"สภาเอสเอ็มอี" ชูแบรนด์ท้องถิ่น! ต้อนผู้ประกอบการเข้าระบบ 5 แสนราย ใน 5 ปี

11 ก.พ. 2562 | 07:08 น.
สภาเอสเอ็มอีประเดิมโครงการ SMEs Smart Province ผลักดันแบรนด์ 'สกลนคร' ตามแผนพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

ตามที่ สภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) ประกาศจัดตั้งโครงการ SMEs Smart Province เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการระดับจังหวัดและพัฒนาสินค้าเด่นสร้างเป็น Brand Province โดยมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าระบบ 500,000 ราย ใน 5 ปี เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมานั้น

นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) เปิดเผยว่า ได้เดินหน้าโครงการ SMEs Smart Province ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของ จ.สกลนคร ขึ้นมาเป็นประเดิม โดยให้การสนับสนุนการจัดงานแสดงนิทรรศการสินค้า ภายใต้ชื่อ "งานเกษตรและเทคโนโลยีพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2562" และร่วมประชุมสรุประดมความคิดเห็นและชี้ช่องทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาสินค้าท้องถิ่นให้มีการยกฐานะเป็นแบรนด์ระดับจังหวัดต่อไป

 

[caption id="attachment_387356" align="aligncenter" width="503"] ไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์[/caption]

ผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่จัดแสดงภายในงานมีหลากหลาย ทั้งที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมและพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรไทย อาหาร เสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ ฯลฯ โดยพื้นฐานนั้นเหมาะสมกับการใช้งานในท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่หากได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาบางแง่มุม เช่น การผลิตและการตลาด เชื่อว่าจะทำให้สินค้าหลายรายการมีการยกระดับที่ดีขึ้นได้ ซึ่งจะได้มีการเลือกส่งเสริมและพัฒนาแบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละรายการสินค้า


XX4

ทั้งนี้ ในช่วงของการระดมความเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ ภายหลังจากการเยี่ยมชมงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา พบว่า ในเบื้องต้น มีสินค้าท้องถิ่นที่เหมาะในการนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นแบรนด์จังหวัด ได้แก่ ไวน์มะเม่า, ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณต่าง ๆ และผ้าย้อมคราม เพราะผู้ประกอบการชาวบ้านมีการพัฒนามาได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว เหลือเพียงการส่งเสริมด้านการผลิตบางประการ อาทิ บรรจุภัณฑ์ และส่งเสริมการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้ดียิ่งขึ้น

"ในมุมมองของผมเห็นว่า จะต้องมีการพัฒนาสินค้าท้องถิ่นให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในด้านรสชาติและราคา สร้างแบรนด์ในฐานะที่เป็นสินค้า จ.สกลนคร ด้วยการใส่ชื่อจังหวัดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่อสินค้า อาทิ ไวน์มะเม่า ก็ควรจะใช้คำว่า "สกลนครไวน์มะเม่า" หรือ "สกลนครผ้าคราม" ขณะเดียวกัน ก็จะต้องเพิ่มช่องทางการตลาดให้หลากหลายมากขึ้น"


XX2 XX3

งานเกษตรและเทคโนโลยีพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2562 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 6–10 ก.พ. ที่ผ่านมา ภายในบริเวณพื้นที่กลางแจ้งของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร โดยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหน่วยราชการ นำโดย นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร, ผู้บริหารการศึกษา นำโดย รศ.โฆษิต ศรีภูธร รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตสกลนคร, ผศ.น.สพ.ชเวง สารคล่อง คณบดีคณะทรัพยกรธรรมชาติ รวมทั้งภาคเอกชน ผู้นำชุมชน นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนในท้องถิ่น


XX1

นายไชยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ในการเข้าไปประเดิมสนับสนุนผลิตภัณฑ์สินค้าท้องถิ่นตามโครงการ SMEs Smart Province ครั้งนี้ สภาเอสอียังได้พันธมิตรที่เห็นพ้องและร่วมให้การสนับสนุนโครงการนี้เพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือ สถาบันชุณหะวัณเพื่อการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน (CISME D) และสมาคมศิษย์เก่า มทร.อีสาน ซึ่งจะได้ร่วมมือกันพัฒนาโครงกา รในวาระและโอกาสที่ดีต่อไป

ติดตามฐาน