สภาอุตฯชงรัฐบาลใหม่ ลอยตัวค่าแรง-จ่ายตามฝีมือ ติงการเมืองเลิกเกทับหาเสียง

18 มี.ค. 2562 | 09:12 น.

เอกชนวอนรัฐบาลใหม่ลอยตัวค่าแรง แนะอย่าหาโฟกัสที่ตัวเลข ชี้ควรมองที่ฝีมือของแรงงานมากกว่า หวั่นกระทบเอสเอ็มอีปิดกิจการจากแบกรับต้นทุนไม่ไหว จี้พรรคการเมืองเลิกใช้นโยบายขึ้นค่าแรงมาใช้หาเสียง เกทับขึ้นขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า นโยบายของพรรคการเมืองในเรื่องของแรงงานค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่ที่พยายามลดอุปสรรคให้กับเอกชนและเพิ่มการพัฒนาเทคโลยีรวมถึงสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถแข่งขันได้   ทั้งนี้เอกชนต้องการเสนอให้ภาครัฐบาลใหม่ยกเลิกการบังคับใช้มาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำ แล้วปรับเป็นอัตราค่าจ้างแบบลอยตัว ตามทักษะของแรงงาน และไม่ต้องการให้นำนโยบายเรื่องปรับค่าแรงขั้นต่ำมาเป็นนโยบายหาเสียง เพราะจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ทั้งนี้เรื่องค่าตอบแทนแรงงานควรดูจากสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุน และความต้องการในภาคแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมมากกว่า และการการันตีค่าแรงไม่เป็นผลดีกับระบบอีกด้วย

สภาอุตฯชงรัฐบาลใหม่ ลอยตัวค่าแรง-จ่ายตามฝีมือ ติงการเมืองเลิกเกทับหาเสียง

                                                                                                               นายสุพันธุ์  มงคลสุธี

“นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในภาคอุตสาหกรรมมองว่า ใกล้เคียงกับสิ่งที่เอกชนคาดหวัง เช่น การยกระดับอุตสาหกรรม เทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลักดันการจ่ายค่าแรงตามทักษะ หรือPay by skill ซึ่งจะต้องวัดผลอีกครั้งหลังได้เข้ามาบริหารประเทศจริง และการปรับขึ้นค่าแรง2-10บาทภาคเอกชนถือว่ารับได้ เพราะแต่ละพื้นที่ปรับไม่เท่ากัน”

 

ขณะที่นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวในเวทีดีเบตทิศทางอุตสาหกรรมไทย Shaping Thai industry จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.(18 มี.ค.62) ว่าพรรคมีนโยบายชัดเจนว่าต้องกระจายรายได้ไปให้แต่ละจังหวัดอย่างเท่าเทียม ขณะที่ภาคแรงงานต้องเร่งเพิ่มทักษะเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นจากระดับค่าแรง 325 บาทไปสู่ 425 บาทต่อวันแบบไต่ระดับภายในระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งต้องผลักดันการยกเลิกภาษีผู้ประกอบการออนไลน์ รวมทั้งนักศึกษาจบใหม่ไม่ต้องเสียภาษี 5 ปีแรก

สภาอุตฯชงรัฐบาลใหม่ ลอยตัวค่าแรง-จ่ายตามฝีมือ ติงการเมืองเลิกเกทับหาเสียง

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นโยบายของพรรคจะเร่งผลักดันเกษตรกรให้มีรายได้ขั้นต่ำ 120,000 บาทต่อปี รวมถึงสนับสนุนการเรียนฟรีถึง ปวส. และใช้นโยบายภาษีจูงใจผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมจ้างงานนักศึกษาสายทักษะวิชาชีพที่จบใหม่

