พาณิชย์เผยจดทะเบียนธุรกิจเพิ่ม16% ชี้ญี่ปุ่นยังครองแชมป์ลงทุนในไทย

22 พ.ค. 2562 | 07:56 น.

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยยอดจดทะเบียนธุรกิจ ประจำเดือน เม.ย. 2562 ว่า เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ทั่วประเทศ รวม 5,944 ราย เพิ่มขึ้น 824 ราย หรือเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา สำหรับมูลค่าลงทุนเดือนเม.ย. มียอดรวมทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท ลดลง 2,840    ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.62 ที่มียอดรวม 17,840 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น 16 % และลดลง 59% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.ปี 61 ที่มียอดรวม 21,362 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น 59%   ประเภทธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจภัตตาคารร้านอาหาร

ธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสม ในช่วง 4 เดือนแรกปี 62 (ม.ค.ถึงเม.ย.) มีจำนวน 26,694 ราย เพิ่มขึ้น 1,525 ราย หรือเพิ่มขึ้น 6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดธุรกิจจัดตั้งใหม่สะสมรวม 25,169 รายด้านมูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่สะสม 4 เดือนแรกปีนี้ มียอดรวม 67,391 ล้านบาท ลดลง 29,802 ล้านบาท ลดลงคิดเป็น 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดรวม 97,193 ล้านบาท    ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนเม.ย.62 มีจำนวน 985 ราย ลดลง 90 รายหรือลดลง 8% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.62 ที่มียอดเลิกกิจการรวม 1,075 ราย และเมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.61 การเลิกประกอบการเพิ่มขึ้น 109 ราย หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น24% สำหรับธุรกิจเลิกประกอบการสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจค้าสลาก

ด้านมูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบการ เดือนเม.ย.62 มีจำนวน 3,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 828 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น 28% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.61 ที่มีมูลค่าเลิกประกอบการรวม 3,002 ล้านบาท แต่ลดลงลดลงคิดเป็น51% หรือลดลงจำนวน 4,063 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. 61 ที่มียอดเลิกประกอบการรวมมูลค่ารวม 7,893 ล้านบาท  ทั้งนี้ยอดเลิกธุรกิจสะสมในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.ถึงเม.ย.) มีจำนวน 4,273 ราย เพิ่มขึ้น 390 ราย เพิ่มขึ้นคิดเป็น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดเลิกกิจการสะสม 3,883 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจเลิกสะสมรวม13,825 ล้านบาท ลดลง 12,585 ล้านบาท คิดเป็น 48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ที่มียอดรวม 26,410 ล้านบาท  ขณะที่ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน (เม.ย.62) มีจำนวน 734,983 ราย มูลค่าทุน 16.63 ล้านล้านบาท

สำหรับแนวโน้มการจัดตั้งธุรกิจจากการประเมินอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ ทิศทางการประกอบธุรกิจรวมถึงแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามฤดูกาล คาดว่า ในเดือนพ.ค.62 จะมีการจัดตั้งธุรกิจเพิ่มจากเดือนเม.ย.62 และจะมียอดสะสมในช่วง ม.ค.ถึง พ.ค.ไม่น้อยกว่า 32,000 ราย  ในเดือนเม.ย.62 มีการอนุญาตให้ต่างชาติประกอบธุรกิจรวม 38 ราย ลดลงจากเดือนมี.ค.62 จำนวน 17 ราย หรือลดลงคิดเป็น 31% เม็ดเงินลงทุน เม.ย. 62 มียอดรวม 9,891 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมี.ค.62 จำนวน 907 ล้านบาท นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนมากที่สุด 12 ราย เงินลงทุนกว่า 2,197 ล้านบาท รองลงมาคือ สิงคโปร์ 5 ราย เงินลงทุน 825 ล้านบาท และจีน 4 ราย เงินลงทุน 342 ล้านบาท

“ การขยายตัวของธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจคือ ธุรกิจดังกล่าวมีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 - 2561 และในปี 2562 (ม.ค.-เม.ย.) มีการขยายตัวของจานวนและทุนจดทะเบียน 1.32 เท่า และ 1.16 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปี 2561 ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้รวมของกลุ่มธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของในปี 2558-25560 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 29.10% ต่อปี โดยธุรกิจขนาดกลาง (M) มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก ปี 2558 ถึง 2.37 เท่า โดยมีผลมาจากโอกาสขยายตลาดทางธุรกิจและสภาวะการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของตลาดและ พฤติกรรมของผู้ประกอบการและผู้บริโภคเลือกซื้อและเข้าถึงสินค้าบริการที่ผลิตขึ้น ผ่านรูปแบบการขายไปยังผู้บริโภคโดยตรง หรือ Business to Customer (B2C) รวมทั้งสนองต่อการเติบโตของ ธุรกิจอีคอมเมิสร์ หรือค้าออนไลน์ ของประเทศในปี 2561 จะเติบโต อย่างต่อเนื่อง14.04%”

ทั้งนี้ การจัดตั้งธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของในปี 2561 มีจานวน 70 ราย เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับปี 2560 และในปี 2562 (ม.ค.- เม.ย.) มีจานวน 44 ราย เพิ่มขึ้น 1.32 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2561