ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ

09 มี.ค. 2562 | 06:23 น.

พรรคประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย สร้างชาติ พรรคประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ
นำโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฯ กรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคฯ และประธานกรรมการนโยบายฯ และทีมนโยบายเศรษฐกิจจากภาควิชาการและเอกชน ที่พรรคประชาธิปัตย์ อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์  ชั้น 3


“10 จุดเปลี่ยน เศรษฐกิจไทย สร้างชาติ”

1. ดัชนี ปิติ (PITI):  นายอภิสิทธิ์    เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฯ ดัชนีปิติ(PITI)
2. Logistics สร้างชาติ: ดร.สามารถ  ราชพลสิทธิ์  อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธาและจราจร กรรมการนโยบาย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ Logisticsสร้างชาติ
3. GovTech:  ดร.การดี  เลียวไพโรจน์ ทีมนโยบายเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์  ตัวแทนจากภาคประชาชน

4.  ปฏิวัติเขียวอุตสาหกรรม : นายเกียรติ  สิทธีอมร  ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตประธานผู้แทนการค้าไทย

5. เศรษฐกิจ Hi-Touch: นายอลงกรณ์  พลบุตร   รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ณอลงกรณ์ พลบุตร เศรษฐกิจHi-Touch
6. เกษตรยุคใหม่: ดร.ศุภชัย  ศรีหล้า กรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์   

7. ปีแห่งการแก้หนี้: นายอรรชวิชช์  สุวรรณภักดี  กรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์   

8. เกษียณเงินล้าน: ดร.ธราดล เปี่ยมพงษ์สานต์ ผู้อำนวยการด้านนโยบาย สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย

9. คลังเข้มแข็ง: นายกรณ์  จาติกวณิช  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์    กรณ์ จาติกวณิช
10. No! Corruption:  นายอภิสิทธิ์    เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ

เริ่มตั้งแต่การที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลง ก่อกวน ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Disrupt ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ เพราะฉะนั้นมันจะกระทบกับโครงสร้างของประเทศเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปัญหาว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยที่คนชอบพูดว่าประเทศไทยกำลังจะแก่ก่อนรวย ในขณะที่ประเทศที่เป็นสังคมสูงวัยแล้ว เขารวยก่อนแก่ ตั้งแต่ปัญหาว่าเราไม่ได้อยู่โดยลำพัง เราเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก ประชาคมโลก ซึ่งกฎเกณฑ์ กติกา มาตรฐานหลายอย่าง รวมทั้งธรรมชาติของการประกอบธุรกิจข้ามชาติ สร้างความท้าทายต่อโครงสร้างและมาตรการและนโยบายของเราเยอะแยะไปหมด
 

และแน่นอนครับ ที่พูดกันอีกมากก็คือปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ไม่เพียงแต่ในแง่ของรายได้ ในแง่ของการเข้าถึงทรัพยากร ในแง่ของการได้รับการปฏิบัติให้เสมอภาคกันในสังคม อย่างนี้เป็นต้น
 

ซึ่งทั้งหมดนี้ เรามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างจุดเปลี่ยนให้กับวิธีการในการบริหารเศรษฐกิจ วันนี้ประชาธิปัตย์จะนำเสนอ 10 จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่เรื่องวิธีการวัดประเมินว่า เศรษฐกิจของเราและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเศรษฐกิจของประชาชนทั่วไป ดีขึ้น แย่ลง มีความก้าวหน้าแค่ไหนอย่างไร มาพูดถึงว่าการลงทุนของรัฐควรจะต้องตอบโจทย์อะไร มาพูดถึงว่าบทบาทของรัฐที่มีต่อเทคโนโลยีควรจะเป็นอย่างไร มาพูดถึงทุกภาคการผลิตไม่ว่าจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม บริการ จะต้องมีการปรับตัวอย่างไร มาพูดกันให้ชัดว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กดทับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันจะสะสางกันอย่างไรพูดถึงการที่จะสร้างหลักประกันเงินออม เพื่อให้เราไม่อยู่ในภาวะที่ยากลำบาก เมื่อกลายเป็นสังคมสูงวัยเต็มรูปแบบอย่างไร และแน่นอนการบริหารการเงินการคลังที่จะตอบโจทย์เหล่านี้ทั้งหมดจะต้องทำอย่างไร
 

