ความเป็นกลางทางเพศสภาพ(Gender - Neutral)

18 เม.ย. 2562 | 22:25 น.

เขียน : ดร. ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ

[email protected]

 

แม้ว่าในภาษาละตินจะแบ่งคำนามออกเป็น3 เพศคือเพศชาย(Masculine) เพศหญิง(Feminine) และไม่มีเพศ(Neutral) แต่บรรทัดฐานทางสังคมประเพณีค่านิยมภาษาและวัฒนธรรมกำหนดให้ต้องระบุว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้นในสังคมทุกวันนี้ความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่พบเห็นทั่วไปซึ่งถ้าแบ่งตามเพศกำเนิดเพศสภาพและรสนิยมทางเพศจะได้เป็น4 กลุ่มใหญ่คือLesbian-Gay-Bisexual-Transgender หรือ‘LGBT’

อย่างไรก็ตามเพศสภาพในสังคมไม่ได้มีแค่ชายหญิงและLGBT เท่านั้นปัจจุบันมีเพศสภาพใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเรียกว่าLGBT+ เช่นQueer Intersex Pansexual Asexual นอกจากความหลากหลายทางเพศสภาพแล้วบางกลุ่มคนยังมีความเลื่อนไหลทางเพศ(Gender Fluid) คือเปลี่ยนแปลงได้และมีความคลุมเครือไม่จำกัดว่าตนเองเป็นเพศใดเรียกว่าNon-binary  ดังนั้นจึงมีคำถามว่าอะไรเป็นตัวกำหนดความเป็นเพศของเรากันแน่อีกทั้งคนรุ่นใหม่มีความเป็นปัจเจกและเคารพในความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นไม่ต้องการให้มีการเลือกปฏิบัติจากความคิดที่ล้าหลังว่าเพศใดมีบทบาททางสังคมมากกว่ากันจนนำไปสู่แนวคิดใหม่นั่นคือ‘ความเป็นกลางทางเพศสภาพ(Gender - Neutral)’ ซึ่งเป็นการเซ็ตซีโร่ความเป็นเพศให้อยู่ตรงกลางโดยไม่ระบุเพศใดเพศหนึ่งชัดเจนซึ่งแนวคิดดังกล่าวกลายเป็นอีกหนึ่งSocial Movement ที่รณรงค์ให้ไม่ใช้สภาพแวดล้อมทางสังคมสถาบันภาษาวัฒนธรรมและความเชื่อเป็นตัวสร้างหรือกำหนดบทบาททางเพศของแต่ละคนอีกต่อไป

กระแสนิยมความเป็นกลางทางเพศสภาพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันทำให้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในหลายรูปแบบเช่น

1. ห้องน้ำที่ไม่แบ่งแยกเพศสภาพ(Gender-Neutral Toilet)  ที่มีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมมีใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยและสถานที่ราชการของรัฐแม้กระทั่งในทำเนียบขาวซึ่งถือเป็นการคุ้มครองกลุ่มคนข้ามเพศที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวเอง

2. การแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแบบไม่ระบุเพศ(Gender-Neutral Style) แฟชั่นเริ่มมีความลื่นไหลไปมาระหว่างความเป็นผู้ชายและความเป็นผู้หญิง จึงมีเสื้อผ้าที่ไม่ว่าเพศใดก็ใส่ได้อย่างเท่าเทียมเป็นการให้นิยามใหม่ที่ไม่ได้ถูกยึดโยงกับเรื่องเพศสภาพเช่นแบรนด์Ungendered Collection  ของZARA ภายใต้แนวคิด“ไม่ว่าใครก็ใส่ได้”

3. ผลิตภัณฑ์ความงามที่ไม่แบ่งเพศ(Gender-Neutral Beauty)  บรรจุภัณฑ์สินค้าของผู้หญิงส่วนใหญ่จะ  มีสีหวานและรูปดอกไม้ในขณะของผู้ชายจะเป็นสีเทาและน้ำเงินเป็นหลักผลิตภัณฑ์Gender-Neutral ที่กำลังได้รับความนิยมเช่นPanacea ของเกาหลีใต้ที่มีบรรจุภัณฑ์มีสีขาวเป็นหลักหรือแบรนด์Non- Gender Specific (NGS) โฆษณาว่าเป็น‘Brand for All Humans’

4. สัญลักษณ์แทนการสื่อสารทางอารมณ์แบบไร้เพศสภาพ(Gender-Neutral Emoticons) เว็บไซต์Emojipedia เปิดตัวEmoji ชุดใหม่ที่เน้นความเป็นกลางทางเพศสภาพเพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้Emoji ที่สะท้อนความเป็นตัวเองได้มากที่สุดมีทั้งภาพผู้ชายจับมือกันผู้หญิงจับมือกันแทนที่จะมีแค่คู่หญิงชายตามที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

5. การเลี้ยงลูกแบบไม่จำกัดกรอบทางเพศ(Gender-Neutral Parenting หรือGNP) ศิลปินดาราหลายคนเช่นนักร้องPink ออกมาประกาศว่าจะเลี้ยงลูกให้เป็นGender Neutral ที่บ้านจะไม่มีการแขวนป้ายหรือกำหนดสัญลักษณ์ใดๆที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพเธออยากให้ลูกสาวมีอิสระในการค้นหาและเลือกเพศของตัวเองเพราะการกำหนดเพศสภาพนั้นทำให้มีข้อจำกัดในอนาคตเช่นการเลือกประกอบอาชีพและการทำหน้าที่ในสังคม

6. โรงเรียนอนุบาล‘ไร้เพศ' (Neutral-Gender Kindergarten) โรงเรียนEgalia Pre-school ในสวีเดนใช้สรรพนามเรียกชื่อนักเรียนว่า‘พวกเขา’ นิทานคัดเฉพาะเรื่องที่ตัวละครไม่ถูกกำหนดบทบาทที่แบ่งแยกเพศชัดเจนเช่นเจ้าหญิงเจ้าชายพระเอกนางเอกผู้บริหารของโรงเรียนเชื่อว่าการเรียนการสอนแบบเป็นกลางทางเพศสภาพนี้ช่วยเปิดกว้างทางความคิดและส่งเสริมการเป็นตัวตนให้กับเด็กๆโดยไม่มีการจำกัดหรือคาดหวังเรื่องใดก็ตามโดยใช้เพศสภาพเป็นหลัก 

ปัจจุบันบางประเทศเช่นแคนาดาออสเตรเลียเนปาลและไต้หวันไปไกลกว่าแค่การยอมรับความหลากหลายทางเพศสภาพโดยยินยอมให้พลเมืองของตนสามารถระบุว่าเป็น“คนไม่มีเพศ(Gender-Free)” ในหนังสือเดินทางได้แล้วเช่นเดียวกับรัฐแคลิฟอร์เนียและโอเรกอนในสหรัฐอเมริกาที่พ่อแม่สามารถระบุว่าลูกของตน‘ไม่มีเพศ’ ในสูติบัตรได้เช่นกันและประชาชนสามารถเลือกไม่ระบุเพศใดเพศหนึ่งชัดเจนในใบขับขี่ของรัฐได้

สำหรับประเทศไทยพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อปี2558 ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเพศขณะที่(ร่าง) พระราชบัญญัติคู่ชีวิตเปิดให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้แต่การจะก้าวไปถึงขั้นยอมรับความเป็นกลางทางเพศสภาพ(Gender-Neutral) ในสังคมไทยน่าจะยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ

11