Move On | "พ.ร.บ.ไซเบอร์" กับข้อกังขา ล้วง "ตับ" ข้อมูล

01 มี.ค. 2562 | 14:25 น.

Move On | "พ.ร.บ.ไซเบอร์" กับข้อกังขา ล้วง "ตับ" ข้อมูล

แม้ร่างร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... ถูกคัดค้านมาแล้วครั้งหนึ่ง เพราะให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลแบบ "ล้วงตับ" โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล

ทั้ง ๆ ที่หน่วยงานรับผิดชอบ คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ออกมาย้ำว่า ร่างส่วนใหญ่เน้นความปลอดภัยของ "ระบบ" เช่น ไวรัส การโจมตี Server การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

จนต้องถอยสุดซอย!!!

แต่ในที่สุด ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติ 133-0 งดออกเสียง 16 คน จากจำนวน 149 คน เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. ....

● สนช. ผ่านแล้ว! กฎหมายปลอดภัยไซเบอร์

ประเด็นที่ถูกตั้งคำถาม? และบรรดาพลเมืองไซเบอร์กลับไม่เห็นด้วย นั่นก็คือ มาตรา 61, 65 เเละ 67 เกี่ยวกับการตรวจสอบให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น


Move On | "พ.ร.บ.ไซเบอร์" กับข้อกังขา ล้วง "ตับ" ข้อมูล

แม้จะมีจำนวนทั้งสิ้น 81 มาตรา กำหนดให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายให้หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ

แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า เนื้อหาสำคัญของร่างกฏหมายฉบับนี้ กำหนดความร้ายแรงของภัยความมั่นคงไซเบอร์ไว้ 3 ระดับ คือ ภัยระดับไม่ร้ายแรง ภัยระดับร้ายแรง และภัยระดับวิกฤติ

โดยการรับมือในกรณีที่เกิดภัยระดับร้ายแรง ให้คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เป็นประธาน มีอำนาจในการสั่งการต่าง ๆ


Move On | "พ.ร.บ.ไซเบอร์" กับข้อกังขา ล้วง "ตับ" ข้อมูล

ในส่วนกรณีเกิดภัยคุกคามไซเบอร์ระดับ "วิกฤติ" มาตรา 67 ให้คณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มอบหมายให้เลขาธิการมีอำนาจดำเนินการได้ทันทีเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันและเยียวยาความเสียหายก่อนล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล

ประเด็นตรงนี้ต่างหากถูกคลางแคลงสงสัยมากเป็นพิเศษ เพราะกังวลว่า บรรดาผู้มีอำนาจจะใช้กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือในการสอดส่องทางการเมือง เพราะมีบทเรียนมาแล้วจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ว่ากันว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถูกกล่าวขานว่า เป็นกฏอัยการศึกออนไลน์


Move On | "พ.ร.บ.ไซเบอร์" กับข้อกังขา ล้วง "ตับ" ข้อมูล

ส่วนทางด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและ รมว.กลาโหม ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ ว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย และรัฐบาลชุดนี้ไม่เคยทำอะไรที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งจะเตรียมชี้แจงต่อประชาชน ว่า ไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ขณะที่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายดิจิทัลต่างก็เห็นด้วยกฎหมายฉบับนี้

ที่เห็นด้วยก็เพราะทำให้บริการภาครัฐทั้งทางด้านการเงิน การธนาคาร หรือ บริการสาธารณูปโภคสำคัญ อาทิ ประปา ไฟฟ้า การเงิน การขนส่งคมนาคม จะต้องปรับมาตรฐานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้มั่นคงมากขึ้น การที่ระบบจะล่มโดยไม่มีมาตรการป้องกันจะน้อยลง ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น

ข้อกังขาที่เกิดขึ้นรัฐต้องตระหนักและพิสูจน์การให้อำนาจหน้าที่กับเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


| PHOTO : TheDigitalWay, VISHNU_KV

……………….

บทความน่าสนใจ :
● Move On | จริงหรือ? 'เทมาเส็ก' ยอมเท 'ไทยคม' 

เพิ่มเพื่อน
Move On | "พ.ร.บ.ไซเบอร์" กับข้อกังขา ล้วง "ตับ" ข้อมูล