และสุดท้ายระบบเศรษฐกิจ เหมือนระบบการเมือง ประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะต้องมีความสุจริต มิฉะนั้นแล้วเราก็จะมีปัญหาความไม่เสมอภาคในการแข่งขัน มีปัญหาการบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันของเราด้วย
 

ผมขอเริ่มต้นจากจุดเปลี่ยนข้อที่ 1 ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมได้เคยนำเสนอมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 1 ปี ทุกวันนี้การบริหารเศรษฐกิจก็มักจะใช้ตัวเลข GDP เป็นหลักอยู่ตลอดเวลา บางทีเราดูตัวเลขตัวเดียวด้วยซ้ำ และเราก็ได้พบความเป็นจริงมาแล้วว่าตัวเลข GDP ไม่อาจสะท้อนความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ได้ ฉะนั้นวันนี้พรรคประชาธิปัตย์เสนอว่าเราจะต้องสร้างดัชนีการชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่สะท้อนคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจของประชาชน เศรษฐกิจของชาวบ้านอย่างแท้จริง
 

แนวคิดของเราคือจะสร้างดัชนีที่ชื่อว่า PITI ปิติ ก็เป็นคำภาษาไทย แล้วเราเอาคำว่า ปิติ มาจากคำว่า PITI – Prosperity Index Thailand Initiative อันนี้คือสิ่งที่จะมีการพัฒนาว่าต่อจากนี้เราจะไม่ได้ดูตัวเลข GDP อย่างเดียว เราจะดูความก้าวหน้าของประเทศผ่านมิติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านสังคม ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม
 

มิติทางเศรษฐกิจนั้น แทนที่เราจะดูเฉพาะรายได้เฉลี่ยหรือรายได้รวม เราจะต้องเอาเรื่องของรายได้ของครัวเรือน หนี้ของครัวเรือน รายได้ภาคการเกษตร มาประกอบ ทำไมเราเน้นอย่างนั้น เพราะที่ผ่านมา พอเวลาเราเอารายได้ทุกคนมารวมแล้วหารเฉลี่ย ถ้าคนหยิบมือเดียวรวยขึ้นอย่างมหาศาล ตัวเลขเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่เราสนใจคือคนที่อยู่ตรงกลาง และโดยเฉพาะคนที่อยู่ทางด้านล่างของการจัดลำดับของการมีรายได้ เพราะฉะนั้นตัวเลขเหล่านี้ก็จะมีการหยิบมาเพื่อใช้ในการประกอบว่าเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างไร
 

แล้วก็จะต้องมีการมาปรับด้วยการเอาเกณฑ์ชี้วัดความเหลื่อมล้ำ ยิ่งเหลื่อมล้ำเท่าไหร่ต้องถือว่าเศรษฐกิจของเรายังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แล้วก็จะมีตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของเศรษฐกิจของเรา ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภาพแรงงาน
 

แต่ในมิติทางด้านสังคมจะต้องเข้ามาเสริม ก็คือว่า แท้ที่จริงแล้ว เวลาเราวัดเศรษฐกิจ การหมุนเวียนของเศรษฐกิจ มันมีค่าใช้จ่าย รายได้ รายจ่ายหลายเรื่องซึ่งความจริงบางเรื่องเป็นประโยชน์ไม่ถูกนับ หลายเรื่องถูกนับอยู่ใน GDP แต่ไม่เป็นประโยชน์ ต้องมาปรับ
 

