18 ก.พ. กองทัพชาวนานับร้อยหนุนร่างกฎหมายข้าว

17 ก.พ. 2562 | 05:04 น.
18 ก.พ. 62 'ระวี' มาแล้ว! นำทัพชาวนานับร้อยบุกรัฐสภา ควง สนช. ตั้งโต๊ะแถลงหนุนกฎหมายข้าว ฟันพ่อค้าเอาเปรียบ โกงตาชั่ง กดความชื้น ชี้! ทำให้ฐานะยากจนข้นแค้น อัดคนขวางเอาเปรียบจนเคยชิน เผยร่างฯ นี้ ทำให้มีส่วนร่วม ทั้งตำแหน่งนั่งใน นบข.-คณะอนุต่าง ๆ เผย ที่ผ่านมามีแต่กันให้อยู่วงนอก ด้าน 'ประสิทธิ์' โบกมือลาเปลี่ยนข้าง จี้เคลียร์ชัดร่างกฎหมาย

kk2


นายระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมการค้าเครือข่ายชาวนาไทยและเลขานุการคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"
ว่า ร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. .... เห็นด้วยและสนับสนุนเต็มที่ที่คณะกรรมาธิการฯ จะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาผ่านวาระ 2 และวาระ 3 ซึ่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.พ. 2562 จะไปที่รัฐสภา พร้อมกับแถลงข่าวด้วย ซึ่งจะมีชาวนาจะเดินทางมาทั้ง 4 ภาค ก็คือ ศูนย์ข้าวชุมชนและสมาคมชาวนาฯ ทั่วประเทศ ไม่อยากให้ยุ่งยาก ก็จะมากันแค่กว่า 100 คน โดยนั่งรถตู้ 13-14 คัน ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตะวันออก กลาง และตะวันตก

hammer-802298_1920

"จริง ๆ แล้ว ต้องการมีกฎหมายข้าว ทางเครือข่ายได้ร่วมกันร่างฯ มาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้งของศูนย์ข้าวชุมชนทุกปีก็มีความประสงค์ต้องการให้มีกฎหมายข้าว ดังนั้น ทางศูนย์ฯ เป็นคนผลักดันไปทาง สนช. กันเอง ผมตั้้งคำถามว่า พ.ร.บ.ข้าว พ.ศ. .... ชาวนาไม่เคยมีใช่หรือไม่ 2.มีผลดี แต่ไม่ดีทีสุดเท่าที่เราต้องการ แต่ก็ดีแล้ว คือ ก้าวหน้า กล่าวคือ 1.ชาวนาจะมีส่วนร่วมในคณะกรรมการทุกระดับ ตั้งแต่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) คลอดจนคณะอนุฯ ต่าง ๆ ในการคิดวางแผน 2."ข้าว" กรมการข้าวจะต้องเป็นผู้ดูแล จะต้องเป็นเจ้าภาพหลัก เพราะเดิมไม่มี จะเป็นลักษณะเดียวกับกฎหมายยางพารา ที่มีการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ดูแล แต่อาจะมีจุดอ่อนอยู่หลายเรื่อง ก็คือ 1.การมีส่วนร่วมของชาวนาจริง ๆ เสนอไปในคณะกรรมการขอแบบครึ่งหนี่งได้หรือไหม แต่ปรากฎว่า ข้าราชการมากกว่า แต่เมื่อได้แค่ 4 คน ก็ยังดีกว่า! เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีเลย"

➣ ร่างกฎหมายไม่ได้ทุกอย่าง แต่มองเห็นอนาคต

 

201610281944054-20041019171656-copy-503x377

นายระวี กล่าวว่า ร่างกฎหมายยอมรับว่า บางครั้งไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่ก็ต้องยอม อาทิ 1.กองทุนข้าวและชาวนา แต่ว่า สนช. ก็บอกว่า ให้อยู่ในคณะอนุฯ ที่อยู่ในร่างกฎหมายข้าวนี้ สามารถที่จะกำหนดและพัฒนาในอนาคตได้ ผมมองว่า พ.ร.บ.นี้ มีความสำคัญอยู่ 2 มาตรา ได้แก่ เรื่องที่มาของคณะกรรมการ ก็คือ เรื่อง นบข. ที่ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ. แต่กฎหมายจะบัญญัติไว้ชัดเจน 2.ที่มาของคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการและพ่อค้า แต่ชาวนาไม่มีเลย ก็พยายามเรียกร้องให้ชาวนาเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ แต่ใน พ.ร.บ.นี้ มีถึง 4 คน องค์กรเข้าไป แม้ว่าเราขอไปกึ่งหนึ่งในคณะ เพราะจะให้เป็นกฎหมายข้าวของชาวนาจริง

➣ เมินโรงสีรับซื้อข้าวผลิตเองขายเองก็ได้

 

ชาวนา-503x336

"มาตรา 12 เรื่องอำนาจหน้าที่ของคณะอำนาจกรรมการชุดใหญ่ จะมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะอนุกรรการในชุดต่าง ๆ กำหนดแผนยุทธศาตร์ แผนงานพัฒนาข้าว แต่ผู้ค้าไม่กล้าเล่นประเด็นนี้ กลับไปเล่นเรื่องเมล็ดพันธุ์ เรื่องมาตรา 27 เป็นเรื่องเล็ก ๆ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เล่นจนปั่นกระแสทั่วไป ถ้าไม่ลุกมาต่อต้าน มาชี้แจง ไม่ลุกมาสู้ สุดท้ายรัฐบาลจะแหยง! ผมถามว่า โรงสีไปตั้งการ์ดทำไม มาปั่นกระแสว่า พ.ร.บ.ข้าว ที่จะจับชาวนาจะติดคุกปรับ 1 แสน โรงสีวางยาหรือไม่ ชาวนาไม่เคยพูด พอเห็นว่า ไปไม่ได้จะมากำหนดเงื่อนไขโน่นนี่ในการรับซื้อข้าวเปลือก คุณไม่ได้ข้าวก็เรื่องของคุณ เพราะชาวนาดิ้นรนตั้งกลุ่มอยากขายเอง ผลิตเองอยู่แล้ว"

