เอกชนหวั่น! "ค่าบาท" กระทบ จี้! แบงก์ชาติเร่งดูแล

05 มี.ค. 2562 | 07:49 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

เอกชนหวั่น! ค่าบาทกระทบ จี้! แบงก์ชาติเร่งดูแล โดยเฉพาะเรื่องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินไปให้แข็งกว่าคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญ การเปิดตลาดใหม่เพื่อหาตลาดอื่นเข้ามาทดแทน

สรท. ยอมรับช็อก ส่งออก ม.ค. 2562 ติดลบ 5.7% จี้! ธปท. กำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยน หวั่นกระทบความสามารถการแข่งขันและผู้ลงทุนอาจชะลอการลงทุน ส่วนปัญหาอินเดียและปากีสถานยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกทางอากาศ

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า สภาผู้ส่งออกฯ ยังคงคาดการณ์การส่งออกในปีนี้ ขยายตัว 5% ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามที่จะมีผลต่อภาพการส่งออก อย่างไรก็ดี ต้องการให้ผู้ส่งออกมีการปรับตัว รวมถึงให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาติดตามสถานการณ์ ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อกระตุ้นให้ภาวะการส่งออกขยายตัวเป็นไปตามเป้าหมาย

สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบการส่งออก เช่น บรรยากาศการค้า โดยเฉพาะสงครามการค้า การเจรจา Brexit ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับสิทธิประโยชน์ทางการค้า ความไม่สงบระหว่างอินเดียและปากีสถานที่ส่งผลกระทบต่อระยะสั้นและการขนส่งทางอากาศ ความผันผวนของค่าเงินบาทที่จะมีผลต่อต้นทุนทางการค้า มาตรการกีดกันทางการค่า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีความล่าช้า และมีผลต่อการต่อรองสิทธิพิเศษทางภาษี เป็นต้น

"กรณีปัญหาระหว่างประเทศของอินเดียและปากีสถานมีผลต่อการขนส่งทางอากาศ ทำให้ผู้ส่งออกมีความกังวลเรื่องของต้นทุนในการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่สามารถบินตรงผ่านอินเดียและปากีสถานไปตลาดยุโรปได้ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการส่งออก เมื่อมีการปิดน่านฟ้าขึ้นทำให้การขนส่งทางอากาศ ต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางบินไปทางจีน เพื่อบินตรงไปตลาดยุโรป ซึ่งทำให้ระยะเส้นทางการขนส่งไกลขึ้นและมีต้นทุนต่อการขนส่งเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ซึ่งอาจจะอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำตลาด สินค้าในการส่งออก ขณะที่ การขนส่งทางเรือขณะนี้ยังไม่มีปัญหา"


ส่วนสินค้าที่มีการส่งออกไปตลาดยุโรปโดยสายการบินจะเป็นสินค้าผักและผลไม้และกล้วยไม้ ขณะนี้ยังไม่เห็นปริมาณ หรือ มูลค่ากรรส่งออกที่ลดลง เนื่องจากการขนส่งทางอากาศได้มีการปรับเปลี่ยน หรือ แก้ไขปัญหาในการขนส่งในเบื้องต้นแล้ว โดยมีการปรับเส้นทางสายการบินเพื่อให้มีการส่งออกสินค้าไปได้ปกติ ส่วนกรณีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ เป็นการหารือเพื่อให้เห็นถึงข้อกังวลของภาคผู้ส่งออกและต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนในเรื่องของการใช้สกุลเงินท้องถิ่นโดยตรงในการแลกเปลี่ยนซื้อสินค้าระหว่างกัน เช่น ไทย-จีน ไทย-ญี่ปุ่น หรือ ไทย-มาเลเซีย ได้ดำเนินการมาได้ในระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งทำให้ลดเรื่องของค่าธรรมเนียม หรือ การแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้ ก็จะทำให้การส่งออกขยายตัวดีขึ้น
 

เอกชนหวั่น! \"ค่าบาท\" กระทบ จี้! แบงก์ชาติเร่งดูแล


อย่างไรก็ดี ทั้ง สรท. ได้มีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะแบงก์ชาติ เข้ามาดูแล โดยเฉพาะเรื่องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินไปให้แข็งกว่าคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญ การเปิดตลาดใหม่เพื่อหาตลาดอื่นเข้ามาทดแทนในสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอน เพื่อกระจายความเสี่ยงการค้าและการต่อรองในการส่งออก ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเปิดเจรจาสิทธิพิเศษทางการค้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น

สำหรับการส่งออกเดือน ม.ค. 2562 มีมูลค่าเงิน 18,994 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ ลดลง 5.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 23,026 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 14% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เดือน ม.ค. 2562 ไทยขาดดุลการค้า 4,032 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ แม้ว่าผู้ส่งออกจะรู้สึกช็อก แต่ก็เข้าใจว่า ปัจจัยลบที่เกิดขึ้นนั้นยากต่อการควบคุม ส่วนหนึ่งมาจากความผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่กดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

"ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากภายในประเทศ โดยจากการคำนวณพบว่า ทุก ๆ 1 บาท ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น จะทำให้รายได้จากการส่งออกลดลง 3% ขณะที่ อัตราเติบโตของการส่งออกจะลดลง 1% ในทุก ๆ การแข็งค่าขึ้น 1 บาท อย่างไรก็ตาม สรท. ร้องขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่ค่า โดยหลังจากเข้าพบผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เป็นที่น่ายินดีว่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย"

เอกชนหวั่น! \"ค่าบาท\" กระทบ จี้! แบงก์ชาติเร่งดูแล