ผมยกตัวอย่างครับ งานที่เกี่ยวข้องกับงานจิตอาสาก็ดี งานบ้านก็ดี ต่อไปในอนาคตงานเหล่านี้ผมว่ามีคุณค่ามหาศาล แต่เราไม่เคยนับ เวลาคนของเราทุ่มเททำงานแบบนี้ เราไม่เคยนับเลยว่ามูลค่าจริงๆ ที่ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ต้องเอามารวมครับ
 

แล้วก็จะต้องดูต่อไปว่า เมื่อมีการใช้จ่ายอย่างเช่นด้านการสาธารณสุข ด้านการศึกษา ถ้าเราวัดแค่ว่าใช้จ่ายเท่าไหร่ มันไม่ได้บอกหรอกครับว่าคุณภาพเป็นอย่างไร เราต้องมาปรับดู ยกตัวอย่างเช่นว่า คนเข้าถึงบริการสาธารณสุขดีขึ้นแค่ไหน ผมคิดง่ายๆ เช่น เราไปวัดดูมั้ยล่ะครับว่า ต้องเข้าคิวนานเท่าไหร่ กว่าจะได้เจอหมอ 1 คน เป็นตัวสะท้อนคุณภาพของระบบสาธารณสุขมากกว่า
 

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรม ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการจราจรแออัด อย่างนี้ควรจะมีการหักออกจากสิ่งที่มันหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับปัญหายาเสพติด ซึ่งก็จะต้องเอาตัวเลขที่สะท้อนความแพร่หลายของยาเสพติดมาจริงๆ ผมไม่คิดจะไปเอาเรื่องว่าตำรวจจับได้เท่าไหร่นะครับ ผมยังว่าตัวชี้วัดที่อาจจะบอกได้ว่ายาเสพติดระบาดกลาดเกลื่อนแค่ไหน อาจจะเป็นที่ว่าราคายาบ้า มันสูงหรือมันต่ำ อย่างนี้เป็นต้น
 

และแน่นอนครับ ในมิติของสิ่งแวดล้อม การพัฒนาของเรานำมาสู่ต้นทุนในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ค่าฝุ่น PM2.5 จะต้องถูกนำมาปรับเพราะถ้าเราเติบโต แต่เราสร้างมลพิษอย่างมาก เราไม่ได้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 

เช่นเดียวกัน แต่ละปีๆ เราก็ต้องมาไล่ดูว่าทรัพยากรธรรมชาติของเราเสื่อมโทรมไปแค่ไหน พื้นที่ป่าลดลงมั้ย แหล่งน้ำต่างๆ ที่สามารถใช้ได้ ดินที่มีคุณภาพที่จะมีสำหรับการเพาะปลูกเป็นอย่างไร
 

ทั้งหมดนี้จะมีการพัฒนาออกมาเป็นตัวชี้วัด และเราจะใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดนโยบาย มันจะทำให้รัฐบาล ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตที่แท้จริง และเศรษฐกิจที่เป็นของชาวบ้านจริงๆ อย่างเช่นที่ผ่านมา เราก็จะมาตื่นเต้นเรื่องค่าฝุ่น PM 2.5 เมื่อเกิดปัญหาแล้ว แต่ต่อจากนี้การบริหารเศรษฐกิจที่ใช้ตัวชี้วัดอย่างนี้ เราจะดูตั้งแต่แรก ยกตัวอย่างเช่น เราจะต้องเร่งหาคำตอบให้กับเกษตรกรที่ยังใช้วิธีการเผา เราจะเอาเทคโนโลยีมาอย่างไร เราจะส่งเสริมให้เขาไม่ทำอย่างนี้ แล้วมีทางเลือกอย่างไร หรือจะให้บริษัทใหญ่ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรกรที่เผานี้ต้องมีส่วนรับผิดชอบอย่างไร
 