➣ ไม่อยากเป็นลูกแกะในฝูงหมาป่า

นายระวี กล่าวว่า ผมก็ทะเลาะกับเขามาโดยตลอดนั้นแหละ ตั้งแต่ยังไม่เป็นนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ตั้งแต่ปี 2559 ส่วนงาน "ทีดีอาร์ไอ" จัดเมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา วันนั้นก็เชิญผมด้วย พร้อมพ่อค้า โรงสี มาค้าน ซึ่งผมเห็นว่ามีผมคนเดียวที่เห็นด้วย ผมก็เลยบอกอาจารย์ ว่า ผมไม่อยากเป็น "ลูกแกะในฝูงหมาป่า" ก็เลยไม่ไป ถ้า พ.ร.บ.นี้ มันไม่ผ่าน หรือว่า กลุ่มทุนค้าน ผมก็สู้สุดฤทธิ์! ไม่ถอย! ร่างกฎหมายข้าวนี้ในอดีตไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะมีกลุ่มทุนค้านมาโดยตลอด ไม่อยากให้เกิด สรุปก็คือ เห็นด้วยที่จะให้มีร่างกฎมายนี้เกิดขึ้น!

kk1

สอดคล้องกับ นายเสรี มัดต่อเห็ด เลขานุการสมาคมเครือข่ายชาวนาไทย กล่าวสนับสนุนร่างกฎหมายนี้ เพราะทางเครือข่ายเป็นคนร่างฯ ร่วมกับ สนช. ที่ข่าวออกมาบิดเบือนไปหมดเลย เรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าว ชาวนาเก็บไม่ได้จะติดคุก ไม่เป็นความจริง พวกโรงสี ส่งออก พ่อค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวเสียผลประโยชน์ เลยระดมข่าวเพื่อสร้างกระแสคว่ำไม่ให้ร่างกฎหมายนี้ผ่านสภา จะไปยื่นหนังสือสนับสนุนเพื่อให้กฎหมายนี้ผ่านสภาให้ได้

kk4

ขณะ นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมส่งเสริมชาวนาข้าวไทย กล่าวว่า ยอมรับว่า ในตอนแรกสนับสนุนให้กฎหมายเกิด ไม่ใช่เกิดมาแล้วทำให้ชาวนาเดือดร้อน เมื่อประเมินข่าวสารรอบด้านแล้ว ผมเห็นว่า ไม่ถูกต้อง แล้วการทำงานของ สนช. ทำให้เกิดปัญหาเละเทะ โดยเฉพาะเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว ทำไมถึงบังคับเอากฎหมายบีบให้กับชาวนาเดือดร้อน ก่อนหน้านี้เคยขอร่างกฎหมายก่อนที่ผ่านวาระ 1 เคยขอแล้วทางคณะก็ไม่เคยให้ ยังเคยเสนอร่างความคิดเห็นไปในขณะนั้น ก็ไม่ทราบทางคณะนำข้อคิดเสนอแนะมาแก้ไข หรือปรับให้ตามที่เคยเสนอหรือไม่ ก็ไม่เคยเรียกเข้าไปคุยเลย มองว่า หากมี "ลับ ลม คมใน" เกรงว่าจะไม่เข้าท่า แล้วทำให้ "ชาวนาเสียประโยชน์ในภายหลัง" ตอนนี้ยอมรับว่า เฉยไม่ได้ จะต้องค้าน หากไม่เป็นไปตามที่เคยถกหารือตั้งแต่ตอนแรก วันพรุ่งนี้จะไม่ไปร่วมสนับสนุนเด็ดขาด ตอนนี้เปลี่ยนข้างแล้ว

kk3

ด้าน นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะก่อให้เกิดมีปัญหาหนัก อาจจะทำให้ชาวนาต้องมาขายแถวริมถนนอีกหรือ แล้วหากโรงสีไม่ซื้อข้าวเปลือกจะทำอย่างไร ยอมรับว่ากลัว! ตั้งข้อแม้ว่าชาวนาจะขายข้าวต้องมีหลักฐานใบรับซื้อข้าวเปลือก แล้วต้องยอมรับเซ็นว่าต้องรับความชื้นข้าวเปลือก หากไม่ยอมรับ ก็ไปขายที่อื่น แล้วผมถามว่าจะไปขายใคร

conclusion-of-the-contract-3100563_1920

"หากกฎหมายนี้ออกมาอีก ผมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร อยากให้ชาวนาโง่ต่อไป หรืออยากให้เราไม่พัฒนาตัวเอง ไม่มีอนาคตที่จะร่ำรวย หรือไม่อยากให้หมดหนี้หรือ เพราะวันนี้ทางสมาคมต้องการสร้างชาวนาเป็นนักธุรกิจ อย่าคิดว่าเป็นแค่ชาวนาต้องลงทุนและต้องมีกำไร อย่าหวังพึ่งแต่คนอื่น ต้องพึ่งตนเอง ต้องพัฒนา ซึ่งกฎหมายนี้ทำให้ชาวนาถอยหลัง ใช้คำว่า "แลกเปลี่ยน" ผมถามว่า สมัยไหนแล้ว เพราะ "สมัยอยุธยา" ก็มีการซื้อขายกันแล้ว" นายสุเทพ กล่าวในตอนท้าย

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503