เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

17 เม.ย. 2562 | 19:58 น.

“กฤษฎา”วิ่งสู้ฟัด กล่อมข้าราชการแสดงความจงรักภักดี ใน 2 พระราชพิธีพิเศษ ที่จะเกิดขึ้น เดือน พ.ค.นี้ให้ทุ่มเท สติ ปัญญาสุดกำลังความสามารถ หวังเกษตรกรหลุดพ้นสินค้าตกต่ำ โดนพ่อค้ากดราคายับ ใช้กลยุทธ์ ประสานพลังประชารัฐ ดึงเอกชนช่วยดันนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ผสมผสานเกษตรยั่งยืน

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน” นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่าในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ เป็นเดือนและปีมหามงคลของปวงชนชาวไทยที่จะได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและในเดือนเดียวกันนี้ก็จะมีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชเพณีสืบเนื่องมาตั้งแต่โบราณกาล ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนในประเทศไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตที่มีรากฐานมาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้น จึงขอให้ข้าราชการและบุคลากรทุกหน่วยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งใจและทุ่มเท สติ ปัญญา กำลัง ความสามารถเพื่อร่วมมือกันอย่างแข็งขันในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมายในครั้งนี้ให้เกิดผลสำเร็จเป็นประโยชน์สุขแก่เกษตรกรและประเทศชาติ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไปโดยพร้อมเพรียงกัน

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน” “ตามที่กระทรวงได้ปรับปรุงการบริหารราชการเพื่อให้มีกลไกในการรับผิดชอบงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับพื้นที่โดยได้มีคำสั่งแต่งตั้งหัวหน่วยงานในสังกัดทุกหน่วยที่มีฐานะเป็นราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนกลางที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเป็นคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน”

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน” โดยมีภารกิจรับผิดชอบงานด้านการเกษตรตามภารกิจและหน้าที่ (Function) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และงานนโยบายของรัฐบาล (Agenda) รวมทั้งงานการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ (Area Based) ประกอบกับรัฐบาลได้มอบหมายให้นำแนวทาง “การตลาดนำการผลิต” มาใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรม ต่อมา กษ. ได้ริเริ่มจัดทำโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือพืชอื่นหลังฤดูทำนา ปี 2561/62 เพื่อลดพื้นที่ทำนาปรังโดยมีการประสานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้เข้ามาร่วมโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหรือชาวนา

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

ตั้งแต่การเริ่มต้นการผลิตหรือลงมือปลูกข้าวโพดจนถึงการจำหน่ายข้าวโพดหรือผลผลิต เช่น การขึ้นทะเบียนชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ การจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด การปรับปรุงคุณภาพดิน การบริหารจัดการน้ำ การประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) เพื่อสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกร การประสานภาคเอกชนให้เข้ามารับซื้อผลผลิตข้าวโพดผ่านสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนการประกันภัยพืชผล จนส่งผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เฉลี่ย 3,000-4,000  บาท/ไร่ สูงกว่าการทำนาปรัง

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน” นายกฤษฎา กล่าวในตอนท้ายว่า จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรอย่างครบวงจรของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการตลาดด้วยนั้น จะทำให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอนซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน โดยรัฐไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากมาช่วยเหลือในรูปแบบโครงการต่างๆ ให้เป็นภาระงบประมาณของประเทศ ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานและบุคลากรในสังกัดสามารถทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรได้ครบวงจรของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตตลอดจนถึงการจำหน่ายผลผลิต จึงให้ ปลัดเกษตรจัดทำคำสั่งมอบหมายภารกิจและหน้าที่ให้หน่วยงานและบุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำไปปฏิบัติ ดังนี้

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

  1. ระดับจังหวัดหรือในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ให้ใช้คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.)เป็นองค์กรหลักเพื่อทำหน้าที่บูรณาการหน่วยงานในสังกัด และระหว่างหน่วยงานภาครัฐรวมทั้งภาคเอกชนเช่นเดิม แต่ให้มีการมอบหมายภารกิจเพิ่มเติม จำนวน 2 ฝ่าย คือ 1.ฝ่ายวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน และรายงานสถานการณ์การผลิตทางการเกษตร ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานชลประทานจังหวัด และสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตของเกษตรกรตามความต้องการของตลาด (Demand Driven) โดยให้ครอบคลุมกระบวนการผลิตทางการเกษตร