นี่คือจุดเปลี่ยนจุดแรกของยุคใหม่ของเศรษฐกิจไทยที่จะเป็นการสร้างชาติต่อไปในอนาคตครับ เราต้องปรับวิธีคิด กระบวนทัศน์ในการบริหารเศรษฐกิจครับ
 

สรุปสำหรับจุดเปลี่ยนสุดท้าย คือเรื่องของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก ผมขออนุญาตว่าวันนี้จะยังไม่พูดถึงรายละเอียด แต่ว่าคงจะรบกวนสื่อมวลชนมาก่อนวันที่ 24 มีนาคมอีกครั้ง ให้เห็นว่าวาระในการต่อสู้กับการคอร์รัปชันของเรานั้นเป็นอย่างไร
 

ผมขอกลับไปย้ำสั้นๆ เท่านั้นครับว่า ทั้ง 10 เรื่องที่ได้พูดมา มันเป็นการสร้างความแตกต่างและจุดเปลี่ยนที่จำเป็นเพื่อให้ประเทศไทย และเศรษฐกิจไทยเดินไปข้างหน้าได้ ทุกเรื่องมีทั้งความต่างและความต่อ ต่างจากพรรคการเมืองอื่นๆ และต่อเนื่องจากสิ่งที่เราเคยทำ ไม่ว่าจะเป็นการที่เราเป็นผู้เสนออยู่ฝ่ายเดียวว่าวันนี้จะต้องมีการสร้างตัวชี้วัดมาเป็นเครื่องมือในการบริหารเศรษฐกิจที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบโลจิสติกส์ที่ประชาธิปัตย์ไม่ได้คิดโครงการเป็นโครงการๆ แต่มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ต้องมีแผน เพราะโครงการเหล่านี้ต้องนำไปสู่การเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน และต้องให้ประชาชนเข้าถึง
 

ประเทศไทยไม่ได้มีแต่ EEC ครับ ประเทศไทยต้องมี 12 มหานครทุกภาค ประเทศไทยต้องมีโครงการขนาดใหญ่ที่ประชาชนใช้บริการได้อย่างแท้จริง ทุกคนอาจจะพูดถึงเทคโนโลยี ทุกคนชอบพูดถึงความสำเร็จของการเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำ Startup แต่ประชาธิปัตย์พูดถึงบทบาทของรัฐว่าจะต้องมาทำให้เทคโนโลยีนั้นมาสร้างมูลค่าทั้งในภาครัฐ เอกชน และบริการสาธารณะอย่างไร และเราพิสูจน์มาแล้วจากการบริหารจัดการภายในของเราเองในการใช้เทคโนโลยี
 

อุตสาหกรรมสีเขียว ปฏิวัติเขียว เขียวปฏิวัติเขียวครั้งนี้ เราเล่นคำนะครับ คือหมายถึงการต่อเนื่องจากการที่เรามีทรัพยากรในภาคการเกษตรและในเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราพูดว่าเรากำลังปรับทิศทางอุตสาหกรรมของเราไปทางใด และเราเคยพิสูจน์มาแล้วเวลาที่เราต้องบริหาร เผชิญกับวิกฤติที่เคยเกิดขึ้นที่มาบตาพุด นี่คือความแตกต่าง
 

เศรษฐกิจ Hi-Touch ก็เป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เราเคยประกาศ และความแตกต่างก็คือว่า เรามองอย่างเป็นระบบ เราไม่ได้มาพุดแค่การท่องเที่ยว เราไม่ได้มาพูดแค่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ แต่เรามองว่าองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มาจากทักษะของคนไทยในความสร้างสรรค์และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในเชิงวัฒนธรรม หรือทุนวัฒนธรรมที่เรามีอยู่จะนำมาใช้อย่างไร
 

ภาคการเกษตร สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะถูกต่อยอดผ่านแนวคิด นวเกษตร และวนเกษตร ควบคู่กันไป การรวมกลุ่มไปสู่การมีระบบสหกรณ์ ก็คือการต่อยอดสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เคยพยายามทำมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพยายามที่จะให้เกษตรกรรวมตัวกันมีกองทุนฟื้นฟู อย่างนี้เป็นต้น
 

