเปลี่ยนเงิน (Convert) และเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-สเตทเม้นท์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสาขาธนาคาร ซึ่งจะช่วยให้บริหารจัดการเงินตราต่างประเทศได้สะดวก ง่ายในบัญชีเดียว

สำหรับ “บัญชีสำหรับหลายสกุลเงิน”จะนำจุดเด่นที่ผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าส่วนใหญ่ประสบปัญหาจากการใช้บริการบัญชีบริหารรายได้ 2 ประเภทคือ 1.บัญชีสกุลเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ ที่มีสัดส่วนการใช้ถึง 80% และ 2.บัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศของตัวเอง (Foreign Account Deposit : FCD) ที่สัดส่วนการใช้ยังน้อย ปัจจุบันธนาคารมีฐานลูกค้า 400 บัญชี โดยบัญชี MCA จะมาช่วยลดปัญหาเดิมๆทั้ง ลูกค้าไม่ต้องเปิดหลายบัญชี เพราะบัญชี MCA รองรับสูงถึง 6 สกุลเงินคือ เงินบาท ดอลลาร์สหรัฐฯ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ยูโร ปอนด์สเตอร์ลิง และเยน ซึ่งถือเป็น 6 สกุลหลักที่ผู้ประกอบการใช้เพื่อการส่งออกนำเข้ามากที่สุด แต่ในอนาคตจะขยายไปอีกหลายสกุล เริ่มจากเงินหยวน  

               นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เปิดบัญชี MCA และมีเงินสกุลเงินตราต่างประเทศคงค้างในบัญชียังได้รับดอกเบี้ยด้วย โดยอัตราเฉลี่ย 0.5-2% ขึ้นกับสกุลเงินนั้นๆ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการรายได้บนออนไลน์ผ่านช่องทาง “TMB Business Click” ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน แลกเปลี่ยนเงิน (Convert) และเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-สเตทเม้นท์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสาขาธนาคาร ซึ่งจะช่วยให้บริหารจัดการเงินตราต่างประเทศได้สะดวก ง่ายในบัญชีเดียว

ทีเอ็มบีหนุนลูกค้าส่งออกนำเข้า เปิดบัญชี MCA บริหารรายได้ตปท.