'เบนซ์' ทุ่ม 500 ล้าน ผุด "คลังอะไหล่แห่งใหม่"

12 ก.พ. 2562 | 07:40 น.
เมอร์เซเดส-เบนซ์ กางแผนธุรกิจรับยอดขายโต ด้วยการทุ่มเม็ดเงิน 500 ล้านบาท เปิดคลังอะไหล่แห่งใหม่บนถนนบางนา-ตราด

 

[caption id="attachment_387904" align="aligncenter" width="336"] นายโรลันด์ โฟลเกอร์ นายโรลันด์ โฟลเกอร์[/caption]

นายโรลันด์ โฟลเกอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์และจำนวนของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต บริษัทจึงได้วางแผนยกระดับบริการหลังการขาย โดยเฉพาะในด้านการบำรุงรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษารถยนต์ของลูกค้าให้มากขึ้น

ล่าสุด บริษัทได้ขยายพื้นที่ส่วนบริการลูกค้าบนถนนบางนา-ตราด กม.19 เพิ่มขึ้นเป็น 45,000 ตารางเมตร พร้อมทุ่มงบ 500 ล้านบาท เปิดตัว "คลังอะไหล่แห่งใหม่" ขนาดพื้นที่ 13,000 ตารางเมตร โดยคลังอะไหล่แห่งนี้มีศักยภาพในการขยายพื้นที่จัดเก็บอะไหล่ออกไปได้อีก รวมเป็น 15,000 ตารางเมตร อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้จัดสรรพื้นที่เดิมอีกกว่า 30,000 ตารางเมตร เพื่อใช้สร้างเป็นศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาช่างเทคนิคแห่งใหม่

"เรามีความมั่นใจในศักยภาพของพื้นที่แถบถนนบางนา-ตราด เพราะเป็นทำเลที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ในด้านโลจิสติกส์ ทั้งการขนส่งทางเรือ รถ และเครื่องบิน ทำให้สามารถกระจายอะไหล่ให้กับผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการทั้ง 32 แห่งทั่วประเทศ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว"

สำหรับคลังอะไหล่แห่งใหม่นี้ มีหน้าที่วิเคราะห์และจัดเก็บอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมทั่วไปสำหรับรถยนต์ทุกแบรนด์ ที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) นำเสนอแก่ลูกค้า ทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์, เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี, เมอร์เซเดส-มายบัค และอีคิว

 

[caption id="attachment_387909" align="aligncenter" width="503"] นายพุทธิ ตุลยธัญ นายพุทธิ ตุลยธัญ[/caption]

ด้าน นายพุทธิ ตุลยธัญ รองประธานบริหาร ฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า คลังอะไหล่แห่งใหม่นี้เป็นคลังอะไหล่รถยนต์ของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ แห่งเดียวในประเทศไทย โดยได้รับการออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐานคลังอะไหล่ของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ทั่วโลก พร้อมรองรับการติดตั้งเทคโนโลยีอันล้ำสมัย "I4AP" (Innovation of Asia Pacific) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการจัดการอะไหล่และรองรับการบริหารจัดการอะไหล่คงคลังของผู้จำหน่าย (Dealer Inventory Management System : DIMS) รวมถึงการเพิ่มพื้นที่ในการบริหารสินค้าขาออก (Outbound Logistics) ที่ใช้จัดส่งสินค้าไปยังผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการทั้ง 32 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งอะไหล่ให้ได้มากถึง 2,000 ไลน์ต่อวัน

โดยขั้นตอนการดำเนินงานที่คลังอะไหล่ จะเริ่มต้นจากพื้นที่สินค้าขาเข้า (Inbound Logistics) เพื่อใช้รับอะไหล่รถยนต์ที่ส่งตรงมาจากประเทศเยอรมนีและสิงคโปร์ เพื่อนำมาจัดเก็บในคลังสำรองอะไหล่ให้เพียงพอต่อความต้องการของดีลเลอร์ทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อมีการสั่งซื้ออะไหล่มาจากดีลเลอร์ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเพื่อนำสินค้ามายังพื้นที่สินค้าขาออก (Outbound Logistics) และเตรียมพร้อมจัดส่งอะไหล่ให้ดีลเลอร์ทั้ง 17 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้ภายในวันเดียวกัน และจัดส่งถึงดีลเลอร์อีก 15 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัดภายในวันรุ่งขึ้น

"การบริหารคลังอะไหล่ของเราเป็นการผสมผสานระหว่างการแบ่งตามปริมาณการซื้อ เพื่อแยกประเภทเป็นอะไหล่หมุนเวียนเร็ว (Fast Moving) อะไหล่หมุนเวียนปานกลาง (Medium Moving) และอะไหล่หมุนเวียนช้า (Slow Moving) กับการแบ่งประเภทและขนาดของอะไหล่ เพื่อเข้าจัดเก็บใน 6 โซนหลัก"

โดย 6โซนหลัก ได้แก่ 1.โซนอะไหล่ขนาดเล็กและกลาง 2.โซนอะไหล่ขนาดใหญ่และหนัก 3.โซนอะไหล่พิเศษ เช่น แบตเตอรี่ไฮบริด 4.โซนสารเคมี เพื่อจัดเก็บสารเคมีอันตราย 5.โซนควบคุมอุณหภูมิ 6.โซนกุญแจ

แอดฐานฯ