“ไพรินทร์” เร่งพัฒนาเมืองรอบสถานีขนส่ง ยันแก้กฏหมายให้สอดคล้องแผนพัฒนา

12 ก.พ. 2562 | 07:18 น.
“ไพรินทร์” เผยแนวคิดการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีขนส่ง (TOD) พร้อมชี้ทิศทาง ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย และการศึกษาพัฒนาเมือง คู่ขนานกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใด

1396E776-D58C-4304-ABF2-0943CFDCF5EE
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ครั้งที่ 1 พร้อมปาฐกถาพิเศษ “ร่วมสร้างเมือง TOD เสริมศักยภาพพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจไทยมั่นคง” ว่า รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมมีแนวโน้ม (Trend) การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเมืองของโลกในปัจจุบันและอนาคต มีแนวคิดการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีขนส่ง (Transit-Oriented Development : TOD) พร้อมกับชี้ทิศทาง ยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศไทย และการศึกษาพัฒนาเมือง คู่ขนานกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ตลอดจนปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของโครงการ

นอกจากนี้ยังได้ร่วมการเสวนา “TOD เมืองไทย ร่วมกันสร้างได้อย่างไร?” โดยจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 1 โดยว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง

ทั้งนี้ เพราะเล็งเห็นว่าการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (Transit – Oriented Development: TOD) ให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับ แนวร่วมการพัฒนาโครงการ และการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองต้นแบบ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมสามารถปฏิบัติได้จริง

228FC77A-D9FF-41FE-9DF4-AD3E2F83B451
โดยแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย   (พ.ศ. 2558-2565) มุ่งพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทุกโครงข่าย ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ให้เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว (Seamless Mobility) เพื่อสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางครั้งใหญ่ของประเทศซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแกนหลักในการเดินทางและขนส่งจากทางถนนในปัจจุบันสู่ทางรางในอนาคต จะทำให้เกิดสถานีขนส่งหรือจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่มีศักยภาพทั่วประเทศ การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะกำหนดอนาคตของประเทศ ในการชี้นำการพัฒนาเมือง ชุมชน และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ในอดีตมุ่งเน้นพัฒนาเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ได้มองถึงการพัฒนาชุมชนสร้างแค่สถานีแล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันจะต้องมีการกำหนดสถานีหลักๆ ที่เป็น TOD คือ ให้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนา เช่น ตัวสถานีเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดเรื่องของการเดินทาง และกระจายคนออกไปสู่พื้นที่/แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีสถานีเป็นศูนย์กลาง และเป็นตัวดึงดูด

ดังนั้น กระทรวงคมนาคม จึงได้ปรับแนวคิดการพัฒนา โดยคำนึงถึงเรื่องการใช้ประโยชน์รอบสถานีให้มากขึ้น เพื่อเป็นไปในทิศทางตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล กระจายความเจริญไปยังภูมิภาคตามแนวสายทางการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง  ตลอดจนเอื้อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรม แหล่งงาน แหล่งที่พักอาศัย และกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสม สร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ ลดการสิ้นเปลืองพลังงาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ

“TOD มีความจำเป็นและยังเครื่องมือใหม่ช่วยให้การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของประเทศได้ประโยชน์อย่างมาก หากไม่มีกฏหมายออกมารองรับก็จะเกิดเป็นความขัดแย้งทางสังคมตามมาได้ โดยเฉพาะผลจากการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ดังกรณีของทางด่วนในพื้นที่กาญจนบุรีที่เกิดปัญหาในขณะนี้ ประการสำคัญพ.ร.บ.เวนคืนถูกกำหนดออกมาให้นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นในการนำที่ดินมาพัฒนาโครงการของรัฐ มีผู้เสียผลประโยชน์จากการเสนคืนจำนวนมาก แต่ผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างมากมายคือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงการเวนคืน อีกทั้งยังพบว่ามีแนวคิดการจัดเก็บภาษีสำหรับพื้นที่ที่ได้ประโยชน์จากการเวนคื”

นายไพรินทร์กล่าวอีกว่ากฏหมาย TOD จะให้อำนาจผู้ที่พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งในท้องถิ่นนั้นๆได้กำหนดพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนาหรือจัดซื้อมาลงทุนได้ ประการสำคัญพื้นที่รอบสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยเคยมีแนวคิดจะนำไปพัฒนา TOD แต่พบว่ามีผู้คัดค้านคือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นจึงออกกฏหมายมาบังคับเพื่อไม่ให้บางคนยึดผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลักคงนำที่ดินทั้งผืนมาจัดรูปที่ดินหากขายที่ดืนก็จะได้ราคายุติธรรม แต่มีสิทธิ์เลือกที่จะกลับมาอยู่ในสถานที่เดิมได้อีก

“ออกกฏหมายใหม่ บังเอิญมีมาตรา 34 ของพ.ร.บ.อีอีซีกำหนดรายละเอียดการพัฒนา TOD ไว้แล้ว แต่พ.ร.บ.ดังกล่าวบังคับใช้เฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดเท่านั้น อีกทั้งยังกล่าวถึงมาตราเดียวทั้งๆที่น่าจะครอบคลุมหลายเรื่องได้ด้วย อาทิ พ.ร.บ.ผังเมือง เป็นต้น โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนา TOD คือประชาชนจะเกิดความสะดวกสบายในการเดินทางแบบไร้รอยต่อเช่นกรณีการพัฒนาใน ญี่ปุ่น  ฮ่องกง หรือบางประเทศในยุโรป แตกต่างกับสถานีเตาปูนและท่าพระที่ยังไม่สมบูรณ์สำหรับการเดินทางแบบไร้รอยต่อ”

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว