"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

16 เม.ย. 2562 | 15:59 น.


17 เม.ย. "นมโรงเรียน" เดือด! 'อนันต์' นั่งหัวโต๊ะเคาะหลักเกณฑ์นมโรงเรียนใหม่ตามมติ ครม. ... นายกสมาคมนมพาสเจอร์ไรส์ผ่าทางตัน! แนะโควตานมโรงเรียนใหม่แยกเค้กน้ำนมดิบ สิทธินมผง/ขายนมพาณิชย์ ต้องชัดเจน หวั่น! รัฐโดนต้ม

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์และในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ "มิลค์บอร์ด" เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการจัดสรรสิทธิ์ตามคณะรัฐมนตรี (ครม.) (26 มี.ค. 62) เรื่อง "ระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้านบาท ใหม่" โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ที่มี นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานนั้น จะมีการประชุม 17 เม.ย. 2562

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

"ในส่วนของสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์เสนอความคิดเห็นจากตัวเลขนมดิบที่นำมาจัดทำเอ็มโอยู เทอม 1/2562 ที่มาของตัวเลขที่นำมาจัดทำบันทึกข้อตกลงการซื้อขายน้ำนมดิบ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในอดีตเป็นตัวเลขที่ได้รับการรายงานมาจากศูนย์นมและได้รับการร้องเรียนว่า ตัวเลขไม่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นตัวเลขที่ศูนย์นมแต่ละศูนย์รายงานเข้ามา โดยไม่มีการตรวจสอบ อาจมีการรายงานข้อมูลให้มากเกินความเป็นจริง ดังนั้น จึงมีการให้กรมปศุสัตว์เข้าไปตรวจนับจำนวนนมดิบเดือนละครั้ง โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจปริมาณน้ำนมดิบทั้งมื้อเช้าและเย็น (นั่งเฝ้าศูนย์นม นับสมาชิก เช็กปริมาณของสมาชิกแต่ละคน) และนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับตัวเลขที่ศูนย์นมรายงานมาที่กรมส่งเสริมฯ ว่า แตกต่างมากน้อยกันเท่าไร"

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมามีการร้องเรียนว่า มีปริมาณน้ำนมดิบเพิ่มขึ้น และได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้าไปตรวจสอบในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ถามว่า การตรวจสอบครั้งนี้มีความน่าเชื่อถือกว่าครั้งที่ผ่านมาอย่างไร ในเมื่อใช้เจ้าหน้าที่ภาครัฐเข้าไปตรวจสอบเช่นกัน และการตรวจสอบที่ผ่านมา ถ้าเราว่าไม่น่าเชื่อถือ ก็ต้องย้อนไปถามกรมปศุสัตว์ ว่า ที่ผ่านมาเข้าไปตรวจสอบอย่างไร ทำไมขาดความน่าเชื่อถือ เพราะถ้าตัวเลขที่ผ่านมาไม่น่าเชื่อถือ หรือ มีการทุจริตปั้นตัวเลขรายงานเข้ามา อธิบดีกรมปศุสัตว์ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ เอาผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

นายวสันต์ กล่าวต่ออีกว่า การตรวจสอบครั้งล่าสุด พบว่า มีปริมาณตัวเลขน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นนั้น แนะนำควรนำตัวเลขปริมาณน้ำนมดิบใน 3 เดือนย้อนหลัง มาเปรียบเทียบ เพราะอยู่ในช่วงฤดูเดียวกัน ถ้าที่ตรวจสอบใหม่มีปริมาณน้ำนมดิบเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัย เพราะสาเหตุของการตรวจสอบปริมาณในรอบนี้มาจากการร้องเรียน ว่า "มีปริมาณน้ำนมดิบล้น" และเมื่อมีการตั้งกรรมการตรวจสอบ ก็พบว่า มีปริมาณน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นจริง ๆ ซึ่งน่าสงสัยว่า น้ำนมที่เพิ่มขึ้นมาจากไหน เพราะปริมาณน้ำนมที่ตรวจสอบมีปริมาณมากกว่าเดือน พ.ย. - ม.ค. ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ซึ่งปกติจะมีปริมาณน้ำนมมากในช่วงนี้ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย ตั้งคำถามว่า ใครได้ประโยชน์จากตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในครั้งนี้

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

"ที่ผ่านมา ได้มีการร้องเรียนว่า มีการไซฟ่อนนม มีการนำน้ำนมดิบไปเวียนตามศูนย์นมเพื่อให้ตัวเลขเพิ่มขึ้น (ตามที่ผู้ร้องเรียนเข้าพบรัฐมนตรีเกษตรฯ) ถ้าเป็นตามที่มีผู้ร้องเรียนจริง ๆ แสดงว่า ตัวเลขการตรวจสอบที่ผ่านมาปริมาณน้ำนมดิบจะต้องมากกว่าความเป็นจริง แต่เพราะเหตุใดการตรวจสอบครั้งล่าสุดจึงมีปริมาณมากกว่าที่ผ่านมาอย่างมาก มีความพยายามผลักดันให้นำปริมาณน้ำนมดิบที่ได้จากการตรวจสอบในครั้งนี้มาใช้ในการจัดสรรสิทธินมโรงเรียนในภาคเรียนที่ 1/62 (เป็นไปได้หรือไม่ที่การตรวจสอบในครั้งนี้มีความพยายามทำให้มีปริมาณน้ำนมดิบมาก โดยวิธีใดก็ตาม เนี่องจากมีผู้ได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำนมดิบ)"

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

ทั้งนี้ ในการนำปริมาณน้ำนมดิบที่นำมายื่นขอสิทธินมโรงเรียน 1/62 นั้น มีความเห็นว่า ปริมาณน้ำนมดิบที่จะนำมาจัดสรรสิทธิในภาคเรียนที่ 1/62 ควรใช้ตัวเลขค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 12 เดือน เนื่องจากรอบการจัดสิทธินี้จัดสรร 2 ภาคเรียน หรือ 1 ปี เป็นค่าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ไม่ควรใช้ปริมาณน้ำนมดิบที่ได้จากการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบในเดือน ก.พ. เพียงเดือนเดียว เพราะไม่ได้เป็นตัวแทนของปริมาณน้ำนมดิบจริง เป็นเพียงแค่ปริมาณน้ำนมดิบเดือนเดียว และเป็นปริมาณที่ค่อนข้างผิดปกติ (เดือน ก.พ. 2562 สภาพอากาศค่อนข้างร้อนกว่าทุก ๆ ปี) เพราะปริมาณน้ำนมดิบเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือน ธ.ค. - ม.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศเย็น มีปริมาณวัวรีดนมที่อยู่ในช่วงการให้นมสูงสุดมีปริมาณมาก (วัวคลอด ต.ค. - พ.ย.)

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

"ปริมาณน้ำนมดิบทั้งประเทศที่นำมาจัดทำ MOU ปี 61/62 ประมาณวันละ 3,300 ตัน/วัน ถูกจัดสรรไปแล้วทั้งปี ซึ่งจะสิ้นสุด MOU เดือน ต.ค. 2562 ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม ดังนั้น การจัดสรรสิทธินมโรงเรียนภาคเรียนที่ 1/62 ยังอยู่ภายใต้ MOU 61/62 ถึงแม้ว่า ในภาคเรียนหน้านมโรงเรียนจะไม่ยึด MOU แต่ใช้การจัดทำสัญญาแทน แต่ MOU ก็ยังมีผลบังคับใช้กับนมในภาคส่วนอื่น ๆ อยู่ (นมพานิชย์, สิทธินมผง)"

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน

 

หากอนุญาตให้ผู้ประกอบการนำน้ำนมดิบที่แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิ "นมพาณิชย์" หรือ "ใช้สิทธินำเข้านมผง" มาใช้สิทธิแลกโควตานมโรงเรียนได้ เกรงว่าจะซ้ำซ้อน อาจจะทำให้ผู้ประกอบการลดหรือปฏิเสธซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรในประเทศ จะทำให้น้ำนมดิบในประเทศล้น ไม่มีแรงจูงใจในการรับซื้อน้ำนมดิบในประเทศ ดังนั้น ยกตัวอย่าง สหกรณ์ ก. มีน้ำนมดิบ 20 ตัน มีการใช้สิทธินำเข้านมผง 10 ตัน ส่วนที่เหลือที่นำเข้าใช้สิทธิแลกโควตานมโรงเรียนควรจะเป็นแค่ 10 ตันเท่านั้น แต่ที่ผ่านมา บางรายนำเข้านมโรงเรียน 20 ตันทั้งหมดเลย เป็นต้น

 

"สมาคมนมพาสเจอร์ไรส์" แนะทางออกปมโควตา "นมโรงเรียน" 1.4 หมื่นล้าน