ส่งออกไทยประเดิม ม.ค.ติดลบ 5.6%

22 ก.พ. 2562 | 06:22 น.
ส่งออกไทยประเดิม ม.ค.ติดลบ 5.6%จากผลกระทบสงครามการค้า-ราคาน้ำมัน-ค่าบาท
พาณิชย์ ชี้สงครามการค้า บาทแข็ง กระทบ ส่งออกเดือนมกราคม ติดลบ5.6% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 พร้อมระบุ หลังการเลือกตั้งเดือน มี.ค. มีโอกาสเห็นค่าเงินบาทหลุด 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผย การส่งออกสินค้าไทยเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 18,993 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 5.65% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า / ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงจาก 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลมาอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล การส่งออกทองคำและการส่งออกรถยนต์ติดลบ รวมถึง ค่าเงินบาทที่แข็งค่าโดยในเดือนมกราคมค่าเงินบาทอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ยอมรับว่าเงินบาทที่เเข็งค่าอยู่ในขณะนี้มีผลกระทบต่อสินค้าเกษตรที่ส่งออกลดลง สำหรับปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้คือราคาน้ำมันหากราคาน้ำมันลดลงจะมีผลกับการส่งออกของไทยด้วย นอกเหนือจากค่าบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นไปอีกซึ่งจะส่งผลต่อภาคการเกษตรของไทยเพราะถ้าค่าเงินหายไป1-2บาทส่งผลต่อเกษตรกรแน่นอนซึ่งเป็นปัจจัยที่น่ากังวล ส่วนอุตสาหกรรมอื่นคิดว่าผู้ประกอบการน่าจะหาทางออกได้และไม่น่าจะส่งผลกระทบมาก แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

 

[caption id="attachment_392996" align="aligncenter" width="503"] พิมพ์ชนก วอนขอพร พิมพ์ชนก วอนขอพร[/caption]

“สนค.มองว่าการส่งออกทั้งปียังคงผันผวน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาพรวมแต่ทั้งนี้หากส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐการส่งออกทั้งปีจะเติบโต 8 % แต่หากส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 22,374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกจะเติบโต 5 % และหากส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 21,915 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกปี 2562 จะเติบโต 3% ซึ่งในไตรมาสแรกของปีนี้ตัวเลขภาพรวมน่าจะออกมาไม่สวยงามเท่าไหร่ ทั้งนี้ต้องรอดูผลการตกลงFTAของประเทศคู่แข่งด้วยว่าจะมีผลกับการแข่งขันของไทยแค่ไหน”

นอกจากนี้ สนค.ยังมองว่าหลังมีการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 คาดว่าค่าเงินบาทไทยยังมีโอกาสที่จะแข็งค่าหลุด 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้โอกาสนี้ที่ค่าเงินไทยแข็งค่าซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจากต่างประเทศ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ รวมถึงการทำประกันความเสี่ยงสำหรับการส่งออกสินค้า ส่วนการนำเข้าเดือนมกราคมมีมูลค่า 23,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้การค้าขาดดุล 4,032 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการขาดดุลในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 2556

ส่วนตลาดส่งออกสำคัญมีการปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอตัว โดยตลาดที่ยังขยายตัวได้ดีประกอบด้วย ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัว 8.3 % สินค้าสำคัญที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องจักรกล เป็นต้น ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัว 0.9 % สินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ขณะที่เครื่องจักรกล และไก่แปรรูป ขยายตัวในระดับ 2 หลัก สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัน ตลาด CLMV ขยายตัว 0.6% สินค้าสำคัญที่ขยายตัวในระดับสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบฯ และอัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี

12345

สำหรับตลาดที่หดตัว เช่น ตลาดสหภาพยุโรป (15) หดตัว4.8% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ รถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลฯ สินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องปรับอากาศ และแผงวงจร ยังมีแนวโน้มขยายตัวดี ตลาดจีน หดตัว16.7% สินค้าที่หดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่หดตัวจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม และยางพาราที่มีปัญหาด้านอุปทานส่วนเกิน สินค้าสำคัญอื่นๆ ที่หดตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขณะที่ ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูปฯ และเม็ดพลาสติก ยังขยายตัวได้ดี ตลาดอาเซียน-5 หดตัว 7.4% สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า โดยเฉพาะข้าวที่ขยายตัวถึงร้อยละ 39.0 ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ ตลาดเอเชียใต้ หดตัว3.4 % โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ รถยนต์และส่วนประกอบฯ และเครื่องจักรกล ด้านสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ นาฬิกาและส่วนประกอบที่มีการขยายตัวสูงมาก เครื่องปรับอากาศฯ เครื่องยนต์สันดาปฯ และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีฯ เป็นต้น

ตลาดลาตินอเมริกา หดตัว5.2% สินค้าสำคัญที่หดตัวนำโดย รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปฯ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลฯ ด้านสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ และเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ฯ เป็นต้นตลาดตะวันออกกลาง หดตัว 8.3 % สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และตู้เย็นฯ ขณะที่สินค้ารถยนต์ และผลิตภัณฑ์ยาง กลับมาขยายตัวในเดือนนี้ สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัว 6.5 % สินค้าสำคัญที่ยังหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบฯ ตลาดรัสเซีย และกลุ่มประเทศ CIS หดตัว 2.5 % สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องฯ เครื่องจักรกล และเม็ดพลาสติก ด้านสินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบฯ ข้าว เครื่องปรับอากาศฯ และตู้เย็นและส่วนประกอบฯ เป็นต้น

สำหรับแนวทางการผลักดันการส่งออกในปี 2562 ให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้นต้องปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละตลาด ในภาพรวมการส่งออกสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้สูงวัย สินค้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สัตว์เลี้ยง สินค้าและบริการด้านสุขภาพ (Wellness) รวมถึงภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องไม่ว่าจะเป็น โลจิสติกส์ มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง สินค้าเกษตรและสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เน้นคุณภาพและมาตรฐานยังทำตลาดได้ดี ขณะที่ตลาดจีนและอินเดียจำเป็นต้องวิเคราะห์ศักยภาพ รายมณฑล/รัฐ ใช้กลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมทั้งการตั้ง Special Taskforce เจาะตลาดแอฟริกาเชิงลึก เป็นต้น
“ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่ยังคงกดดันบรรยากาศการค้าการลงทุนโลก โดยประกาศทางการของทั้งสองฝ่ายระบุว่าการเจรจาเป็นไปในทิศทางที่ดี มีการบรรลุหลักการในประเด็นสำคัญ โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีติดตามความคืบหน้าการเจรจาอีกครั้งในวันที่ 21 - 22 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ กรุงวอชิงตัน ดีซี ทั้งนี้ หลายฝ่ายคาดว่าทั้งสองประเทศจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) ระหว่างกันภายหลังการเจรจา และมีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ อาจยืดเวลาการขึ้นภาษี 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออกไปจากกำหนดเดิมในวันที่ 1 มีนาคม 2562” ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว