ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

22 พ.ค. 2562 | 00:30 น.

         แม้การท่องเที่ยวไตรมาสแรกของทุกปี จะยังคงอยู่ในช่วงไฮซีซัน แต่กลับพบว่าช่วง 3 เดือนของปีนี้ ธุรกิจต่างอยู่ในสภาวะเติบโตแบบถดถอย สะท้อนจากผลประกอบการของสายการบินและโรงแรม ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งกำไรลดลง หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

     สงครามการค้าฉุดท่องเที่ยว

         สาเหตุมาจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ของปีนี้ ที่เติบโตอย่างหดตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เห็นได้จากการชะลอตัวของการส่งออกของไทย ที่ไม่เพียงกระทบต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ยังฉุดให้การขนส่งสินค้าใต้ท้องเครื่องบินก็หดตัวลงด้วยเช่นกัน และสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจ

      ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวไทยในช่วง 3 เดือนของปีนี้ อยู่ที่ 10.7 ล้านคน เติบโตเพียง 1.76% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าขยายตัวน้อยมาก ทั้งๆ ที่เป็นไตรมาสที่มีการขยายตัวของนักท่องเที่ยวรายได้ไตรมาสสูงที่สุด คือราว 15%

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

        สืบเนื่องจากการท่องเที่ยวก็ยังอยู่ในภาวะการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุเรือล่มที่ภูเก็ต เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ทำให้คนจีนมาเที่ยวไทย ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 3.11 ล้านคน ลดลง 1.72% ซึ่งก็ถือว่าฟื้นตัวขึ้นหากเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2561 ที่นักท่องเที่ยวจีนปรับตัวลดลงกว่า 10% จากการขยายมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียม Visa on Arrival-VOA) ออกไปถึงสิ้นเดือนตุลาคมนี้ 

        ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท ยังส่งผลให้นักท่องเที่ยวยุโรป ปรับตัวลดลงในไตรมาส 1 ปีนี้ 2.34% ส่งผลให้ธุรกิจที่มีลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยวยุโรป จะได้รับผลกระทบมาก แต่ตลาดที่มีการขยายตัวสูงสุด 3 อันดับแรก คือ อินเดีย ญี่ปุ่นและมาเลเซีย ดังนั้นหากธุรกิจที่รองรับลูก ค้ากลุ่มตลาดเหล่านี้เป็นหลักก็ยังไปได้ดี

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

       ดังนั้นธุรกิจโรงแรมไตรมาส 1 ปีนี้ ทุกโรง แรมที่จดทะ เบียนอยู่ในตลท.ต่างมีกำไรและรายได้ที่ลดลง จากผลกระทบการลดลงของนักท่องเที่ยวจีน การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวยุโรป ประกอบกับในช่วง ดังกล่าวมีวิกฤติฝุ่นควันในภาคเหนือ ทำให้โรงแรมในภาคเหนือได้รับผลกระทบ

       ส่วนกลุ่มโรงแรมที่อาจจะมีกำไรลดลงสูงสุด จะเห็นว่าคือ “ดุสิตธานี” กำไรลดลงมากถึง 229% เหลือกำไรอยู่ที่ 1 ล้านบาท ซึ่งที่ลดลงมากกว่าโรงแรมอื่น เพราะมีผลกระทบจากการปิดโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เพื่อก่อสร้างโครงการดุสิตเซ็นทรัล พาร์ค แต่ที่ยังมีกำไรอยู่สืบเนื่องจากกิจการที่ลงทุนใหม่ที่บริษัทได้เข้าไปลงทุน ซึ่งบริษัทยังคงมีการลงทุนใหม่อย่างต่อเนื่อง ในการเพิ่มรายได้ 8-10% เพื่อลดผลกระทบจากการปิดโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

    แอร์ไลน์กำไรลด2.9พันล.

