สนช. ขยายเวลาถก "กฎหมายข้าว" ... วงในจี้! ยึดโมเดล "ไอยูยู"

15 ก.พ. 2562 | 10:36 น.
สนช. ไฟเขียวขยายเวลาถกร่าง พ.ร.บ.ข้าว อีก 30 วัน เลียนโมเดล "ไอยูยูประมง" ตรวจสอบย้อนกลับคุมเข้มหลักฐานใบรับซื้อข้าวเปลือกสร้างความมั่นใจคู่ค้า ป้องชาวนาถูกเอาเปรียบ

ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ครั้งที่ 88/2561 เป็นพิเศษ (วันที่ 25 ธ.ค. 61) ได้ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ข้าว พ.ศ. .... ไว้พิจารณา โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติงานภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่ (สนช.) มีมติ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ล่าสุด วิป สนช. ได้ขอขยายเวลาพิจารณาครั้งที่ 1 ออกไปอีก 30 วัน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ต้องพิจารณาอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความรอบคอบ

ข้าว-2

แหล่งข่าวจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ข้าว พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีกลไกในการบริหารจัดการข้าว ทั้งด้านการผลิตและการตลาดที่สอดคล้องกันทั้งระบบ มีคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เป็นคณะกรรมการในระดับนโยบาย แล้วให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ คือ คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวด้านการผลิตและคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวด้านการตลาด อย่างไรก็ดี การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับพื้นที่นั้นถือมีส่วนสำคัญ

BB4A9988

ดังนั้น นบข. ควรแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามมาตรา 12(6) คือ คณะอนุกรรมการสำหรับบริหารจัดการพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อบริหารจัดการพื้นที่เฉพาะ ซึ่งได้รับประกาศรับรอง "สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" หรือ จีไอ อาทิ ข้าวหอมมะลิที่ปลูกได้เฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และภาคเหนือ 3 จังหวัด เป็นต้น

บทลงโทษข้าว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การออกใบรับซื้อข้าวเปลือกที่เป็นส่วนหนึ่งของร่าง พ.ร.บ. จะทำให้เกิดระบบการตรวจสอบย้อนกลับข้าวของไทย สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคและคู่ค้า เฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารปลอดภัยและประโยชน์ในการติดตามสถานการณ์การผลิตและความเคลื่อนไหวของข้าวได้ ป้องกันไม่ให้ชาวนาถูกเอาเปรียบ ดังนั้น รัฐบาลควรพิจารณา โดยยึดต้นแบบจากตัวอย่างการดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จมาแล้ว คือ การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู)

[caption id="attachment_389552" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

อนึ่ง ผลการดำเนินงานตามมาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติว่า "ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ในชั้นการพิจารณาเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้ดำเนินการตามมาตรา 77 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

1.จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นโดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฎิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2561 รวม 16 วัน โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 318 คน

7-4-503x345

2.จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัตข้าว พ.ศ. .... ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2561 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ผู้นำชาวนา เกษตรกรผู้ทำนา ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวน 1,000 คน รวมทั้งจัดทำเอกสารหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัต พร้อมทั้งจัดส่งแผนการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองของร่างพระราชบัญญัติข้าว พ.ศ. ....เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ชาวนา-503x336

สรุปผลการดำเนินงานได้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเชิญภาคประชาชน ทั้งจากผู้แทนชาวนา ศูนย์ข้าวชุมชน ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ผู้ประกอบการโรงสีข้าว และผู้ประกอบการส่งออกข้าว เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็นและข้อเสนอแนะต่าๆมาใช้ในการประกอบการพิจารณาในกระบวนการตราพระราชบัญญัตินี้ครบถ้วนแล้ว

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,444 วันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2562

ติดตามฐาน