การแก้หนี้ ความต่างก็คือเราไม่พูดประเด็นง่ายๆ หรอกครับว่า พักหนี้ไว้ก่อน แต่เรากำลังจำแนกหนี้ในทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต นอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ประเภทไหนก็ตามแล้วหาคำตอบที่มีความเฉพาะเจาะจง เราเคยทำมาแล้วกับหนี้นอกระบบ ในสมัยรัฐบาลของประชาธิปัตย์ การแก้หนี้นอกระบบครั้งนั้นทำได้มากที่สุด ครอบคลุมหลายแสนครัวเรือน
 

การพูดถึงการออม แทบไม่มีรัฐบาลไหนส่งเสริมการออม มีแต่รัฐบาลยุให้คนเป็นหนี้ผ่านโครงการต่างๆ แต่ประชาธิปัตย์เริ่มต้นกองทุนการออมเอาไว้ และยังเคยสนับสนุน และจะสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนต่างๆ ต่อไป แต่วันนี้เราต้องเร่งยกระดับให้คนไทยทุกคนมีเงินออมเพียงพอ ซึ่งจะเป็นการขยายเรื่องของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการยกระดับกองทุนการออมแห่งชาติ
 

ภาษี พรรคการเมืองไม่ค่อยชอบพูดเรื่องภาษีหรอกครับ แล้ววันนี้เราจะเห็นว่าหลายพรรคการเมืองพูดแต่การลด ที่สำคัญเป็นการลดโดยไม่แยกแยะ อ้างว่าลดให้คนจน แต่คนรวยได้ด้วย ประชาธิปัตย์พูดชัดเจนครับว่า เป้าหมายของภาษีของเราต่อไป ความเข้มแข็งแล้ว ต้องมีความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ ที่คุณกรณ์ (จาติกวณิช) พูดไปรายใหญ่ที่เป็นบรรษัทข้ามชาติทางเทคโนโลยีต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันถ้าจะลดภาษีต้องเจาะจงครับ เช่น SME เช่น ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือปานกลาง เท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น
 

คอร์รัปชันไม่ต้องพูดถึงครับ หลายพรรคยังคงคิดว่าคอร์รัปชันเป็นเพียงวาทกรรม แต่ประชาธิปัตย์ยืนยันว่ามันเป็นภัยร้ายต่อทั้งเศรษฐกิจ และการเมืองไทยอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นวันนี้ประชาธิปัตย์พร้อมแล้วในการที่จะเดินไปข้างหน้า แก้จน สร้างคน สร้างชาติ ด้วย 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย ทำให้ทุกคนก้าวไกลอย่างเท่าเทียม ขอบคุณครับ

ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ

ชุดนโยบาย #สร้างชาติ   “10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย” 
 

นโยบายเศรษฐกิจที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศ! ในการสร้างให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพดี เปลี่ยนสังคมให้มีการกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง และเปลี่ยนให้ประเทศไทยมีความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน 
 

1. GDP >>> PITI (Prosperity Index Thailand Initiative) : เปลี่ยนตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจใหม่ จาก “GDP” เป็น “ดัชนีปิติ” ให้สะท้อนความเป็นอยู่ของประชาชน ถือเป็นเศรษฐกิจของชาวบ้าน เศรษฐกิจเพื่อชีวิตประชาชนอย่างแท้จริง
 

2. Logistics สร้างชาติ - โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยง "มหานคร" :
- เร่งรัดผลักดันสร้างรถไฟฟ้าทุกสี และลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ 
- รถไฟทางคู่ทั่วประเทศ เน้นเส้นยุทธศาสตร์ East-West Corridor 
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อมโลก เชื่อมจีนถึงสิงคโปร์ ที่หนองคาย-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์
- มอเตอร์เวย์สุดชายแดนเหนือใต้ เชียงราย-บางปะอิน สุไหงโกลก-นครปฐม
- พัฒนา 12 มหานคร กระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทั่วไทย

