‘กสทช.’ กำหนดคืน ‘ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล’ ไม่เกิน 10 พ.ค. นี้

07 พ.ค. 2562 | 11:44 น.

กสทช. ประกาศ กำหนด วันคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลต้องแจ้งภายในวัน 10 พฤษภาคมนี้   พร้อมยื่นเอกสารผลประกอบการภายใน 60 วัน  , คาดการณ์สามารถคืนเงินเยียวยาได้ภายในเดือนสิงหาคมโดยมาจากเงินกองทุน

‘กสทช.’ กำหนดคืน ‘ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล’ ไม่เกิน 10 พ.ค. นี้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)เปิดเผยว่า สำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่มีความประสงค์จะคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล  ต้องยื่นเรื่องการคืนภายในวัน 10 พฤษภาคมนี้ เวลาไม่เกิน 16.30 น.ซึ่งเป็นวันสุดท้าย หลังจากนั้นต้องยื่นเอกสารต่างๆเข้ามาภายใน 60 วันหลังจากแจ้งขอคืนใบอนุญาตแล้ว  ทั้งนี้กสทช.จะใช้เวลาการพิจารณาเอกสารและทำเรื่องคืนเงินให้กับผู้ประกอบการ โดยจำนวนและระยะเวลาการคืนเงินขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการแต่ละรายที่ประมูลช่องทีวีต่างกัน รวมทั้งหากผู้ประกอบการรายใดที่ยื่นเอกสารขอคืนใบอนุญาตก่อนจะได้รับเงินคืนก่อน

 

‘กสทช.’ กำหนดคืน ‘ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล’ ไม่เกิน 10 พ.ค. นี้

“ผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการคืนใบอนุญาตทีวีในระบบดิจิตอล ต้องแจ้งภายในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรายใดที่ต้องการคืนช่องต้องจ่ายค่าใบอนุญาตงวดที่ 4 เสร็จสิ้นก่อน หรือหากจ่ายไม่ครบ แต่ต้องการคืนใบอนุญาตก็สามารถทำได้  ซึ่งกสทช.จะทำการคำนวนหักลบแล้วจ่ายค่าเยียวยาคืนให้ในช่วงเดือนสิงหาคม  ขณะเดียวกันเงินที่นำมาจ่ายคืน กสทช.จะนำเงินจากกองทุนมาจ่ายให้ผู้ประกอบการ ดังนั้นผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้”

‘กสทช.’ กำหนดคืน ‘ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล’ ไม่เกิน 10 พ.ค. นี้

ขณะเดียวกันการคืนเงินให้ผู้ประกอบการ กสทช.จะใช้หลักวิธีการ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ชำระแล้ว (4 งวดที่ชำระแล้ว) คูณกับอายุใบอนุญาตในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานคลื่นความถี่ (อายุ 10 ปี)  และหารใบอนุญาต (15 ปี) หรือเป็นอัตราการคืน 2 ใน 3 ของเงินที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น ช่องทีวีที่จ่ายเงินชำระมาแล้ว 4 งวดเป็นจำนวนเงิน 400 ล้านบาท หลังจากนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณตามสูตร จะได้เงินคืนกลับไปราว 267 ล้านบาท โดยจำนวนเงินนี้ยังไม่รวมรายการหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น กำไรของผลประกอบการ ดอกเบี้ย อื่นๆ เป็นต้น

‘กสทช.’ กำหนดคืน ‘ใบอนุญาตทีวีดิจิทัล’ ไม่เกิน 10 พ.ค. นี้

นอกจากนี้ในด้านของผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตจำนวนมากกกว่า 1 ช่องหากจะทำการขอคืนต้องทำเอกสารในด้านด้านผลประกอบการ หรือกำไรของบริษัทแยกชุดกันเข้ามา  เนื่องจากกสทช.จะพิจารณาเอกสารเป็นรายช่องและหักลบค่าใช้จ่ายการเยียวยา  ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่ต้องการยุติการดำเนินงานทีวีจะต้องประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ขึ้นป้ายตัววิ่ง ให้ประชาชนรับทราบก่อนล่วงหน้า