:ส่งไม้ต่อ “บังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล” “รื่นวดี”อธิบดีกรมบังคับคดีฝากงานวิจัยรองรับคดียุคไอที

28 เม.ย. 2562 | 02:37 น.

“รื่นวดี”อธิบดีกรมบังคับคดีส่งไม้ต่อ “งานวิจัยการบังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล”หลังเสนอในเวทีประชุมระหว่างประเทศฯแจงการอายัดสิทธิเรียกร้อง-แนะการออกกฎหมายว่าด้วยการประกอบสินทรัพย์ดิจิทัลต้องคำนึงความเสี่ยงถึงระบบการเงินทั้งคุ้มครองนักลงทุน-โปร่งใส-ป้องกัน

                ปิดงานสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี ได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และสหพันธรัฐรัสเซีย รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจัดแถลงข่าวผลการประชุมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 25-26เมษายน 2562

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมและกรมบังคับคดี ได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) และสหพันธรัฐรัสเซีย รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศและธนาคารโลก ซึ่งผลการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีความท้าทายและเป็นประเด็นที่มีความเป็นทันสมัยใน 3 หัวข้อที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.  การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัลมีใจความสำคัญว่า สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นสินทรัพย์รูปแบบใหม่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ (economic value) สามารถก่อให้เกิดรายได้มหาศาลในโลกปัจจุบัน  รวมถึงฐานข้อมูลต่าง (Big Data and Blockchain)  ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าได้  ซึ่งสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถบังคับคดีได้  โดยเป็นลักษณะของการอายัดสิทธิเรียกร้อง ทั้งนี้กฎหมายที่ใช้บังคับกับสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ควรเป็นกฎหมายกลาง  เนื่องจากลักษณะการทำธุรกรรมของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นธุรกรรมที่ดำเนินการรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain  ซึ่งการ Blockchain ในภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน สร้างความโปร่งใส  สำหรับในเรื่องการออกกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีข้อที่ต้องพิจารณาในเรื่อง ความเสี่ยงที่เป็นระบบอันมีนัยยะถึงระบบการเงิน  การคุ้มครองนักลงทุน ความโปร่งใส การป้องกันอาชญากรมการฟอกเงิน และไม่ควรจำกัดเพียง blockchain cryptocurrency การกำกับดูแลการผลิตสินทรัพย์ดิจิทัล

:ส่งไม้ต่อ “บังคับคดีสินทรัพย์ดิจิทัล” “รื่นวดี”อธิบดีกรมบังคับคดีฝากงานวิจัยรองรับคดียุคไอที

2. การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยภาพรวมของการบังคับคดีในแต่ละประเทศ เริ่มนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบังคับคดี เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการบังคับคดี เช่น ประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐเกาหลี  ประเทศญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออกบางประเทศ   และการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลด้านการบังคับคดีของแต่ละประเทศจะเป็น Big Data สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย machine learning

       และ 3.ประเด็นความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการบังคับตามคำพิพากษาในคดีแพ่งมีใจความสำคัญว่า การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครบวงจร ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดช่องว่างและความไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ทั้งนี้การบังคับคดีของบางประเทศ เช่น ประเทศสิงค์โปร์ ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่การยื่นฟ้อง มีกระบวนการเปิดเผยข้อมูลของทรัพย์สินของลูกหนี้และเจ้าหนี้  การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็ว สำหรับการบังคับคดีในไทย ปัญหาคือการเข้าถึงข้อมูลของลูกหนี้ ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ในการติดตามทรัพย์สินเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ  ในการประชุมครั้งนี้ กรมบังคับคดีได้นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล และกลุ่มประเทศยุโรปได้ขอนำงานวิจัยดังกล่าวไปศึกษาต่อไป การประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถือเป็นการจัดประชุมครั้งแรกในหัวข้อนี้ และเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ และสร้างความรับรู้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้การประชุมอาเซียน จะมีการจัดขึ้นทุกปี โดยในปี2563 เรื่องของการบังคับคดีล้มละลาย