เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

01 เม.ย. 2562 | 04:09 น.


เกษตรฯ จัดงานวันคล้ายสถาปนาครบรอบปีที่ 127 เร่งขับเคลื่อนนโยบาย มุ่งหวังยกระดับรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้เข้มแข็งและยั่งยืน ใช้ตลาดนำการผลิต ควบประชารัฐ ยกระดับมาตรฐานอาชีพเกษตรไทยมั่นคง ยั่งยืน แข่งขันตลาดโลกได้

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

วันนี้ (1 เม.ย. 62) เป็นวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 127 ปี ซึ่งในปีนี้ เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. โดย นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ศาลพระภูมิ ท้าวเวสสุวัณ ศาลตา-ยาย องค์พระพิรุณทรงนาค และองค์พระพิรุณทรงนาคในพิพิธภัณฑ์ จากนั้นได้เป็นประธานในพิธีสงฆ์ โดยได้ถวายภัตตาหารและจตุปัจจัยเครื่องไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ภาคเกษตรไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มความผันผวนสูง รัฐบาลจึงได้มีแนวนโยบายปฏิรูปภาคการเกษตรสู่เกษตร 4.0 เพื่อให้สอดรับกับบริบทโลก โดยมีเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง และหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ตามแผนยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มุ่งเน้นการปฏิรูปภาคการเกษตร

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

ด้วยหลักการตลาดนำการผลิต ซึ่งเป็นการบริหารจัดการสินค้าเกษตรในการวางแผนการผลิตให้อุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรเกิดความสมดุลกัน โดยสนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สหกรณ์การเกษตร และผู้ประกอบการ

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม อาทิ การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ (Mega Farm) ในรูปแบบวิสาหกิจเกษตร การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาเกษตรกรสู่ Smart Farmer การพัฒนาสถาบันเกษตรกรในรูปแบบประชารัฐ โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางพาราในประเทศ โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โครงการการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ การพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practice)

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

รวมถึงการสร้างระบบฐานข้อมูล ด้านการเกษตร (Big Data on Agricultural) เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเกษตรมีความถูกต้อง แม่นยำ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง สินค้าเกษตรมีความปลอดภัย ได้คุณภาพและมาตรฐานสากล ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และยกระดับรายได้ของเกษตรกรไทย

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

สำหรับนโยบายที่สำคัญในปี 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เตรียมขับเคลื่อนนโยบาย "การบริหารจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อยกระดับรายได้เกษตรกร" (Mega Farm Enterprise) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยใช้ศักยภาพจากทุกภาคส่วนมาสนับสนุนผ่านกลไกความร่วมมือ 3 ส่วนที่สำคัญ คือ

(1) ภาครัฐสนับสนุน พัฒนา ติดตามประเมินผล และกำกับดูแลให้ความร่วมมือระหว่างเกษตรกรในโครงการฯ กับภาคเอกชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(2) ภาคเอกชน ช่วยหาช่องทางรับซื้อผลผลิตหรือร่วมลงทุน ให้ข้อมูลการตลาดกับเกษตรกร จัดอบรมวิธีการทำเกษตรสมัยใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560

และ (3) เกษตรกรเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

รวมแปลงกันในการบริหารจัดการ ตัดสินใจเลือกวิธีการที่เหมาะสม โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่คำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ตาม Agri Map และความต้องการของตลาด ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบาย "การตลาดนำการผลิต" ภายใต้แนวทาง "การจัดทำแผนการผลิตภาคการเกษตร" และ "โครงการเกษตรแปลงใหญ่" มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน โดยเพิ่มบทบาทภาครัฐและภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในการบริหารจัดการเกษตรแปลงใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับรายได้ของเกษตร พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบเกษตรกรรมของไทย ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งมีผลผลิตจำหน่ายออกสู่ตลาด ให้มีศักยภาพก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

"ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน คือ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องปรับแนวคิดและมุมมองต่องานด้านเกษตร เพื่อปรับวิธีการทำงานให้ก้าวทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วบนพื้นฐานของการมีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ยึดหลักความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างเข้มแข็ง โดยมุ่งเป้าหมายให้เกษตรกรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ เกษตรกรมีความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง พร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" นายกฤษฎา กล่าว

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

อนึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออย่างต่อเนื่อง จากกระทรวงเกษตรพนิชการมาเป็นกระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเกษตรพาณิชยการ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงเกษตร จนมาสู่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ "ภาคเกษตรก้าวไกลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลาดนำการผลิต ชีวิตเกษตรกรมีคุณภาพ ทรัพยากรการเกษตรมีความสมดุลและยั่งยืน" โดยมุ่งส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความมั่นคง พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรกรที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ตลอดทั้งบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

เกษตรฯ จัดงานสถาปนาครบ 127 ปี ยกมาตรฐานเกษตรยั่งยืน

 

โดยมีส่วนราชการในสังกัด จำนวน 22 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมการข้าว กรมหม่อนไหม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย องค์การสะพานปลา องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) และสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน)