"SCBS Wealth Research" แนะวิธี "กำจัดฝุ่น"

06 ก.พ. 2562 | 13:45 น.
คุณภาพอากาศของไทย โดยเฉพาะแถบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เลวร้ายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) ในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับเดียวกับหลาย ๆ เมืองในเอเชียและระดับโลกที่มีระดับมลพิษในอากาศสูง เช่น เมืองเฉิงตู กว่างโจว แคลิฟอเนีย และฮ่องกง

SCBS Wealth Research พิจารณาผลกระทบดังกล่าวของไทย เปรียบเทียบกับประเทศและภูมิภาคที่ประสบภาวะวิกฤตคล้ายกัน ได้แก่ จีน และประเทศในยุโรป พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากมลภาวะทางอากาศของไทยนั้น แม้มีจำนวนน้อยกว่า (ที่ประมาณ 3.8 หมื่นคน) แต่หากคิดเป็นสัดส่วนกับประชากรทั้งหมดก็ใกล้เคียงจีนและยุโรป


S__16547915

และเมื่อพิจารณาความเสียหายด้านเศรษฐกิจ (ที่ประมาณ 1.6-2.7% ของ GDP) จะพบว่า ไทยมีความเสียหายด้านเศรษฐกิจรุนแรงเป็นอันดับ 2 รองจากยุโรป

จากข้อมูลของ นพ.ศุภกิจ เวชพานิช แห่งสภากาชาดไทย พบว่า แหล่งที่มาหลักของฝุ่นควัน PM 2.5 ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง กระบวนการอุตสาหกรรม และการผลิตไฟฟ้า ตามลำดับ ขณะที่ ข้อมูลของ SCB EIC ระบุว่า แหล่งที่มาของ PM 2.5 จากการคมนาคมขนส่งนั้นมาจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก


S__16547916

S__16547917

จากการพิจารณาผลกระทบจากฝุ่นละอองของไทย เปรียบเทียบกับประเทศและภูมิภาคที่ประสบภาวะวิกฤตคล้ายกัน โดยในกรณีของจีนมีการพัฒนาการเศรษฐกิจก้าวกระโดดและการเปลี่ยนเครื่องยนต์เศรษฐกิจจากภาคเกษตรมาสู่อุตสาหกรรม ทำให้ระดับมลภาวะในอากาศสูงขึ้นมาก (โดยเฉพาะหลังปี 2010 เป็นต้นมา) อันเป็นผลทั้งจากอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะเหมืองถ่านหินและการผลิตไฟฟ้าและระบบทำความร้อนส่วนกลาง หรือ Central Heating System ที่ใช้ถ่านหินเป็นหลัก) และการคมนาคมขนส่ง (จากรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ดีเซล) ในขณะที่ ในหลายประเทศในยุโรปในช่วงทศวรรษ 1990-2010 ก็เผชิญกับมลภาวะทางอากาศเป็นพิษ อันเป็นผลจากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการสนับสนุนรถยนต์ดีเซล

ในส่วนของมาตรการของทางการในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศนั้น จีนดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 ปีของจีน ปี 2013-2018 มีการตั้งกองทุนปรับปรุงคุณภาพอากาศ คุมเข้มโรงงานที่ก่อให้เกิดมลพิษ เปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ และสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้คุณภาพของอากาศในเขตเมืองหลวงและเมืองใหญ่ดีขึ้น

สำหรับประเทศไทย SCBS Wealth Research ได้นำเสนอ "มาตรการเชิงนโยบายให้แก่ทางการ" เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางในการควบคุมและลดทอนมลภาวะทางอากาศในไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยมาตรการดังกล่าวต้องทำควบคู่ไปกับการสนับสนุนการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจัง

นอกจากนั้น ทางการยังควรรีบพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน อันจะเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่นควันครั้งนี้อย่างยั่งยืน

1.ปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตรถยนต์ดีเซลให้มีอัตราเท่ากัน

2.ปรับขึ้นภาษีโรงงานที่ปล่อยก๊าซพิษ

3.ปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลให้เท่ากับเบนซิน

4.จัดตั้งกองทุนดูแลคุณภาพอากาศแห่งชาติ

5.เพิ่มโทษกับผู้กระทำผิดกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเผาในที่โล่ง

มาตรการต่าง ๆ ที่ทางการในต่างประเทศ (จีนและกลุ่มประเทศยุโรป) ได้ดำเนินการดำเนินมาตรการอย่างรุนแรงและเป็นรูปธรรม มีส่วนสำคัญที่ทำให้วิกฤตมลภาวะทางอากาศบรรเทาลง ดังนั้น SCBS Wealth Research จึงขอเสนอมาตรการเชิงนโยบายให้แก่ทางการเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและต้องดำเนินการอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม

ติดตามฐาน