เปิดมุมคิดนักธุรกิจสายศิลป์ สานต่อโอกาสทาง ’ดนตรี’

23 ก.พ. 2562 | 04:29 น.
คนแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่าง โดยเฉพาะครูผู้สอน จะมีทั้งความรู้สึกของความเป็นครู และความเป็นศิลปินในตัวเอง เขาชอบแบบไหน สไตล์ไหน เราก็ต้องปรับเข้าหาเขา เพื่อให้เข้าถึง

[caption id="attachment_393476" align="aligncenter" width="310"] ???????????????????????????????????? ณัฐตชา จันทกลัด[/caption]

‘โอกาส’ ของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน แต่เมื่อได้โอกาสมาแล้ว จะสามารถนำมาต่อยอด สร้างเป็นโอกาสใหม่ๆ ขึ้นมาอีกได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ และศักยภาพของแต่ละคน

“ณัฐตชา จันทกลัด” หรือ “น้องเบีย” เจ้าของโรงเรียนดนตรียามาฮ่า สุพรรณบุรี สาวสวยหน้าหวาน คนนี้ เล่าว่า จากโอกาสที่ได้เข้ามาเรียนร้องเพลงโรงเรียนดนตรียามาฮ่า ของสถาบันดนตรียามาฮ่า (สยามกลการ) เพราะความเป็นคนชอบร้อง ชอบเต้น ตั้งแต่เด็ก นับจากวันนั้น “ดนตรี” ก็สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เธอมาตลอด

การได้เข้ามาเรียนดนตรี ทำให้ “เบีย” ได้มีโอกาสไปร้องรำทำเพลง ได้ขึ้นเวทีประกวดร้องเพลงตามงานต่างๆ รวมทั้งช่วยกิจกรรมโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณที่เธอเรียนอยู่ จนครูเลือกให้เธอเป็นผู้ได้รับทุนเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยระหว่างที่เรียนในมหาวิทยาลัย เธอก็ยังกลับมาช่วยสอนน้องๆ ที่โรงเรียนดนตรียามาฮ่าเสมอๆ จนกระทั่งเรียนจบ ก็ยังกลับมาทำงานเป็นฝ่ายธุรกิจของโรงเรียน
BB41 โอกาสได้วนเวียนกลับมาอีกครั้ง แบบเหมาะเจาะกับความต้องการที่ อยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เมื่อ วิศน์กานต์ ขุนสุวรรณ หรือมามี้ ผู้บริหารสถาบันดนตรียามาฮ่าที่ เธอเคารพ เปิดโอกาสให้ได้เข้ามาร่วมลงทุ นและบริหาร โรงเรียนดนตรียามาฮ่า สุพรรณบุรี มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร เมื่อปลายปี 2559  โดยโรงเรียนดนตรียามาฮ่า สุพรรณบุรี เป็น 1 ใน 90 สาขาของสถาบันดนตรียามาฮ่า (สยามกลการ)

“เบีย” เล่าว่า คนสุพรรณส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร และมองเรื่องของดนตรี เป็นแค่การร้องเล่นเต้นรำ ซึ่งจริงๆ แล้ว ดนตรี สามารถสร้างประโยชน์ รวมทั้งบำบัดผู้ป่วยได้ หากมีการนำมาใช้อย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น การจะทำให้คนสุพรรณยอมส่งลูกหลานมาเรียนดนตรีได้ การสื่อสารกับกับผู้ปกครองเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ พูดคุยเล่าประสบการณ์ ตรงจากโอกาสที่เธอได้รับ เพราะความชื่นชอบดนตรี รวมทั้งสื่อสารผ่านโซเชี่ยลมีเดีย พูดคุยสร้างความสัมพันธ์ และความไว้วางใจ มาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน โรงเรียนของเธอมีนักเรียนราว 300 คน มีวิชาเรียน ทั้ง เปียโน กีต้าร์ ไวโอลิน กลอง อิเลคโทน ร้องเพลง และยังมีวิชาเสริมอื่นๆ เช่น บัลเล่ต์ เต้น รำไทย

ความท้าทายในการบริหารโรงเรียนดนตรีแห่งนี้ ไม่ได้จบอยู่แค่การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง แต่การแข่งขันในตลาดนี้ ก็มีสีสันพอสมควร จากบรรดาครูสอนดนตรีที่มีทั้งรับสอนเป็นรายบุคคล และรับสอนตามบ้าน โดยกำหนดราคาการเรียนการสอนที่ ต่ำกว่าโรงเรียนฯ การแก้ไขปัญหาตรงนี้ ก็คือ การนำเสนอให้เห็นมาตรฐานและสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากโรงเรียนดนตรียามาฮ่า ที่นอกจากจะมีใบรับรอง ที่สามารถนไปใช้สมัครเรียนต่อได้แล้ว น้องๆ ที่มีความสามารถ ยังมีเวทีดนตรีระดับประเทศอย่าง Yamaha Thailand Music Festival รองรับ รวมทั้งกิจกรรมงานดนตรีต่างๆ ที่จะเป็นเวทีที่ดีให้เด็กๆ ได้แสดงความสามารถ

[caption id="attachment_393478" align="aligncenter" width="335"] ???????????????????????????????????? ????????????????????????????????????[/caption]

ในวันนี้ โรงเรียนดนตรียามาฮ่า ของ “เบีย” กำลังเดินหน้าด้วยการลงลุยบริหารงานทุกๆ ส่วนด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรรครูผู้สอน การคัดเลือกและพัฒนาบุคลากร ด้วยหลักคิดที่ว่า ต้องมีความเข้าใจทุกๆ คน ซึ่งได้จากการพูดคุย การลงไปสัมผัสด้วยตัวเอง เพราะคนแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่าง โดยเฉพาะครูผู้สอน จะมีทั้งความรู้สึกของความเป็นครู และความเป็นศิลปินในตัวเอง

“เขาชอบแบบไหน สไตล์ไหน เราก็ต้องปรับเข้าหาเขา เพื่อให้เข้าถึง การที่เราเข้าใจเขา มันจะทำให้ทะลุได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะครู หรือลูกค้า ต้องสานสัมพันธ์ คุยกันเหมือนญาติ และต้องดูแลพวกเขาไปพร้อมๆ กัน”

“เบีย” บอกว่า ตั้งแต่ทำโรงเรียนดนตรียามาฮ่า ยังไม่เคยเจออุปสรรคอะไรที่รุนแรง แต่ผู้บริหารสถาบันดนตรียามาฮ่า “วิศน์กานต์” ก็สอนเธอเสมอว่า ต้องเตรียมพร้อมไว้เสมอ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเมื่อไร จะได้ไม่สะดุด และตั้งตัวทัน โดยเป้าหมายของเธอ ก็คือ การพัฒนาโรงเรียนไปเรื่อยๆ และมองว่า อีกราว 3 ปีหลังจากนี้ หากเศรษฐกิจดีขึ้น ก็มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มเติม รวมไปถึงการมองธุรกิจใหม่ๆ ต่อไป

595959859-10-503x60