กางโรดแมป‘บำรุงราษฎร์’สู่เวิลด์คลาสใน5ปี

27 ก.พ. 2562 | 17:26 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

“บำรุงราษฎร์” เปิดโรดแมป 5 ปี ก้าวสู่ World class holistic healthcare ชู 3 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน “ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม-Big Data-AI” พร้อมลงทุนเพิ่มขยายการใช้หุ่นยนต์จัดยา

กระแส Technology Disruption กำลังเข้ามามีบทบาทในทุกอุตสาหกรรมบนโลก ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มี Technology Disruption อย่างชัดเจนก็คือ ธุรกิจสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้านการดูแลสุขภาพและวิทยาศาสตร์ ชีวภาพมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อาทิ การวินิจฉัยโรคโดยใช้ AI การใช้แพลตฟอร์มต่างๆ รวมทั้งการใช้ Big Data เป็นต้น

ในปลายปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้ร่วมมือกับ BIOTIA ผู้นำสตาร์ตอัพด้านบริการเทคโนโลยีสุขภาพสหรัฐ อเมริกา ในการเก็บข้อมูลและค้นคว้าวิจัย โดย อาศัย NGS Technology, Big Data เพื่อศึกษาปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยและวาระเร่งด่วนระดับโลก เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 7 แสนราย และหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในอีก 30 ปีข้างหน้า คาดว่าการเสียชีวิตจะสูงถึง 10 ล้านคน

[caption id="attachment_394653" align="aligncenter" width="503"] ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์[/caption]

ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่าโรงพยาบาลได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานในการก้าวสู่การเป็น World class holistic healthcare ภาย ใน 5 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย 1. การปรับเปลี่ยนจากการรักษาผู้ป่วย เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 2. การประมวลข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมากเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ของการบริบาลอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีทางด้านปัญญาประดิษฐ์เข้ามาปรับใช้ และ 3. การเชื่อมโยงระหว่างกันของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องคน เทคโนโลยี และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

“ปัจจัยที่จะทำให้โรงพยาบาลก้าวไปสู่การเป็น World class holistic healthcare ได้จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) มาใช้เพื่อสุขภาพเชิงรุก ซึ่งให้ผลดีกว่าการตั้งรับรักษาอาการเจ็บป่วย โดยเทคโนโลยีต่างๆ ที่โรงพยาบาลนำมาใช้จะคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง รวมถึงนำระบบบริหารจัดการในลักษณะ Operational Excellence มาใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด”

สำหรับเทคโนโลยีที่โรงพยาบาลจะนำมาใช้ ได้แก่ Next-Generation Sequencing Technology (NGS) ช่วยให้สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ DNA หาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหรือความเสี่ยงการแพ้ยาบางชนิด พร้อมทั้ง IBM Watson เป็นเทคโนโลยี Cognitive Computing ที่จะเข้ามาช่วยแพทย์รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งวินิจฉัยโรค และ ซีบรา เอไอ (Zebra AI) เป็นเทคโนโลยี AI ที่ใช้ร่วมกับ CT Scan เพิ่มความแม่นยำในการอ่านข้อมูลทางด้านรังสีรักษา และสามารถตรวจ 4 โรคได้ในครั้งเดียว ประกอบด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เลือดออกในสมอง ไขมัน พอกตับ และภาวะกระดูกแตกอื่นๆ

นอกจากนี้ในปีนี้ โรงพยาบาลมีแผนกำลังจะขยายการใช้หุ่นยนต์จัดยาสำหรับผู้ป่วยนอกภายในปลายปีเพิ่มเติม หลังจากที่ในปี 2551 โรงพยาบาลได้เคยนำหุ่นยนต์มาช่วยในการจัดยาแล้ว ซึ่งครั้งนั้นเป็นการใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท และเป็นเทคโนโลยีที่สามารถจัดการยาได้แม่นยำสูง รวดเร็ว และช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อนจากการจัดจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีผู้ป่วยนอกเข้ามารับบริการประมาณ 3,000 คนต่อวัน ขณะที่รายได้มาจากกลุ่มผู้ป่วยต่างชาติราว 65%

หน้า 32 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,448 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2562 

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว