หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

04 มี.ค. 2562 | 03:15 น.

เริ่มมีความชัดเจนเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อ คสช. หรือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน เรียกบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องหามาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่และทีวีดิจิทัล เพื่อยืดชำระค่าคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ตามที่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN บริษัทลูก "เอไอเอส" และ บริษัท ทรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC ในเครือ "ทรู"
 

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

⇲ วิษณุ เครืองาม


เพราะก่อนหน้านี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกเลขาธิการ กสทช. และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 ราย มาประชุมหาทางออกร่วมกันถึง 3 ครั้ง โดยเอไอเอสและทรูขอยืดค่างวด 7 ปี และดีทีเอ็น หรือ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ขอยืดค่างวด 15 ปี
 

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

⇲ ฐากร ตัณฑสิทธิ์

 

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

⇲ วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์

 

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

⇲ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

 

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

⇲ สมชัย เลิศสุทธิวงค์

 

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"

⇲ สุภิญญา กลางณรงค์


ดูเหมือนว่า การประชุมครั้งสุดท้ายเริ่มมีสัญญาณเป็นทางบวก เพราะถ้าออกมาตรการช่วยเหลือได้ กลุ่มทีวีดิจิทัลก็จะได้อานิสงส์เช่นเดียวกัน เพราะทีวีดิจิทัลโดนผลกระทบเทคโนโลยีดิสรัปชัน จนส่งผลให้ขาดทุนอย่างหนัก

แม้รัฐตั้งท่าจะช่วยเหลืออุตสาหกรรม แต่ดูเหมือนว่า มีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย หากรัฐบาลและ คสช. ยืดเวลาชำระค่าประมูลคลื่น 4G ออกไป รัฐก็จะเสียรายได้อย่างน้อย 1.6 หมื่นล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยที่ กสทช. เสนอให้เก็บตํ่ามาก

อย่างไรก็ตาม "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมบทสรุปความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ-นักวิชาการ และเอกชน เพื่อสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับกรณีค่าคลื่น 900 ที่ราคาประมูลแพงเวอร์ จนไปสู่กระบวนการขอผ่อนผัน


รายงาน โดย ไอที

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3449 ระหว่างวันที่ 3 - 6 มีนาคม 2562

หนุน-ค้าน "ปลดล็อกค่างวด คลื่น 900"