ปฏิกิริยา : ท่านกกต.ที่เคารพ คนไทยยังสับสน เลือกตั้ง 62 อ่อนประชาสัมพันธ์ไปมั้ย..?

25 ก.พ. 2562 | 11:41 น.
 

สับสน-001 ช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา มีโอกาสเดินทางไปทำธุระในต่างจังหวัดแถวภาคกลาง และบ้านที่ไปพักหน้าบ้านเป็นตลาดเช้า แทบไม่น่าเชื่อว่าเป็นตลาด เพราะไม่มีคนเดิน มีแต่คนขายของ

จากปกติ ตี 2 ตี 3 จะต้องได้ยินเสียงรถยนต์มาลงของลงสินค้าเตรียมวางขายในตอนเช้ามืด แล้วตี 4-6 โมงมีคนเดินเลือกซื้อของขวักไขว่ หน้าร้านค้าแต่ละร้านมอเตอร์ไซค์จักรยานจอดเต็มไปหมด

เป็นภาพที่ประจักษณ์แก่สายตาผู้เขียน เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา อะไรเป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจฐานรากแย่ลงทุกวันๆ
1386598844-2048066e6g-o-1-1 เมื่อถามถึงการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากให้ถึงวันที่ 24 มีนาคม 2562 เร็วๆ เพราะตั้งความหวังว่ารัฐบาลหลังเลือกตั้งจะสามารถฟื้นเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นมากกว่านี้ เพียงแต่วันนี้ ยังงวยๆงงๆ กับกติกาใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงกติกามากมาย ภายใต้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม

แม้สมาชิกสภาแทนราษฎรหรือส.ส. ยังมี 2 ระบบเช่นเดิมคือ แบบบัญชีรายชื่อ และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่บัตรเลือกตั้งกลับหดเหลือใบเดียว จนเกิดการขนานนามกันว่าเป็นการ “เลือก 1 ได้ถึง 3” และยากจะคาดเดา “รูปแบบการตัดสินใจ” ของประชาชนว่าอยู่บนพื้นฐานเลือกตัวผู้สมัคร ส.ส. เขตที่รัก หรือเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ

หรือเลือกจากราศี-บารมีของบรรดา “นายกฯ ในบัญชี” ที่พรรคต่าง ๆ ภูมิใจนำเสนอ

[caption id="attachment_393385" align="aligncenter" width="500"] ปฏิกิริยา : ท่านกกต.ที่เคารพ คนไทยยังสับสน เลือกตั้ง 62  อ่อนประชาสัมพันธ์ไปมั้ย..? เพิ่มเพื่อน [/caption]

นอกจากนี้ “รูปแบบบัตรเลือกตั้ง” ยังเปลี่ยนแปลง แม้ผู้สมัคร ส.ส. มาจากต้นสังกัดเดียวกัน อยู่ในจังหวัดเดียวกัน แต่เพียงข้ามเขตเลือกตั้งไป พวกเขาก็จะกลายเป็นเพื่อนร่วมพรรคที่ลงสนามเลือกตั้งด้วยหมายเลขแตกต่างกัน พรรคการเมืองจึงไม่อาจใช้แผนรณรงค์เดิม ๆ ที่ว่าเลือก พรรค ก. กาเบอร์ 0 ทั้งประเทศ ด้วยเพราะกฎหมายกำหนดให้มีการสมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตก่อน และจับสลากหมายเลข ส.ส. เขตก่อน พรรคการเมืองถึงจะยื่นบัญชีผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อได้ เรียกว่ามี “350 เขต ก็มีบัตรเลือกตั้ง 350 แบบ”

ตรงนี้พอจะเข้าใจว่าทำไมผู้คนระบุตรงกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนสับสนและงวยงงที่สุด

ทำไมประชาชนสับสน เกิดจากสังคมไทยว่างเว้นจากบรรยากาศหย่อนบัตรลงคะแนนเลือกผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เข้าทำหน้าที่ในสภา มานานเกือบ 8 ปี หรือเกิดจากการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจการเลือกตั้งแบบใหม่ ยังทำได้ไม่ดีพอ

ข้อสังเกตุนี้ ต้องถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) นี่ก็ใกล้เลือกตั้งเข้ามาทุกวัน ยังไม่เห็นการประชาสัมพันธ์หรือแนะนำการเข้าคูหา แบบให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายๆเลย งบประชาสัมพันธ์ก็มีไม่น้อย

ไม่ทราบท่านนำไปใช้อย่างไร
a9504d8982b524a41942cc04072dc048
อีกไม่กี่วัน การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในรอบ 8 ปีจะเกิดขึ้น โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ทั่วประเทศไทยมี “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” ประมาณ 51 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะได้เลือกตั้งครั้งแรกราว7-8 ล้านคน วัยทำงาน 34 ล้านคน และผู้สูงอายุอีก 9 ล้านคน ทั้งหมดคือคนที่จะออกไปลงคะแนนเสียงเลือก ส.ส. 500 คน

ยิ่งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงที่ยังไม่เคยใช้สิทธิ์ หรือจะได้ใช้สิทธิ์เป็นครั้งแรก เกือบ8 ล้านคน พวกเขาพูดถึงการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าอย่างไร น่าสนใจมากครับ

“รบกวนอธิบายการเลือกตั้งปี2562 ให้ฟังหน่อยครับ คือไม่เคยเลือกตั้งเลย แล้วยังงงๆ การแบ่งเขตคืออะไร ส.ส. กี่คน แล้วเลือกพรรคเลือกคน บัตรเลือกตั้งใบเดียว อะไรงงไปหมด แล้วทำยังไงถึงจะให้คนนี้เป็นนายกฯได้ มีใครช่วยอธิบายแบบง่ายๆให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ ลองหาอ่านแล้ว แต่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่”

คนรุ่นใหม่ยังงุนงงขนาดนี้ แล้วประชาชนคนทั่วไปและชาวบ้านตาสีตาสาสิครับว่า เคยหย่อนบัตร 2 ใบ แล้วต้องเปลี่ยนมาใบเดียว จะต้องกากี่เบอร์ในใบเดียว โอกาสบัตรเสียน่าจะมากมั้ย

แม้ว่าจะดูประหยัดงบประมาณกระดาษหย่อนบัตร แต่มันจะคุ้มมั้ยกับบัตรเสียมั้ยครับ.

สุดท้ายท้ายสุด ผู้เขียนขอเรียกร้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ออกมาใช้สิทธิกันให้มากที่สุดเกิน 90 %ไ ด้ยิ่งดี เพราะจะเป็นการชี้ชะตาอนาคตประเทศไทยว่าจะเดินไปอย่างไร

มีความหมายอย่างยิ่งครับ

|คอลัมน์ : ปฏิกิริยา
| โดย : ชิษณุชา เรืองศิริ
| ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

*** พบกับคอลัมน์ปฏิกิริยา อัพเดทประเด็นร้อนได้ทุกวันจันทร์
595959859