แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’

22 มี.ค. 2562 | 09:06 น.

"สัญญากับผมได้ไหมว่าเราจะเดินหน้าไปด้วยกัน พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน อย่าติดกับดักความขัดแย้ง ความยากจนแบบเดิมๆอีก ไปข้างหน้าด้วยกันด้วยใจเพชร เพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ความเท่าเทียม"

วรรคทองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการปาฐกถาท่ามกลางเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองนับหมื่นคน ในงานสัมมนาโครงการ "กองทุนแห่งชาติเพื่อประชาชน แก้จน ลดเหลื่อมล้ำ" ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา

เป็นการส่งสัญญาณตอกย้ำการให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชนที่เป็นยาขนานเอกในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ

แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’

พล.อ.ประยุทธ์ สะท้อนมุมมองอย่างเข้าใจว่า ปัญหาความเดือดร้อนของประเทศมีมากมายหลากหลายแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ ในการแก้ปัญหาประเทศไม่อาจเริ่มจาก 7 ไป 8 แต่ต้องเริ่มจาก 1 เพาะเมล็ด บ่มเพาะให้เติบโตและสืบสวน เพาะเมล็ดรุ่นใหม่หมุนเวียนต่อเนื่องไป โดยต้องบริหารจัดการให้สามารถเดินไปข้างหน้าพร้อมกัน ไม่อาจละทิ้งใครไว้ข้างหลังได้ 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เอาปัญหามาคลี่และแก้ปัญหาตามความจำเป็นเร่งด่วน รวมถึงให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน โดยให้แต่ละส่วนฟื้นความเข้มแข็งขึ้นมา

เครื่องมือที่จะเป็นกลไกเสริมให้กองทุนหมู่บ้าน มีความเข้มแข็งในระยะยาว คือ "กรอบแนวคิดการจัดทำแผนแม่บทกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง" ที่มีตัวแทนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งทั่วประเทศ เสนอต่อรัฐบาลผ่านพล.อ.ประยุทธ์

แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้สร้างบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากภายในชุมชน และเป็นแหล่งของการสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้ของครัวเรือนตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการสร้างแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ ชุมชนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย รวมทั้งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยการจัดสวัสดิการ

กองทุนหมู่บ้านฯมีความเห็นร่วมกันว่าการกำหนดให้มีแผนแม่บทกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะเป็นแนวทางในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง และเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะนำพาประเทศไทย ให้หลุดพ้นหรือบรรเทาความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปพร้อมๆ กับภาคส่วนอื่นๆ

แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’

กรอบแนวคิดนี้เกิดจากการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเครือข่ายตำบลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกตำบลทั่วประเทศ ที่มีการสะท้อนปัญหาหลัก คือ ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อนำมาใช้ในการประกอบอาชีพ โดยมีการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเครือข่ายตำบลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกตำบลทั่วประเทศ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2561

จากนั้นระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 ได้รวบรวมข้อมูลความต้องการและความคิดเห็นจากทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ โดยผู้แทนระดับตำบล ด้วยการจัดเวทีภาคสนาม ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลในเบื้องต้นได้ 6,878 ตำบล ก่อนนำข้อมูลที่ได้รับมาศึกษาสังเคราะห์ เพื่อยกร่างเป็นกรอบแนวคิดของแผนแม่บทกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดย มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -มีนาคม 2562 รวมทั้งวิเคราะห์ความเป็นไปได้และสรุปแนวทางการดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศและสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในช่วงเดือนมีนาคม 2562

แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’

จนตกผลึกออกมาเป็น 15 กิจกรรม ที่ฉายภาพกองทุนในอีก 20 ปีข้างหน้า ให้เห็นถึงอนาคตที่ยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านฯ ประกอบด้วย 1.ธนาคารของประชาชนระดับประเทศ 2.กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในหมู่บ้านและชุมชน 3.เครือข่ายสวัสดิการสังคมในหมู่บ้านและชุมชน 4. ศูนย์การเรียนรู้และการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนนเศรษฐกิจฐานราก และ 5.อาสาพัฒนาแผ่นดินด้วยศาสตร์พระราชาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

"รศ.นที ขลิบทอง" ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านฯ ย้ำว่ากรอบแนวคิดจะให้กองทุนหมู่บ้านฯเดินหน้าต่อเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นสถาบันการเงินระดับประเทศภายใน 20 ปี สู่การเป็นธนาคารพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในชุมชนและในพื้นที่ ภายใต้แผนแม่บทดังกล่าว จะมีคำตอบเรื่องทายาทกองทุนหมู่บ้าน โดยมีงบประมาณภาคประชาชนเกิดขึ้นได้ และมีงบประมาณในการดำเนินการ เพื่อความยั่งยืน

กิจกรรมหนึ่งนั้นคือการมีกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาระดับปริญญา โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยภาคี หลังเรียนจบมีงานรองรับทันที โดยยกระดับศูนย์เรียนรู้เป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน นำบทเรียนและประสบการณ์เศรษฐกิจฐานราก แทรกในศูนย์เรียนรู้แก่ทายาทกองทุน

แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’

ด้านกิจกรรมกองทุนประจำปีภาคประชาชนและหมู่บ้านนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลมีงบประมาณภายใต้โครงการประชารัฐ ให้กองทุนหมู่บ้านทำหน้าที่เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งหากกองทุนหมู่บ้านสามารถพิสูจน์ความพร้อมและมีความเข้มแข็งให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเป็นกองทุนประจำปีภาคประชาชนและหมู่บ้าน รวมถึงการมีสวัสดิการดูแลสมาชิก หรือเป็นหลักประกันสำหรับสมาชิก สำหรับกองทุนที่มีความพร้อมในอนาคตต่อไป

แผนแม่บทกองทุนหมู่บ้าน สู่อนาคตที่ยั่งยืน‘เศรษฐกิจฐานราก’