    ในส่วนของธุรกิจการบิน 4 บริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลท. ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจนี้รวมกันกว่า 80% ภาพรวมช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ ทำกำไรอยู่ที่ 1,490 ล้านบาท ลดลงกว่า 2,940 ล้านบาท หากเทียบกับไตรมาสแรกปีที่ผ่านมา ซึ่งมีกำไรอยู่ที่ 4,430 ล้านบาท สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีกำไรสูงสุดอยู่ที่ 903 ล้านบาท (เฉพาะ “AAV” ที่ถือหุ้นอยู่ 55% ในบริษัทไทยแอร์เอเชียฯ ได้กำไร 497 ล้านบาท) แต่กำไรก็ลดลงกว่า 50% แต่ในแง่ของรายได้ กลับไม่มีการเติบโตเลย คืออยู่ที่ 11,622 หมื่นล้านบาท เท่าๆ กับไตรมาส 1 ปีก่อน

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

      ตามมาด้วย “บางกอกแอร์เวย์ส” ที่โกยกำไรมาเป็นอันดับ 2 คืออยู่ที่ 548 ล้านบาท และเป็นเพียงสายการบินเดียวที่มีการเติบ โตของรายได้ แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียง 0.5% เท่านั้น คืออยู่ที่ 7,789 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้ไม่ได้มาจากธุรกิจการบิน แต่อยู่ที่ธุรกิจเกี่ยวกับ สนามบินและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ครัวการบิน การให้บริการภาคพื้นที่ยังขยายตัวอยู่

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

     ขณะที่ “การบินไทย” ก็มีกำไร 445 ล้านบาท (ส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่) หดไป 83.60% และรายได้ก็ยังตํ่ากว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6.9% คือมีรายได้อยู่ที่ 4.9 หมื่นล้านบาท จุดหลักมาจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้การขายตั๋วในต่างประเทศมีราคาที่แพงขึ้น และการแข่งขันในธุรกิจการบินที่มีสูง 

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

        ยกเว้น “นกแอร์” เพียงสายการบินเดียวที่ยังคงขาดทุนอยู่304ล้านบาทซึ่งขาดทุนเพิ่มขึ้น 1,031% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปีก่อนที่ขาดทุนอยู่ 26.8 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนมากขนาดนี้เป็นเพราะนกแอร์อยู่ระหว่างพลิกฟื้นธุรกิจ โดยได้ลดจำนวนฝูงบินจาก 25 ลำเหลือ 23 ลำ (นำเครื่องบิน ATR 72-500 จำนวน 2 ลำออกจากฝูงบิน) เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสารลดลง 

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

 

   แอร์ไลน์รุกรายได้ธุรกิจอื่น

     อย่างไรก็ตามวันนี้ธุรกิจการบินของประเทศไทย จัดว่าอยู่ในตลาด “เรดโอเชียน” มีการแข่งขันด้านราคาที่สูงมาก นับวันกำไรก็ยิ่งลดลง ทำให้ในขณะนี้สายการบินต่างๆ จึงมองการขยาย รายได้ในส่วนธุรกิจเกี่ยวเนื่องหรือธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้น

     ไม่ว่าจะเป็น BA ที่นอกจากจับมือล็อตเต้ ประมูลดิวตี้ฟรี ใน 4 สนามบินของทอท.แล้ว ยังได้ร่วมลงทุนในนามกิจการร่วมค้าบีบีเอส ยื่นประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา การตั้งบริษัทย่อย บริษัทบางกอกแอร์ เอวิเอชั่น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด ตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการบิน เป็นต้น

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง

     ด้านบริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด ก็มองการขยายในธุรกิจสนามบิน โดยร่วมกับกลุ่มแกรนด์ คอนซอร์เตียม ประมูลโครงการพัฒนาอู่ตะเภา

     การบินไทยเอง ก็มุ่งขยายรายได้ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยายเรื่องของการรับจ้างผลิต ในธุรกิจครัวการบิน แผนการลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน MRO กับแอร์บัส และการรุกเข้าสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งการบินไทยจะพัฒนาแอพพลิเคชัน และเว็บไซต์ โดยจะเป็นในลักษณะมาร์เก็ต เพลส ในการขายสินค้าทุกอย่างที่ไม่กระทบต่อกฎหมายไทย ที่จะเปิดตัวได้ในเดือนกันยายนนี้

     ทั้งหมดเป็นภาพรวมของธุรกิจในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ 

รายงาน โดย ธนวรรณ วินัยเสถียร

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3471 ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤษภาคม 2562

ปิดฉากไตรมาสแรก ธุรกิจท่องเที่ยวกอดคอร่วง