‘เอไอเอส’ ยังรั้งเบอร์ 1 บริการเสียง-โมบายอินเตอร์เน็ต

16 ก.พ. 2562 | 07:50 น.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ได้กำหนด ตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยตามประกาศ กสทช. เรื่อง นิยามของตลาดและขอบเขตตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 11 ตลาด แบ่งเป็นตลาดค้าปลีกบริการจำนวน 5 ตลาด และ ตลาดค้าส่งบริการ 6 ตลาด โดยมีผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ (SMP) 3 ตลาด ได้แก่ (1) ตลาดบริการเชื่อมต่อโครงข่าย, โทรศัพท์ประจำที่เพื่อให้สามารถเรียกถึงจุดปลายทาง (2) ตลาดบริการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้สามารถเรียกถึงจุดปลายทาง และ (3) ตลาดบริการเข้าถึงบรอดแบนด์

m10-3445b

พร้อมกับเปิดเผยข้อมูลสภาพตลาดโทรคมนาคมในประเทศไทยในไตรมาส 3/2561 โดยแบ่งออกเป็นตลาดค้าส่ง
เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มีส่วนแบ่งการตลาด 48% รองลงมาคือ ทรูมูฟ เอช จำนวน 31% และ ดีแทค อยู่ที่ 23% ขณะที่การใช้งานโมบาย อินเตอร์เน็ต เอไอเอส มีผู้ใช้บริการมากที่สุดอยู่ที่ 46.4%, รองลงมาคือ ดีแทค จำนวน 30.2% และ ทรูมูฟ เอช อยู่ที่ 21.1%

สำหรับตลาดค้าปลีก ผู้ให้บริการเกตเวย์ อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตและดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น 17 ราย ซึ่งให้บริการทั้ง NIX และ IIG

ส่วนปริมาณแบนด์วิดธ์ที่ใช้เชื่อมต่อในการให้บริการเกตเวย์ อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2561 มีปริมาณแบนด์วิดธ์รวมทั้งหมด 2,191 Gbps เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 0.54%
โดยจำแนกการเชื่อมต่อผ่าน Landline มีปริมาณแบนด์วิดธ์รวม 1,738 Gbps ซึ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าคิดเป็น 0.59% ในขณะที่การเชื่อมต่อผ่านเคเบิลใต้นํ้า (submarine cable) มีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว คือ กสท มีปริมาณแบนด์วิดธ์รวม 453 Gbps เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย สำหรับส่วนแบ่งตลาดซึ่งคำนวณโดยปริมาณแบนด์วิดธ์ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2561 พบว่า CAT มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดที่ 26.99% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 0.11%

รายงาน โดย ไอที

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3445 ระหว่างวันที่ 17 - 20 กุมภาพันธ์ 2562

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว