'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

26 มี.ค. 2562 | 18:41 น.

รัฐมนตรีเกษตรฯ เครื่องร้อน! หลัง ครม. ไฟเขียว จี้! 'อนันต์' เร่งนโยบายขับเคลื่อนโครงสร้างระบบบริหารนมโรงเรียนใหม่ ต้องให้ทัน 16 พ.ค. นี้ โรงเรียนเปิดเทอมวันแรก เด็กจะต้องได้ดื่มนม ย้ำ! ต้องลงทะเบียนก่อนถึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ตามที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบตามแนวทางการบริหารโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนที่กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ผ่านที่ประชุมเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมานั้น ได้สั่งการด่วนที่สุดถึง นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดเกษตรและสหกรณ์, นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์, นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

ให้เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวมทั้งผู้ประกอบการเอกชนเกี่ยวกับนมโรงเรียน ได้เกิดความเข้าใจและสามารถปฎิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ตามการบริหารโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน พร้อมจัดทำแนวทาง (คู่มือ) การปฎิบัติงานตามขั้นตอนของโครงการอาหารเสริม (นม) ในโรงเรียนให้ชัดเจน พร้อมทั้งจัดประชุมชี้แจงผู้ปฎิบัติงาน ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ให้เกิดความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันและสามารถปฎิบัติงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้จริง ไม่บกพร่อง รวมทั้งขอให้เร่งรัดการเตรียมงานต่าง ๆ ให้ทันกับการเปิดภาคเรียนในปีการศึกษาที่ 1/2562 ด้วย (โรงเรียนจะเปิดภาคการศึกษาในวันที่ 16 พ.ค. 2562)

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

พลิกปูมประวัติศาสตร์นมโรงเรียน

ในช่วงปี 2552 เกิดปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด คณะรัฐมนตรีจึงได้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยให้องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เป็นกลไกของรัฐ ในการรับซื้อน้ำนมดิบส่วนเกินนำมาผลิตเพื่อจำหน่ายในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และมีมติในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1.คณะรัฐมนตรี (28 ม.ค. 2552) เห็นชอบในหลักการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หรือ หน่วยงานรัฐ ที่มีงบประมาณจัดซื้อนมพร้อมดื่ม จัดซื้อจาก อ.ส.ค. ได้ โดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้ อ.ส.ค. ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือน ก.ย. 2552

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

2.คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 มี.ค. 2552) ยกเลิกระบบการกำหนดเขตพื้นที่ หรือ โซนนิ่ง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดซื้อนมโรงเรียน โดยให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และต้องตรวจสอบให้ผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อมีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนด รวมทั้งอนุมัติงบประมาณการจัดซื้อนมพร้อมดื่มให้แก่นักเรียน ตั้งแต่ชั้นก่อนวัยเรียนจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 ล้านบาท ให้กับ อ.ส.ค. จัดซื้อนม ยู.เอช.ที. ให้กับโรงเรียนประถมศึกษาปีที่ 5-6 โดยตรง และงบประมาณส่วนที่เหลือให้ อปท. ที่มีศักยภาพและความพร้อมทางการเงินการคลังจัดซื้อนมโรงเรียน โดยใช้เงินของ อปท. ไปก่อน แล้วขอเบิกจ่ายคืนในภายหลัง ส่วน อปท. ใดไม่มีงบประมาณให้ของบประมาณจากรัฐบาล


'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

3.คณะรัฐมนตรีมีมติ (13 พ.ค. 2552) เห็นชอบให้ อปท. จัดซื้อนม ยู.เอช.ที. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โดยวิธีกรณีพิเศษ จาก อ.ส.ค. และผู้ประกอบการนม ยู.เอช.ที. อีก 4 ราย ที่ช่วยรับซื้อน้ำนมดิบส่วนเกินตามแผนการดื่มนมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. - 30 ก.ย. 2552

4.คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 มิ.ย. 2552) เห็นชอบให้ทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2552 (ตามข้อ 2.1.2) ในประเด็นเกี่ยวกับวงเงินงบประมาณส่วนที่เหลือกว่า 2 พันล้านบาท โดยอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 งบกลางรายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 604 ล้านบาท ให้แก่ อ.ส.ค. เพื่อจัดซื้อนม ยู.เอช.ที. จำนวน 80 ล้านกล่อง ส่งมอบให้เด็กก่อนวัยเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดื่มเป็นเวลา 15 วัน สำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ และจำนวนกว่า 1,458 ล้านบาท เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยนำไปจัดสรรให้ อปท. และกระทรวงศึกษาธิการ นำไปจัดซื้อนมโรงเรียนให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ให้ครบถ้วน

