'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

01 เม.ย. 2562 | 12:11 น.


ตื่น! รื้อโควตานมโรงเรียนใหม่ "2 สมาคมชุมนุมโคนม-ผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์" เคาะวันประชุมผวาเกษตรกร-สมาชิกโดนหางเลขตกขบวน ด้าน 'นัยฤทธิ์' ร่อนหนังสือส่งตรงถึง 'กฤษฎา' จี้! นำผลประชุม ครม. ผ่าโครงสร้างบอร์ดใหม่-แผนหั่นแบ่งเค้กกรมปศุสัตว์เข้ามิลค์บอร์ด ผวานอกโควตาเกษตรกรโดนลอยแพ!

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

นายนัยฤทธิ์ จำเล ประธานที่ปรึกษาชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ทางชุมนุมฯ จะเร่งออกหนังสือถึง นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้มีการจัดประชุม คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ "มิลค์บอร์ด" เพื่อเข้าพิจารณาผลที่ประชุมมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา เรื่องการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2562 เรื่องการทบทวนการบริหารจัดการนมโรงเรียน ที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนทุกคณะ โดยคณะต่าง ๆ ที่จัดตั้งนี้ ควรที่จะเสนอให้มิลค์บอร์ดรับทราบด้วย เพื่อให้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2551

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

"จากข่าวที่แจ้งว่า กรมปศุสัตว์จะทำแผนกำหนดเรียกประชุมผู้ประกอบการ แล้วจะจัดสรรพื้นที่จำหน่ายเองในส่วนกลาง เนื่องจากภาคเรียนเทอม 1/2562 ที่จะเปิดในวันที่ 16 พ.ค. นี้ เวลาจำกัดจะไม่สามารถโยนให้ 5 ภาค จัดสรรเองได้นั้น ควรจะนำแผนดำเนินการต่าง ๆ ผ่านการเข้าที่ประชุมมิลค์บอร์ดทราบก่อนหรือไม่อย่างไร"

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

นายนัยฤทธิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาในอดีต สมัยที่เป็นประธานชุมนุมฯ เป็นหนี่งในผู้สนับสนุนยกมือเห็นด้วยที่จะตัดผู้มีส่วนได้เสียออกจากคณะกรรมการฯ แต่การตัดออกต้องอยู่ภายใต้กติกา ก็คือ ต้องแจ้งให้ที่ประชุมมิลค์บอร์ดรับทราบ รวมทั้งแผนกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่จำหน่ายอย่างไร เพื่อให้เป็นธรรมต่างจากในอดีต จะต้องมีโมเดลที่ชัดเจน เพราะการที่จะตัดมิลค์บอร์ดออกจากระบบ แล้วไปแยกการบริหารเลยกระทำได้หรือไม่

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

"หากย้อนพิจารณาการที่จะให้กรมปศุสัตว์จัดสิทธิ์พื้นที่จำหน่ายจะจัดอย่างไร เพราะเกษตรกรอยู่ใต้การดูแลของเกษตรกร สหกรณ์ และโรงงานเอกชน ดังนั้น ไม่ว่าจัดจัดสรรพื้นที่จำหน่ายออกมาแบบไหน ควรจะคำนึงถึงเกษตรกรก่อนเป็นลำดับแรก"

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

นายนัยฤทธิ์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่คาใจว่า การที่กรมปศุสัตว์มาจัดเอง จะเซ็ทซีโร่อย่างไร ทั้งพื้นที่จำหน่ายตามภาคและกรุงเทพฯ หากมาตรฐานเกษตรกรน้ำนมดิบผ่านเกินกว่าเอ็มโอยูนมโรงเรียนจะทำอย่างไร แล้วเอ็มโอยูนมทั้งระบบจะมีหรือไม่อย่างไร ต้องการความชัดเจน เพราะเกรงว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจะเดือดร้อน และที่สำคัญเป็นห่วงว่า การรื้อโควตาจะไม่สำเร็จ ท้ายที่สุด จะเป็นระบบการจัดสรรแบบเดิม ที่แต่ละรายยังคงกอดโควตาไว้ไม่ยอมปล่อย

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

"แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อมีการเตรียมความพร้อมทางชุมนุมฯ จัดประชุมในระหว่างวันที่ 5-6 เม.ย. นี้ ณ สหกรณ์โคนมขอนแก่น เพื่อหารือสถานการณ์โคนม แนวทางป้องกันปัญหานมเกินเอ็มโอยู และแนวทางการพัฒนาโคนม รวมทั้งการบริหารจัดการนมดิบของสหกรณ์ของสมาชิกแต่ละภาคผ่านชุมนุมสหกรณ์โคนมภาค ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ เช่นเดียวกับสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์มีการเรียกประชุมในวันที่ 3 เม.ย. นี้ ณ โรงแรมอมารีดอนเมือง แอร์พอร์ต"

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

อนึ่ง สำหรับแนวทางการบริหารจัดการนมโรงเรียนระบบใหม่จะใช้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน ระดับกลุ่มพื้นที่ (5 กลุ่ม) ทำหน้าที่จัดสรรสิทธิ หรือ โควตา รวมทั้งพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียนให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

โดยยึดหลัก 1.ปริมาณน้ำนมดิบที่ผู้ประกอบการรับซื้อตามพันธะสัญญาซื้อขายที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายและน้ำนมดิบต้องได้จากเกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน 2.คุณภาพน้ำนมดิบที่รับซื้อและคุณภาพนมโรงเรียนที่ผลิต 3.ศักยภาพการผลิตและการตลาด 4.ระบบโลจิสติกส์ 5.ประวัติการดำเนินงานที่ผ่านมาและความรับผิดชอบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยให้ความสำคัญกับผู้มีศูนย์รวบรวมน้ำนมโคเป็นของตนเอง หรือ มีแผนการตลาดรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และรับผิดชอบตลอด 365 วัน

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

ก่อนหน้านั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ได้สัมภาษณ์ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงเหตุผลและความจำเป็นการรื้อโควตาและเปลี่ยนแปลงคณะกรรการนั้น ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอแนะ เพื่อป้องกันการทุจริตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาให้มีการทบทวนแนวทางการบริหารจัดการนมโรงเรียนปรับปรุงโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการ

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

โดยแยกโครงสร้างการบริหารออกจากคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลบอร์ด ตามพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2551 เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์อันเนื่องมาจากผู้มีส่วนได้เสียในโครงการร่วมเป็นกรรมการ ทั้งนี้ ให้แต่งตั้ง "คณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน" จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการหน่วยงานที่กำกับดูแล จำนวน 4 คน เป็นกรรมการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการผลิต จำนวน 3 คน เป็นกรรมการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ จำนวน 3 คน เป็นกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

โดยไม่มีองค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมเป็นกรรมการให้คณะกรรมการชุดนี้ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และรณรงค์การบริโภคนมไปยังสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อขยายเป้าหมายการบริโภคนม จากปัจจุบัน 18 ลิตรต่อคนต่อปี เป็น 25 ลิตรต่อคนต่อปี ภายในปี 2564

 

'นัยฤทธิ์' ผวาเกษตรกรโดนหางเลข รื้อโควตา "นมโรงเรียน" ใหม่

 

สำหรับการแบ่งพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (เขต 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดสระบุรีเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 2 (เขต 2 และเขต 3) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์นครราชสีมาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 3 (เขต 4 ) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่นเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 4 (เขต 5,6) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์เชียงใหม่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และกลุ่ม 5 (เขต 7,8,9) ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรีเป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดราชบุรีเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