วัดใจคณะกรรมการวัตถุอันตรายสั่ง"แบน"หรือไม่?

14 ก.พ. 2562 | 09:43 น.
91620

รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมว่ามีม็อบทั้งกลุ่มต้านและหนุนพาราควอตกดดันในระหว่างที่มีประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายฯ ว่าจะม่ีมติสั่งแบนหรือไมม่แบน? ฝ่ายต้านพาราควอต “ฐานเศรษฐกิจ” ได้สอบถามไปยังนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (เครือข่ายไทยแพน)ว่าทางเครือข่ายได้ยื่นหนังสือขอให้ควบคุมพาราควอตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4

91621

"ตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีวาระพิจารณาทบทวนมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเกี่ยวกับการ ควบคุมวัตถุอันตรายพาราควอตนั้น เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งเป็นเครือข่ายภาค ประชาชน 686 องค์กร ที่ได้ติดตามสถานการณ์เรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง มีข้อเรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายดำเนินการดังต่อไปนี้

S__24281102

“ พิจารณาควบคุมพาราควอตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ภายในเดือนธันวาคม 2562 ตามมติและ ข้อเสนอของ (1) กระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาสารเคมีกาจัดศัตรูพืชที่มี ความเสี่ยงสูง 2 สานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 3. คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน สาธารณสุข 4.คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5. ผู้ตรวจการ แผ่นดิน 6, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 7.สภาเกษตรกรแห่งชาติ 8. สภาเภสัชกรรม 9. แพทยสภา 10. เครือข่ายประชาคมวิชาการ 11.เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 12. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) และ 13.เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตราย ร้ายแรง 686 องค์กร

S__24281101

นางสาวปรกชล กล่าวอีกว่า  ให้กรรมการวัตถุอันตรายที่ลงมติทั้งหมดต้องแสดงตัวว่าไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช ได้รับค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์ในรูปอื่นใดจากบริษัทหรือสมาคมของบริษัทสารเคมีกาจัด ศัตรูพืช โดยกรรมการผู้ที่มีส่วนได้เสียต้องถอนตัวจากการลงมติดังกล่าว อีกทั้งให้การลงมติต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยต้องบันทึกผลการลงมติของกรรมการแต่ละคนว่าผู้ใดลงมติให้มี การควบคุมพาราควอตเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และผู้ใดลงมติให้เป็นอย่างอื่น รวมทั้งระยะเวลาการ ประกาศนั้นว่าประสงค์ให้มีผลบังคับใช้เมื่อใด เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ากรรมการแต่ละคนได้ลง มติให้เป็นไปตามคาวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งกาหนดให้มีผลภายใน 1 ปีหรือไม่ ดังนั้นเพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค ป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประโยชน์สุขของประชาชนไทยทั้งประเทศ

91565

ขณะอีกด้านหนึ่งนายสุกรรจ์ สังข์วรรณะ เลขาธิการของสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย เผยว่า ยังมีเหตุผลไม่มากพอที่จะประกาศยกเลิกการใช้ แต่ให้จำกัดการใช้แทนนั้น เกษตรกรขอยืนยัน การพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายให้ตัดสินอย่างรอบคอบ เป็นธรรม เป็นกลาง โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลจากฝ่ายใด อย่างไรก็ดีผลการประชุมยังไม่ยุติ ขณะนี้เวลา 16.47 น.

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503