เพิ่มศักยภาพสถานีรถไฟปากน้ำโพ เป็นศูนย์เศรษฐกิจภาคกลางตอนบน

19 พ.ค. 2562 | 07:54 น.

เทศบาลเมืองนครสวรรค์เร่งฟื้น“สถานีรถไฟปากน้ำโพ” ประกาศปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่รอบสถานีออกแบบเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างสถานีกับตลาดปากน้ำโพเพิ่มศักยภาพทั้งสถานีสถาปัตยกรรม"พาสาน" และศูนย์พาณิชยกรรมเมืองนครสวรรค์ยกระดับเป็นศูนย์เศรษฐกิจใจกลางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

นายจิตตเกษมณ์  นิโรจน์ธนรัฐ  นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสวรรค์ในฐานะประธานกฎบัตรเมืองนครสวรรค์กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการว่ากฎบัตรเมืองนครสวรรค์มีเจตนารมณ์ในการทบทวนรูปแบบการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจพื้นที่ของเมืองนครสวรรค์และจังหวัดนครสวรรค์โดยภาพรวมใหม่โดยจะบูรณาการยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการของหน่วยงานต่างๆในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนทั้งที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานและอยู่ในแผนงานในอนาคตเพื่อให้คณะกรรมการกฎบัตรซึ่งเป็นผู้แทนทุกภาคส่วนของจังหวัดได้พิจารณาบูรณาการกำหนดเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติการให้สอดประสานกันลดความซ้ำซ้อนเพิ่มประสิทธิภาพรวมทั้งพิจารณาเพิ่มกลยุทธ์แผนงานที่สามารถนำมาเป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนการพัฒนาได้

เพิ่มศักยภาพสถานีรถไฟปากน้ำโพ เป็นศูนย์เศรษฐกิจภาคกลางตอนบน

สถาปัตยกรรม “พาสาน”

โดยในขั้นต้นกฎบัตรได้มีนโยบายการพัฒนา2 รูปแบบได้แก่การปรับปรุงฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและการใช้ไมซ์และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นหัวจักรนำการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจโดยนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับแผนงานโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการใช้ไมซ์หรืออุตสาหกรรมบริการยกระดับเศรษฐกิจ 

เพิ่มศักยภาพสถานีรถไฟปากน้ำโพ เป็นศูนย์เศรษฐกิจภาคกลางตอนบน

สำหรับนโยบายแรกเทศบาลเมืองนครสวรรค์ได้วางแผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟปากน้ำโพร่วมกับสถาปัตยกรรมพาสานและตลาดเก่าปากน้ำโพโดยเตรียมการออกแบบในปีงบประมาณ2563 และวางแผนการก่อสร้างทันทีหลังจากการออกแบบเสร็จสิ้นโดยโครงการสำคัญได้แก่โครงการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์และระบบการเข้าถึงสถานีรถไฟปากน้ำโพ 

เพิ่มศักยภาพสถานีรถไฟปากน้ำโพ เป็นศูนย์เศรษฐกิจภาคกลางตอนบน

“โดยโครงการนี้จะพิจารณาพัฒนาพื้นที่ของรัฐและเอกชนในบริเวณใกล้เคียงเช่นพื้นที่ท่าข้าวกำนันทรงและพื้นที่ริมแม่น้ำต่างๆโครงการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูภูมิทัศน์และระบบการเข้าถึงสถาปัตยกรรมพาสานซึ่งจะพัฒนาทั้งพื้นที่รอบพาสานถนนสะพานเขียวคนเดิน(Green Pedestrian Bridge) ที่เชื่อมโยงระหว่างตลาดปากน้ำโพกับพาสานและถนนทางเชื่อมสถานีรถไฟปากน้ำโพซึ่งโครงการทั้งสองจะใช้งบประมาณ80 ล้านบาทไม่รวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกิจกรรมเศรษฐกิจของภาคเอกชน”

 

นายจิตตเกษมณ์กล่าวว่าเพื่อให้แผนงานดังกล่าวสามารถฟื้นฟูเมืองและเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมายและรวดเร็วเทศบาลฯจะทำหนังสือเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยใช้สถานีรถไฟปากน้ำโพเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง(รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-พิษณุโลกระยะที่1) เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าชมสถาปัตยกรรมพาสานและเดินทางเข้ามายังศูนย์เศรษฐกิจเมืองนครสวรรค์ได้ทันที 

 

ส่วนนโยบายที่สองเทศบาลจะออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชั้นในเมืองนครสวรรค์เป็นศูนย์เศรษฐกิจพาณิชยกรรมผสมผสานกิจกรรมไมซ์และการท่องเที่ยวโดยช่วง5 ปีแรกก่อนการลงทุนเพิ่มเติมของศูนย์การประชุมและการเปิดให้บริการศูนย์การค้าขนาดใหญ่เทศบาลจะออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูตลาดเก่าปากน้ำโพและพื้นที่ต่อเนื่องให้เป็นเมืองเขียวและเมืองแห่งการเดิน(Greenest and Walkable City) ตามนโยบายกฎบัตรเมืองนครสวรรค์และตามแนวทางพัฒนาของโครงการพัฒนากลไกเชิงพื้นที่ในการออกแบบเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม(SG-ABC) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(depa) และสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ(สสปน.) ทั้งนี้จะสามารถดำเนินโครงการออกแบบปรับปรุงฟื้นฟูเมืองนครสวรรค์ได้ทันทีในงบประมาณปี2563 ซึ่งจะใช้งบประมาณ30 ล้านบาทในส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาล 

 

นอกจากนั้นเทศบาลจะได้ร่วมกับจังหวัดหน่วยงานองค์กรภาคเอกชนและชุมชนนำค่าเป้าหมายของกฎบัตรกระตุ้นการลงทุนในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนกิจการศูนย์ประชุมโรงแรมศูนย์การค้าอาคารที่อยู่อาศัยโรงพยาบาลระบบขนส่งมวลชนและกิจการอื่นๆซึ่งจะทำให้ศูนย์เศรษฐกิจเมืองนครสวรรค์เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใจกลางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนต่อไป

เพิ่มศักยภาพสถานีรถไฟปากน้ำโพ เป็นศูนย์เศรษฐกิจภาคกลางตอนบน