เกษตรฯหนุนแบน 3 สารเคมีพิษ

14 ก.พ. 2562 | 04:41 น.

S_8174417580647

นายกฤษฎา บุญราช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าตามที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติเห็นชอบมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ที่เสนอโดยกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 นั้นกรมวิชาการเกษตรได้สรุปความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด ดังนี้

S__13467730-1

“กรมวิชาการเกษตรได้เสนอร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในการจำกัดการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ซึ่งต่อมาคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพิ่งมีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562  และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กำลังพิจารณาร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว”

ในระหว่างนั้นได้ดำเนินการจำกัดปริมาณการนำเข้าสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2561โดยสามารถลดการนำเข้า สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ในปี 2562  ได้เท่ากับ 21,709 ตัน 48,501 ตันและ 1,178 ตันตามลำดับซึ่งลดลงจากสถิติเฉลี่ยการนำเข้าปี 2557ถึง2559 คิดเป็นร้อยละ 25(พาราควอต และไกลโฟเซต) และร้อยละ 55 ตามลำดับ

spray-24302_1280

 

พร้อมกับจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสารพาราควอต ผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดอบรมให้ความรู้โครงการนำร่องทดสอบหลักสูตร ผู้พ่นสาร  พาราควอตเพื่อกำจัดวัชพืชในมันสำปะหลังและอ้อยในจังหวัดนครราชสีมาและนครปฐมแล้ว รวมทั้งสิ้น   100 คน และ จัดทำโครงการวิจัยเพื่อลดการใช้สารเคมีและหาวิธีการทดแทนการใช้สารเคมี รวมทั้งศึกษาผลกระทบของสารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิต และผู้บริโภค ซึ่งได้เสนอขอรับทุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนา การวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่  1 มีนาคม 2562 รวมระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี

090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503

ปัจจุบันมีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เรียกร้องต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ยกเลิกการใช้สารทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวในการทำเกษตรกรรมประกอบกับประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีความเห็นให้มีการยกเลิกการใช้สารพาราควอตด้วย นั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ขอเรียนว่าเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกฤษฎา บุญราช) พร้อมทั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 2ท่าน รวมทั้งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

1.1

กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน และเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว และได้มีความเห็นร่วมกัน ดังนี้ 1. ไม่เห็นด้วยกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิตมนุษย์ 2. ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีอาชีพเกษตรกรรม 5.7 ล้านครอบครัว รวม 25 ล้านคน มีพื้นที่ทำการเกษตร 149 ล้านไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดในการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชมาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีและมีต้นทุนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานและวิธีการทางการเกษตรอื่น ๆ ประกอบกับมีนักวิชาการบางกลุ่มให้ข้อมูลว่าหากมีการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ผู้ใช้ก็ยังคงมีความปลอดภัย

1.2

ดังนั้น เพื่อให้การประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกษตรกรมีเวลาปรับตัวในการลด ละ และเลิกใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ (1) ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเร่งรัดการพิจารณาออกประกาศตาม พ.ร.บ. 5 ฉบับ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อกำหนดเงื่อนไขการใช้สารเคมีดังกล่าวคือ

1.3

“การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ใช้ ผู้จำหน่าย ผู้ให้บริการพ่นสารเคมีจะต้องผ่านการอบรมก่อน รวมทั้งกำหนดให้มีการปิดฉลากที่เห็นได้ชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์ของวัตถุอันตราย ทั้ง 3ชนิดที่สื่อความหมายว่าสารเคมีดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตมนุษย์”

28471909_1419506598151527_8812580383055124603_n

นายกฤษฎา กล่าวว่า การประกาศเขตห้ามใช้/ครอบครอง/จำหน่ายสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ในพื้นที่ต้นน้ำตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระหว่างนั้นให้ กรมวิชาการเกษตร จะควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด อย่างต่อเนื่องตามแผนดำเนินการที่กำหนดไว้ในปี 2562 และในปีต่อๆ ไป

52001283_2079545658747680_1319552092364341248_n

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้มอบหมายให้หน่วยราชการในสังกัดจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งรัดขยายการทำการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และหรือเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ให้ได้ภายใน ๒ ปี นับตั้งแต่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 5 ฉบับ  มีผลบังคับใช้และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับภาควิชาการ และหรือภาคเอกชนได้ทำการศึกษาวิจัยแล้วหาวิธีการหรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชให้ได้ภายใน 2 ปี  ดังนั้น4. ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้มีมติให้ทุกส่วนราชการสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนมาตรการจำกัดการใช้สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส

51505883_1814217365347113_971474387779715072_n

เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตรายทั้ง ๓ ชนิด ครบกำหนด 2 ปี นับตั้งแต่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 5 ฉบับ มีผลบังคับใช้ ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาประกาศยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด หรือพิจารณาดำเนินการด้วยวิธีอื่นในการทำเกษตรกรรมต่อไป