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

เริ่มตั้งแต่การรวมกลุ่มเกษตรกร  การคัดเลือกพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมตามข้อมูลแผนที่เกษตร (Agri-Map) วิธีการทำการเกษตรกรรมที่เหมาะสม เช่น การเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริ เกษตรปลอดภัย (GAP) เกษตรอินทรีย์ (Organic) หรือการรวมกลุ่มวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม หรือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการทำเกษตรกรรมแบบแม่นยำเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน” รวมทั้งให้รายงานสถานการณ์การผลิตสินค้าเกษตรพร้อมคาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในพื้นที่แต่ละช่วงเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยให้หน่วยงานของกรมในสังกัด กษ. เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมชลประทาน ฯลฯ ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในพื้นที่ทั้งระดับภาค/เขตและศูนย์ฯต่างๆ เป็นหน่วยช่วยเหลือและสนับสนุนหน่วยงานหลักเหล่านั้นด้วย

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

  1. ฝ่ายประสานงานด้านการตลาด ประกอบด้วย สำนักเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัด เป็นหน่วยงานหลักเพื่อทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ฯลฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลความต้องการของตลาดสินค้าเกษตรในระดับพื้นที่เพื่อส่งให้ “ฝ่ายวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน และรายงานสถานการณ์การผลิตทางการเกษตร” ใช้ในการปฏิบัติงานรวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรหรือเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร รวมถึงการประสานงานกับภาคเอกชนในการเจรจาตกลงรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรผ่านช่องทางสหกรณ์การเกษตร  กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ

   เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

ทั้งนี้ ให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทั้ง 12  เขต ทำหน้าที่เป็นหน่วยวิเคราะห์ พยากรณ์ และสนับสนุนข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น สำหรับใช้ประกอบการวางแผนการผลิต การติดตามสถานการณ์การผลิตและการตลาดและการจำหน่ายผลผลิตในข้อ 1 และข้อ 2 ด้วย ส่วนกลางให้ ปลัดและอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกระทรวงและกรมได้ปรับโครงสร้างการมอบหมายภารกิจและหน้าที่ให้แก่บุคลากรในสังกัดให้สอดคล้องกับโครงสร้างภารกิจในการทำงานในพื้นที่โดยให้กำหนดภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานและบุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกเป็น 2 กลุ่มงาน

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

“ คือ 1. กลุ่มงานการวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน และรายงานสถานการณ์การผลิตทางการเกษตร ให้มอบหมาย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กรมวิชาการเกษตร ฯลฯ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ในสังกัดเช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ทำหน้าที่อำนวยการวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน และรายงานสถานการณ์การผลิต (Supply) ของประเทศ ให้สอดคล้องกับความต้องการ (Demand) ของตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

2. กลุ่มงานการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มอบหมาย สำนักงานปลัดกระทรวง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานทูตเกษตรทุกแห่ง ฯลฯ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในสังกัด กษ. ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย องค์การสะพานปลา และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ”

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มสานพลังประชารัฐ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ค้าสินค้าเกษตรหรืออาหารเกษตร ฯลฯ เพื่อให้ทราบแนวโน้มราคาและความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และหรือมารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรและหรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เป็นธรรมและยั่งยืน

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

ทั้งนี้ ให้ ปลัดเกษตรและอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับกระทรวงและกรม ดำเนินการวางแผนเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพร้อม การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในพื้นที่ต่างๆ และพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่พร้อมระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบในภารกิจและหน้าที่นั้นๆ

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

ล่าสุดได้รับรายงานว่ามีผู้ว่าราชการจังหวัดได้ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดที่อยู่ในพื้นที่ ริเริ่มดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรและหรือกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ได้จำหน่ายผลผลิตหรือ มีช่องทางในการจำหน่ายผลผลิตให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหรือมีการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับภาคเอกชนทั้งในพื้นที่และส่วนกลางบ้างแล้ว

เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน”

 เช่น กลุ่มโรงพยาบาลจังหวัด/อำเภอ ได้ทำสัญญารับซื้อผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรไปปรุงอาหารให้ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล กลุ่มห้างสรรพสินค้าสมัยใหม่(Modern Trade)ลงทุนออกค่าใช้จ่ายในการสร้างห้องเย็นถนอมผลผลิตให้เกษตรกรและทำสัญญารับซื้อพืชและผักจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ในราคาที่เกษตรกรพอใจ เป็นต้น ดังนั้น เฉลิมพระเกียรติในหลวง ร.๑๐ “รวมพลังช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ยั่งยืน” จึงให้มีรวบรวมผลงานตามโครงการดังกล่าวมาศึกษาเพื่อนำไปขยายผลดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปด้วย