เสวนาใหญ่ "มหันตภัย ... คอร์รัปชันยุค 4.0" ... 'วิชา' ปลุกสังคมตื่นรู้ล้างบางขี้ฉ้อ

21 ก.พ. 2562 | 11:49 น.
act9
สมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชันฯ จัดเสวนาใหญ่ "มหันตภัย ... คอร์รัปชั่นยุค 4.0" ... 'วิชา' ปลุกสังคมตื่นรู้ล้างบางขี้ฉ้อ แนะดูนโยบายพรรคการเมือง ก่อนกาบัตร




act5

วันที่ 21 ก.พ. 2562 อาคารพุทธวิชชาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร สมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โดย ดร.เอกชัย เหลืองสอาด นายกสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชันฯ ได้จัดเสวนาวิชาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในหัวข้อ "มหันตภัย ... คอร์รัปชันยุค 4.0" โดยมี พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานเสวนา พร้อมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริต นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พล.อ.ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เลขาธิการสมาคมภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล เป็นต้น


act6

โดย พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ ประธานภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลแห่งชาติ กล่าวเปิดการเสวนาว่า ต้องขอชื่นชมสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชันฯ และมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร ที่เห็นถึงความสำคัญในการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต ถือได้ว่าเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ให้ตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตที่สร้างความเสียหายให้กับสังคมและประเทศชาติ ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ระบุไว้ว่า เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ต้องไม่ร่วมมือ หรือ สนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ การทุจริตจะลดน้อยลงได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน โดยเริ่มจากตัวเรา ผู้ใหญ่จึงควรเป็นแบบอย่างที่ดี ปลุกจิตสำนึกการไม่ทุจริต สร้างค่านิยมการสุจริต ความซื่อสัตย์ และรู้จักหน้าที่ของตนเอง รวมถึงการมีส่วนร่วมของสังคม ก่อนที่จะไปสร้างเครือข่ายร่วมกันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันต่อไป


act

ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานมูลนิธิต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวปาฐกถาเรื่อง มหันตภัย ... คอร์รัปชันกับอนาคตไทยยุคเปลี่ยนผ่าน มีความตอนหนึ่งว่า ประเทศไทยไม่เคยสอบผ่านในการจัดลำดับความโปร่งใส่ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ โดยคะแนนปีที่ผ่านมา ไทยเราแพ้ประเทศอินโดนีเซีย เพราะอินโดนีเซียมี 38 คะแนน ส่วนไทยได้ 36 คะแนน เท่ากับฟิลิปปินส์ และยังมีเวียดนามตามมาติด ๆ ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขการคอร์รัปชันอย่างจริงจัง และสิ่งที่น่าเป็นห่วง นั่นก็คือ ผู้ที่ครองอำนาจมักจะแสวงหาอำนาจ และทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง


act1

"ช่วงนี้จะมีการเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะจะมีการเลือกตั้ง เราจึงต้องจับตาดูนโยบายของพรรคการเมืองต่าง ๆ ว่า สามารถป้องกันการทุจริตได้หรือไม่ และเล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ทำงานเพื่อประเทศชาติประชาชนหรือไม่ เพราะปัญหาทุจริตทั่วโลกเกิดขึ้นจากการเข้าสู่อำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พร้อมเรียกร้องให้สังคมร่วมต่อต้านการทุจริตด้วยการไม่นิ่งเฉย โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาคนรุนใหม่ที่จะขึ้นมาบริหารขับเคลื่อนบ้านเมืองในอนาคต ต้องไม่อดทนต่อคนโกง และต้องร่วมกันต่อต้านทุกรูปแบบ" ศ.พิเศษ วิชา กล่าว


act2

นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวว่า ตนได้ฉายามือปราบโกงรัฐสภา ล่าสุด เพิ่งจับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และเลขานุการรัฐมนตรีเข้าคุก ซึ่งมีการติดตามข้อมูลการทุจริตโครงการจัดซื้อปุ๋ยปลอม ตั้งแต่ปี 2545 ใช้เวลาสู้คดีนานถึง 16 ปี และศาลเพิ่งตัดสินจำคุกอดีตรัฐมนตรีคนดังกล่าวในปี 2561 ที่ผ่านมา

"ขณะนี้ ประเทศกำลังจะได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาจากการเลือกตั้ง สิ่งที่สำคัญ เราต้องได้การเมืองสีขาวและจะสำเร็จได้อยู่ที่ประชาชน หากประชาชนเลือกคนดีมีความสามารถมาเป็นผู้แทน ได้สภาที่ดี ได้รัฐบาลที่ดี ดั่งพระราชดำรัสของ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราโชวาทไว้ว่า เราไม่สามารถทำให้คนดีเหมือนกันหมด แต่เราต้องส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง และขจัดคนไม่ดีไม่ให้เข้าสู่อำนาจ" นายอลงกรณ์ กล่าว


act4

ด้าน พล.อ.ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เลขาธิการสมาคมภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล กล่าวว่า หากรัฐบาลบริหารบ้านเมืองด้วยหลักธรรมาภิบาล 6 ประการ อันประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า เชื่อว่า การทุจริตจะไม่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องเพิ่มหลักความเกรงใจ เห็นได้จากข้าราชการต้องติดคุก เพราะเกรงใจนักการเมือง ส่วนนักการเมืองโกงเสร็จแล้วหนีไปหมด ดังนั้น เราจึงควรเกรงใจในสิ่งที่ต้องเกรงใจ และไม่ควรเกรงใจนักการเมืองที่มีส่วนในการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเด็ดขาด


act7

ติดตามฐาน