สภาอุตฯชงรัฐบาลใหม่ ลอยตัวค่าแรง-จ่ายตามฝีมือ ติงการเมืองเลิกเกทับหาเสียง

                                                                                                                                                  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

ส่วนนายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ตัวแทนจากพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญต่อคนในชาติและการพัฒนาประเทศ ซึ่งพรรคจะจัดตั้งคณะทำงานในการศึกษาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฮเปอร์ลูปให้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกได้ภายใน 10 ปี  คาดปี 2030 จะเปิดให้บริการไฮเปอร์ลูปเส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพ และกรุงเทพ-ภูเก็ต รถเมล์ไฟฟ้า จะสร้างธุรกิจใหม่ทั้งรถเมล์และรถไฟฟ้าที่ภาคอีสาน ทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดการกระจายรายได้

นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคมองเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นเรื่องหลัก แพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมไทยมีการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัญหาที่ท้าทายต่ออุตสาหกรรมไทย คือ สงครามการค้ารวมไปถึงแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานฝีมือ รวมไปถึงขาดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องของไทย  ดังนั้นหากพรรคได้เข้ามาเป็นรัฐบาลสิ่งที่จะเร่งก่อนคือ การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าในภาคอุตสาหกรรมไทย  การกำหนดตลาดส่งออกเพิ่ม ส่งเสริมการย้ายฐานการผลิตสู่ประเทศไทย พร้อมส่งเสริมสินค้าไทยให้ได้มาตรฐาน พัฒนาแรงงานมีฝีมือ และเน้นอุตสาหกรรมโดยเทคโนโลยี

สภาอุตฯชงรัฐบาลใหม่ ลอยตัวค่าแรง-จ่ายตามฝีมือ ติงการเมืองเลิกเกทับหาเสียง

                                                                                                              นางสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์

นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคถือว่าเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ พร้อมเป็นตัวแทนผู้ประกอบการในการช่วยเหลือพัฒนาให้เข้มแข็ง และมองว่าระเทศไทยหลังจากมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เชื่อว่าการเจรจาการค้าระหว่างประเทศในเวทีโลกจะไปได้ราบรื่น เพราะนานาประเทศให้การยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ขณะที่นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานงานแรงงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายหาเสียงการขึ้นค่าแรงของแต่ละพรรคการเมือง ซึ่งหากดูอัตราค่าแรงที่ใช้หาเสียงเฉลี่ย 425 บาท ปรับขึ้นสูงถึง 33%  จากปัจจุบันจะกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ เพราะอัตราค่าแรงที่ใช้หาเสียงไม่ได้สะท้อนเศรษฐกิจความเป็นจริงที่เติบโตได้เพียงเฉลี่ย 3 % ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ไม่ถึง 1%  และขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมยังต่ำ โดยเฉพาะประสิทธิภาพแรงงานของไทย

“การที่จะปรับขึ้นค่าแรง จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และกลไกการพิจารณาของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด โดยการขอขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 2-10 บาท ใน 49 จังหวัดในเวลานี้ แม้ว่าเอสเอ็มอีอาจได้รับผลกระทบบ้าง แต่ภาคเอกชนเห็นด้วยเป็นระดับที่รับได้   อยากให้พรรคการเมืองยกเลิกนโยบายการขึ้นค่าแรง ที่ภาคอุตสาหกรรมอยากเห็น ไม่ใช่แค่การขึ้นค่าจ้าง แต่ต้องการให้เพิ่มประสิทธิภาพแรงงานเพื่อทำให้มีรายได้สูงขึ้นและจะช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการสามารถจ่ายค่าแรงได้เพิ่มขึ้น ซึ่งยังไม่เห็นนโยบายใดๆออกมา รวมถึงการยกระดับอุตสาหกรรมไทยแข่งขันกับต่างประเทศ การลดต้นทุน การเข้าถึงเทคโนโลยี 4.0”

สภาอุตฯชงรัฐบาลใหม่ ลอยตัวค่าแรง-จ่ายตามฝีมือ ติงการเมืองเลิกเกทับหาเสียง