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

5.คณะรัฐมนตรี (15 ธ.ค. 2552) เห็นชอบในหลักการแนวทางการทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน (แบ่งโครงสร้างบริหารจำนวน 5 ข้อ และแนวทางการบริหาร จำนวน 4 ข้อ) ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม หรือ มิลค์บอร์ด ครั้งที่ 8 /2552 เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2552 และครั้งที่ 9/2552 เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2552 มีโครงสร้างบริหารนมโรงเรียนให้มีองค์กรกลาง ซึ่งเป็นคณะกรรมการกลาง 4 ฝ่าย ได้แก่ ภาคราชการ ฝ่ายเกษตรกร ผู้ประกอบการแปรรูป และผู้แทนฝ่ายจัดซื้อ รวม 19 คน เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการระบบนมโรงเรียน โดยให้ อ.ส.ค. เป็นหน่วยงานรัฐ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการขององค์กรกลาง เป็นผู้แทนในการบริหารจัดการ (คณะกรรมการกลาง เป็นคณะอนุกรรมการในกำกับการดูแลของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม)

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

6.คณะรัฐมนตรี (16 ก.พ. 2553) รับทราบมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับแนวทางการทบทวนระบบบริหารจัดการนมโรงเรียน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ทุกหน่วยงาน ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เพื่อจัดซื้ออาหารเสริม (นม)โรงเรียน จัดซื้อจาก อ.ส.ค. โดยวิธีกรณีพิเศษ หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีวิธีการทำนองเดียวกันได้ ตามนัยระเบียบว่าด้วยพัสดุที่หน่วยงานนั้น ๆ ถือปฎิบัติ ทั้งนี้ ให้ อ.ส.ค. ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวไม่เกินสิ้นเดือน ก.ย. 2556


'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

ปัจจุบัน

คณะรัฐมนตรี (26 มี.ค. 2562) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการนมโรงเรียนใหม่ โดยแยกโครงสร้างการบริหารออกจากมิลค์บอร์ด เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เนื่องจากมีผู้มีส่วนได้เสียร่วมเป็นกรรมการ จึงได้แต่งตั้ง "คณะกรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน" จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ, หน่วยงานที่กำกับดูแล จำนวน 4 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการผลิต จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานกรรมการแต่งตั้ง จำนวน 3 คน เป็นกรรมการ และอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและเลขานุการ (โดยไม่มีองค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการฯ รวมเป็นกรรมการ)

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ให้ทบทวนคณะทำงานชุดต่าง ๆ ภายใต้มิลค์บอร์ด ให้มีความเหมาะสมไม่ควรมีตัวแทนของผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปเป็นคณะอนุกรรมการที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ กำกับดูแล การดำเนินงาน หรือ คุณภาพนมโรงเรียน และเมื่อสิ้นสุดภาคเรียนการศึกษาต้องให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ที่สำคัญการบริหารจัดการ โดยเฉพาะฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต้องเป็นปัจจุบัน สะดวกต่อการนำมาใช้เพื่อการจัดสรรสิทธิจำหน่ายนมโรงเรียนให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการบริหารจัดการโครงการให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดระเบียบรื้อโควตานมโรงเรียนใหม่

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

เกษตรกร / ศูนย์รวมนม / ผู้ประกอบการ ต้องลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชัน 3 ระบบ คือ 1.ระบบทะเบียนฟาร์ม 2.ระบบซื้อขาย 3.ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เน้นย้ำให้ความสำคัญในคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียน มีมาตรฐานตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพิ่มความเข้มงวดการติดตามตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนในระดับพื้นที่ และพัฒนารูปแบบนมโรงเรียนและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์นมเพิ่มสาร อาหารจำเป็น และบรรจุภัณฑ์ Milk in box dispenser

 

'กฤษฎา' สั่ง "ปลัดเกษตร" ประชุมชี้แจงจัดโควตา "นมโรงเรียน" ระบบใหม่

 

โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (เขต 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 2 (เขต 2 และเขต 3) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์นครราชสีมา เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 3 (เขต 4 ) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ, กลุ่มที่ 4 (เขต 5, 6) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์เชียงใหม่ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และกลุ่ม 5 (เขต 7,8,9) ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานอนุกรรมการ และปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ขณะที่ มิลค์บอร์ดมีฐานะกำกับดูแลแต่ละกลุ่มให้เป็นไปตามมติ ครม. อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เด็กได้ดื่มนมคุณภาพดี เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีหลักประกันตลาดที่แน่นอน ที่สำคัญ งบประมาณรัฐจะต้องประหยัดและคุ้มค้าที่สุด