ข่าวห้ามเขียน : กฎหมาย PPP นี้ เพื่อใคร

27 ก.พ. 2562 | 06:58 น.
PPP-01

 

ข่าวห้ามเขียน-3448 ในอดีตเคยมีคดีดัง กรณีนำที่ราชพัสดุแปลงหมอชิตมาให้เอกชนพัฒนา แต่ไม่ได้ดำเนินการภายใต้บังคับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือกฎหมาย PPP ที่กำหนดให้โครงการที่มีวงเงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับ PPP ทั้งที่โครงการดังกล่าวต้องใช้วงเงินกว่า 3 พันล้านบาท

แต่ด้วยกฎหมาย PPP ฉบับที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติผ่านไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 และอยู่ระหว่างประกาศใช้เป็นกฎหมาย กำลังจะทำให้การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของหน่วยงานของรัฐ และทรัพยากรธรรมชาติหลุดไปจากกรอบกฎหมายของ PPP

ทั้งนี้นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)บอกว่า PPP ฉบับใหม่จะครอบคลุมโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่รวมถึงโครงการที่ใช้เพียงแต่ทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพย์สินของรัฐ

[caption id="attachment_394787" align="aligncenter" width="500"] ข่าวห้ามเขียน : กฎหมาย PPP นี้ เพื่อใคร เพิ่มเพื่อน [/caption]

ถ้ามองถึงเจตนารมณ์ของ PPP คือ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อประหยัดเงินงบประมาณลง ด้วยการนำทรัพยากรที่รัฐมี คือที่ดิน มาร่วมเป็นทุนกับเอกชน ซึ่งเอกชนมีเงิน เกิดเป็น Partnership ตามที่สคร.ชี้แจง

จึงเกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ ที่ออกมาในจังหวะเดียวกับการสัมปทานพื้นที่ดิวตี้ฟรีในสนามบินสุวรรณภูมิกำลังจะหมดในปีหน้า ซึ่งบอร์ด บมจ.การท่าอากาศยานไทย หรือ AOT เองก็บอกว่า ขั้นตอนการดำเนินงานยังต้องรอให้กฎหมาย PPP ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เองก็เคยออกมาคัดค้านว่า PPP ฉบับใหม่ทำให้ขอบเขตของมาตรา 7 แคบลงมากและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการตรากฎหมายร่วมทุนฯ ฉบับแรกเมื่อปี 2535 หรือไม่ เพื่อถ่วงดุลอำนาจระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับสภาพัฒน์และในรูปคณะกรรมการหลายฝ่าย ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท

รัฐบาลสมัยนายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ตราพ.ร.บ. PPP 2535 ขึ้นมาเพื่อถ่วงดุลอำนาจระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการกับสภาพัฒน์และในรูปคณะกรรมการหลายฝ่าย ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท

แต่ต่อมามีการแก้ไขปี 2556 เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น โดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ โครงการขนาดเล็ก ตํ่ากว่า 1,000 ล้านบาทเป็นอำนาจของหน่วยงานเจ้าของโครงการ โครงการขนาดกลาง วงเงินระหว่าง 1,000-5,000 ล้านบาท ขึ้นกับดุลพินิจว่าหน่วยงานเจ้าของโครงการจะพิจารณาเองหรือเสนอเข้าครม. และโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท ต้องเสนอเข้าครม.อนุมัติ

เมื่อปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับทุกอย่างกลับไปที่หน่วยงานต้นสังกัดพิจารณาเอง แม้ว่าการบริหารหรือเช่าที่ทรัพย์สินรัฐก็ตาม

| คอลัมน์ : ข่าวห้ามเขียน
|  โดย : พรานบุญ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3448 หน้า 20 ระหว่างวันที่ 28 ก.พ.-2 มี.ค.2562
595959859


[caption id="attachment_395287" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]