3เดือนปลดใบเหลือง อียูยังกีดกันไทยไม่เลิก

23 เม.ย. 2562 | 05:10 น.

 

แฉประมงไทยยังอ่วมหลังปลดใบเหลืองอียูแล้ว 3 เดือนทูน่าถูกกีดกัน ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบตลอด ขณะปลา-หมึกเทศทะลักนำเข้ากว่า 6.8 หมื่นตัน ผู้ประกอบการโวยทำราคาในประเทศตก ชงรัฐประกันราคาขั้นตํ่า

 จากการที่ประเทศไทยได้รับการปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (อียู) เรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการไร้งาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ที่ผ่านมานั้น ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมประมงของไทยเป็นอย่างไรบ้างนั้น

3เดือนปลดใบเหลือง  อียูยังกีดกันไทยไม่เลิก

แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับฐานเศรษฐกิจถึง มูลค่าการค้าสินค้าประมง (ส่งออก+นำเข้า) ช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ (..-..) ว่า มีปริมาณรวม 6.08 แสนตัน มูลค่า 5.22 หมื่นล้านบาท (กราฟิกประกอบ) แยกเป็นการนำเข้า ปริมาณ 3.69 แสนตัน มูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท การส่งออกปริมาณ 2.39 แสนตัน มูลค่า 3.13 หมื่นล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้น 18.14% มูลค่าเพิ่มขึ้น 6.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไทยยังเกินดุลการค้าสินค้าประมงกว่า 1.04 หมื่นล้านบาท แต่ดุลการค้าลดลง 6.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

3เดือนปลดใบเหลือง  อียูยังกีดกันไทยไม่เลิก

สำหรับสินค้าประมงที่มีการนำเข้าสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ได้แก่ ทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ปริมาณ 6.3 หมื่นตัน มูลค่า 2.99 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 33.46% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ปริมาณเพิ่มขึ้น 2.94% มูลค่าลดลง 19.63% เมื่อเทียบกับการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2562 ปริมาณนำเข้ากว่า 6 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาทปริมาณเพิ่มขึ้น 3.92% มูลค่าลดลง 10.09% นำเข้าสูงสุดจาก เกาหลีใต้ รองลงมาไต้หวัน

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมทูน่าไทยยังคงได้รับผลกระทบจากไอยูยู เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าที่นำกองเรือจับทูน่ามาขึ้นท่าในประเทศไทย จึงต้องมีระบบการออกหนังสือการแปรรูปสัตว์นํ้า (Processing Statement Endosement : PSE) เพื่อตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาวัตถุดิบทูน่า โดยกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง ได้มีการพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 2 แต่เนื่องจากระบบยังมีข้อจำกัดและต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามข้อกฎหมายของอียูที่ออกมาอยู่ตลอด จึงยังต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบต่อไป

3เดือนปลดใบเหลือง  อียูยังกีดกันไทยไม่เลิก

ส่วนลำดับที่ 2 ที่มีการนำเข้าคือ ปลาสดแช่เย็นแช่แข็งรวมตับและไข่ ปริมาณกว่า 6 หมื่นตัน มูลค่าร่วม 3 พันล้านบาท คิดเป็น 29.31% ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าประมงทั้งหมด ปริมาณเพิ่มขึ้น 11.01% มูลค่าเพิ่มขึ้น 15.09% ส่วนใหญ่นำเข้าในกลุ่มอาเซียน 3.นำเข้าหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ปริมาณ 8,453 ตัน มูลค่าร่วม 700 ล้านบาท โดยนำเข้าจากจีนมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มอาเซียน ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ทูน่ากระป๋อง รองลงมากุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และกุ้งปรุงแต่ง ตามลำดับ ทั้งนี้รวม 2 รายการ ปลาสดและปลาหมึกรวมนำเข้า 6.8 หมื่นตัน

ผลจากการนำเข้าส่งผลทำให้ผู้ประกอบการประมงประสบปัญหาราคาสินค้าตกตํ่าโดยมีการเสนอให้ประกันราคาขั้นตํ่าในช่วงที่มีราคาตกตํ่าเนื่องจากแบกรับต้นทุนสูงทั้งค่าแรงงาน รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายจึงทำให้ต้องประสบภาวะขาดทุน อย่างไรก็ดีทางกรมประมงได้มีการเรียกหารือกับชาวประมงและโรงงานแปรรูปเป็นระยะๆ เพื่อแก้ปัญหาจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลา เนื่องจากฝ่ายโรงงานอ้างนำเข้าเพราะจำเป็นต้องใช้แปรรูปส่งออก เนื่องจากไทยอยู่ในระหว่างการจัดระเบียบ แต่เชื่อว่าครึ่งปีหลังสินค้านำเข้าทะเลจะลดน้อยลง เนื่องจากไทยได้สถานะใบเขียวจากอียูการันตีขายไปทั่วโลกแล้ว

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,463 วันที่ 21-24 เมษายน 2562

                                  3เดือนปลดใบเหลือง  อียูยังกีดกันไทยไม่เลิก