ทุนญี่ปุ่นมุ่งหน้าสู่อีอีซี ผลสำรวจชี้กว่าครึ่งสนใจลงทุน ทั้งขยายฐานผลิตและสร้างธุรกิจใหม่

20 ก.พ. 2562 | 10:25 น.
องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ได้ทำการสำรวจความสนใจลงทุนเพิ่มเติมในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยสอบถามบริษัทญี่ปุ่นในไทยจำนวน 213 บริษัท พบว่า บริษัทญี่ปุ่นกว่าครึ่ง (57%) หรือ 122 บริษัทที่ตอบคำถามการสำรวจ แสดงความสนใจที่จะลงทุนในอีอีซี ขณะที่ 33% หรือ 69 บริษัทยังไม่สนใจจะลงทุน

ทั้งนี้ บริษัทที่สนใจลงทุนส่วนใหญ่มีเป้าหมายต้องการ “ขยายฐานการผลิต” เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือเพื่อ “สร้างธุรกิจใหม่” เพื่อ “พัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่” และเพื่อ “ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่” ตามลำดับ

ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของญี่ปุ่น ยังคงมองว่าการพัฒนาสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นเรื่องไกลตัว อย่างไรก็ตาม มีบริษัทญี่ปุ่น 50 รายจาก 122 รายที่แสดงความสนใจจะลงทุนในอีอีซี ให้ความสนใจลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต และรองลงมาเป็นอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

การสำรวจยังประมวลภาพสิ่งที่บริษัทญี่ปุ่นคาดหวังจากรัฐบาลไทยเอาไว้ สรุปได้ดังนี้ คือ 1. ความต่อเนื่องของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแผนที่วางไว้ 2. การเผยแพร่ข้อมูลที่ชัดเจนในด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน 3. จำนวนบุคลากรที่ประเทศไทยมีสำหรับการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต 4. ความต้องการวิศวกรด้านเทคโนโลยีและบุคลากรด้านการบริหารจัดการ และ 5. การปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ

[caption id="attachment_392220" align="aligncenter" width="503"] นายฮิโรคิ มิทสึมะตะ ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ นายเคนสุเกะ ไซโตะ ผู้อำนวยการ สำนักอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและวัสดุอากาศยาน กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) พร้อมคณะนักธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการบินจากประเทศญี่ปุ่น 30 ราย เดินทางมาประเทศไทยเพื่อรับฟังนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน และโลจิสติกส์ของประเทศไทย รวมถึงศึกษาลู่ทางการลงทุน นายฮิโรคิ มิทสึมะตะ ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ นายเคนสุเกะ ไซโตะ ผู้อำนวยการ สำนักอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและวัสดุอากาศยาน กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) พร้อมคณะนักธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการบินจากประเทศญี่ปุ่น 30 ราย เดินทางมาประเทศไทยเพื่อรับฟังนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน และโลจิสติกส์ของประเทศไทย รวมถึงศึกษาลู่ทางการลงทุน[/caption]

ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11- 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) นำโดยนายฮิโรคิ มิทสึมะตะ ประธานเจโทร กรุงเทพฯ ก็ได้นำนักลงทุนญี่ปุ่น 33 ราย 29 บริษัทมาเยือนไทยเพื่อรับฟังนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการบิน โลจิสติกส์ และศึกษาลู่ทางการลงทุนในพื้นที่อีอีซี สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจและความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย และเป็นผลสืบเนื่องจากการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับเจโทร กรุงเทพฯ เมื่อเดือนตุลาคม 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมอากาศยาน

[caption id="attachment_392223" align="aligncenter" width="503"] ขอบคุณภาพจากเจโทร กรุงเทพฯ ขอบคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ)[/caption]

สำหรับความร่วมมือไทยและญี่ปุ่นนั้น มีความใกล้ชิดกันมายาวนาน ที่ผ่านมาทิศทางความเชื่อมั่นและเม็ดเงินการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการบินและโลจิสติกส์ (Logistics) สาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Smart automation) และสาขาการแพทย์สมัยใหม่ (New Regenerative medicine) ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อปี 2560 ถึงกันยายน 2561 ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นผู้ลงทุนอันดับ 1 ในพื้นที่อีอีซี ด้วยมูลค่าการลงทุน 109,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 46% ของการลงทุนในพื้นที่อีอีซีทั้งหมด

และหากกล่าวเฉพาะเจาะจงถึงอุตสาหกรรมการบินจะพบว่า ประเทศญี่ปุ่นมีบริษัทที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างมาก เช่น Mitsubishi Regional Jet (MRJ) ผู้ผลิตเครื่องบินเจ็ทขนาด 70-80 ที่นั่งรายแรกของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับแรงงานไทย

595959859

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503