   ดร.การดี เลียวไพโรจน์ Govtech
3. GovTech :  

- ปฏิรูประบบราชการ ให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี 
- ปรับกลไกของรัฐ ใช้ Blockchain และ ปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) เพื่อการทำงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ) 
- จัดตั้งกองทุน Smart Health และ Smart Education 
- ใช้ Big Data จัดการฐานข้อมูล 
 - แก้และปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างและกฎหมายที่ถ่วงภาครัฐ ให้บริการประชาชนได้เต็มที่ 
- ผลักดันให้ Startups เชื่อมโยงการทำงานกับภาครัฐ
 

4. ปฏิวัติเขียวอุตสาหกรรม : ส่งเสริมอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่เน้นเรื่องความยั่งยืน สะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ให้ไทยเป็น EV Global Supply Chain ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมรถไฟ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตกระแสไฟฟ้า ชีวภาพ ชีวมวล พลังงานลมและแสงอาทิตย์ ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจยั่งยืน
 

5. เศรษฐกิจ Hi-Touch ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นเป้าหมายใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนบนศักยภาพไทย (Thainess) ผลักดันการท่องเที่ยวพรีเมียม อุตสาหกรรมสื่อบันเทิง ศิลปะ (Arts) งานสร้างสรรค์และออกแบบ และเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมใหม่
 

6.  เกษตรยุคใหม่ : ส่งเสริมเกษตรกรเป็น Entrepreneur ทางการเกษตร ส่งเสริมวนเกษตร “ป่าพารวย” ส่งเสริม Modern Co-op เน้นการพัฒนาการบริหารจัดการ กระบวนการผลิต R&D แปรรูป Marketing Branding ให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันในรูปแบบสหกรณ์ยุคใหม่ เข้าถึงตลาดได้เอง มีการแปรรูปข้ามอุตสาหกรรม และเพิ่มมูลค่า
 

7. ปีแห่งการแก้หนี้ - หนี้นอกระบบ หนี้บัตรเครดิต  หนี้เกษตรกร
- หนี้บัตรเครดิต แก้ พ.ร.บ.บัตรเครดิต ให้คิดดอกเบี้ยให้เป็นธรรม 
- รีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบเข้าในระบบ 
- ไม่ให้ ธ.ก.ส. ยึดที่ดินทำกินของเกษตรกรที่เข้าโครงการแก้หนี้ ฟื้นฟูรายได้
 

8. เกษียณเงินล้าน : เปลี่ยนสังคม ให้เป็นสังคมการออมรองรับสังคมสูงอายุ ด้วยการยกระดับกองทุนการออมแห่งชาติ ออมหลักร้อยตอนเข้าทำงาน รับหลักล้านตอนเกษียณ ทั้งแรงงานในและนอกระบบ
 

9. “คลังเข้มแข็ง ภาษีเท่าเทียม” 
- ปฏิรูประบบภาษี และการหารายได้ภาครัฐ 
- ปรับโครงสร้างภาษีให้เป็นธรรม เก็บคนรวย ดูแลคนรายได้ปานกลาง และให้สวัสดิการพื้นฐานแก่คนยากจน
- เก็บรายได้ภาษีจากเศรษฐีหุ้น-ที่ดิน-ทรัพย์สิน 
- สร้างรายได้เพิ่มจากการบริหารเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ 
- ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ 
- บริหารจัดการปรับลดงบกลาง ปรับลดงบซ้ำซ้อน 
เพื่อการสร้าง “คลังเข้มแข็ง ภาษีเท่าเทียม”
 

10. No Corruption : มีมาตรการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาด จริงจัง!
 

ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายเศรษฐกิจ ชุดนโยบาย “สร้างชาติ”: 10 จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสร้างชาติ