กสทช.แจ้งเกิดระบบ 5G ดันไทยก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไร้สาย

08 พ.ค. 2562 | 00:15 น.

นักวิชาการหนุน คสช.ออกม.44 เป็นผลดีต่อมือถือ-ทีวีดิจิทัล หากไม่พยุงธุรกิจอาจ “ล้ม” ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ ส่วน 5G อย่าทำแค่ปักหมุดเป็นประเทศแรก ควรผลักดันอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องสร้างความพร้อม ไปด้วยกัน

หลังจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ออกมาตรา 44 แก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลสามารถคืนใบอนุญาตและให้ค่ายมือถือยืดชำระค่าคลื่น 900 งวดสุด ท้ายคืองวดที่ 4 ออกไปอีก 10 งวดนั้น

ต่อเรื่องนี้ นายสืบศักดิ์ สืบภักดี นักวิชาการด้านโทร คมนาคม และผู้บริหารโครงการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและผู้ประ กอบการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับการออกประกาศ ม.44 ของ คสช. ว่า เรื่องนี้มีความคิดเห็นหลากหลายแต่ในความคิดส่วนตัวแล้วหากรัฐไม่ดำเนินการอะไรเลยจะเกิดผลเสียกับธุรกิจเพราะทีวีดิจิทัลกำลังเข้าขั้นวิกฤติเนื่องจากถูกเทคโนโลยีดิสรัปชัน เมื่อวัน เวลา เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  หากปล่อยให้อุตสาหกรรม “ล้ม” เป็นโดมิโน ไม่เป็นผลดีต่อประเทศ

กสทช.แจ้งเกิดระบบ 5G ดันไทยก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไร้สาย

ส่วนผลดีของการเปิด 5G นั้นการจะได้ผลประโยชน์ไม่ใช่แค่การปักหมุดให้ประเทศไทยมี 5G เป็นประเทศเเรกๆ ในโลก แต่การจะได้ผลดีจากการมี 5G ต้องเกิดจากการผลักดันและเตรียมความพร้อมของทุกอุตสาห กรรมที่เกี่ยวเนื่องและจะมีโอกาสได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้มีส่วนร่วมและพร้อมกับการใช้โครงข่าย 5G ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างบริการสู่ผู้ใช้และยกระดับการแข่งขันของประเทศไปพร้อมกับการสร้างนวัตกรรมและนักพัฒนาที่เป็นของเราเอง แม้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายแต่รัฐต้องมีความชัดเจนในด้านการปรับกฎระเบียบให้เอื้อกับบริการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย หากไม่เช่นนั้นถึงจะมีเพียง 5G แต่ไม่มี service หรือ usecase ที่เข้าถึงและใช้ได้จริงจุดนี้ คือ ตัวแปรที่สำคัญจะได้หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้งาน 5G

“เมื่อมี 5G จะเกิดโครง สร้างพื้นฐานดิจิทัลไร้สาย เพราะทุกอุตสาหกรรมสามารถวิ่งบนแพลตฟอร์มได้หมดไม่จำกัดเฉพาะการโทร.เท่านั้น จะเกิดการให้บริการแพทย์ทางไกล การเรียนการสอนทางไกล ถ้าสนับ สนุนอย่างเต็มรูปแบบ”

ส่วนข้อเสีย คือ ส่งผล กระทบอุตสาหกรรมบางอย่างเช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบนโครงข่ายโทรคมนาคม (Over The Top-OTT) สามารถนำเทคโนโลยี 4K บนแพลตฟอร์มระบบ 5G มาให้บริการได้ เนื่องจากมีสัญญาณรับ-ส่ง มากกว่า 4 จี ถึง 100 เท่า ขณะที่อุตสาหกรรมขนส่งต่อไปก็จะเป็นแบบไร้คนขับ เพราะฉะนั้น สำนักงานกสทช. ต้องหามาตรการรองรับในเรื่องนี้

กสทช.แจ้งเกิดระบบ 5G ดันไทยก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไร้สาย

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะประมูล 5G นั้น กสทช. ได้ร่วมกับเอไอเอส และทรู ตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยการติดตั้งสถานี ฐาน ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี โดยใช้ความถี่ย่าน 26.5-27.5 GHz รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ 5G AI/IoT Innovation Center อีกด้วย

ขณะที่ ดีแทค ร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดสนามทดสอบ dtac 5G ทั้งพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพื้นที่ EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อทดสอบการใช้งานจริง (Use case) 

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3467 ระหว่างวันที่ 5 - 8 พฤษภาคม 2562

กสทช.แจ้งเกิดระบบ 5G ดันไทยก้าวสู่โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลไร้สาย