สยยท. เชิญนักธุรกิจลาวถกแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ

05 ก.พ. 2562 | 04:15 น.
S__12288199
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สยยท. ร่วมกับสภาเครือข่ายอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางไทย สปป.ลาว จะเดินทางมาดูงาน และหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องยางพาราและอื่น ๆ พร้อมทั้ง ดูงาน วว. ในเรื่องเครื่องมือทดลองยาง วิธีผสมคอมปาวด์ วิธีขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยาง วิธีการหามาตรฐานยาง และวิธีแพคกิ้ง ฯลฯ ระหว่างวันที่ 11—13 ก.พ. 2562 นี้ ในกำหนดการดังกล่าวนั้นจะขอเข้าพบ นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแสดงความยินดีในการดำรงตำแหน่ง อีกทั้งท่านเป็นคนที่เข้าใจในธุรกิจและอุตสาหกรรมยางพารามาก ทางคณะจะนำเรื่องปรึกษาในโครงการพัฒนาชาวสวนยางสู่เกษตรกรผู้ประกอบการแปรรูปยาง (RUBBER PRODUCT STARTUP) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และรับฟังนโยบายจากปลัดกระทรวงเกษตรฯ ด้วย


41358

จากนั้นจะเดินทางไป บริษัท กนกโปรดักส์ จำกัด เพี่อชมกระบวนการผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งจะให้เครือข่ายผลิต โดยจะเป็นผู้รับซื้อ และชมขบวนการผลิตภัณฑ์ยางของ บริษัท พิพัฒน์กลการ จำกัด (ที่ได้ทำการเซ็นสัญญา MOU ร่วมกับ สปป.ลาว) จะให้เครือข่ายผลิตอะไหล่รถยนต์ ซึ่งมีตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


960240

อนึ่ง เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2561 ณ สมาคมค้ายางพารา จ.บึงกาฬ ทาง สยยท. ได้มีการบันทึกเพื่อความร่วมมือการแก้ปัญหายางพาราไทยร่วมกับสมาคมยางพาราลาว ท่านวิไลวัน พมเข เป็นประธานสมาคม และเอกชนไทย ร่วมเซ็นสัญญาด้วย ได้แก่ สมาคมการค้ายางพารา จ.บึงกาฬ บริษัทนิพัฒนากลการ โดยมีเจตนารมย์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ระหว่างเกษตรกรชาวสวนยางประเทศไทยและการตลาดกับเกษตรกรชาวสวนยางประเทศลาว เป็นการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ


960248

"เมื่อเซ็นเอ็มโอยูแล้วจะมีการดำเนินงานแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ร่วมกัน ได้แก่ การกำหนดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรให้ชัดเจน มีการตั้งคณะกรรมการทั้ง 2 ประเทศร่วมกัน เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนแผนเพื่อแปรรูปไปสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงไปสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี)"


090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503

นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือด้านตลาด สร้างแบรนด์ ร่วมมืองานวิจัย สร้างนวัตกรรม และความร่วมมือโครงการอื่น ๆ ที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความเห็นที่เหมาะสมร่วมกัน เชื่อว่าเมื่อทำอุตสาหกรรมจะไม่ต้องมาถูกกดราคาจากการขายวัตถุดิบขั้นต้นที่ทำให้พ่อค้า หรือ บริษัท 5 เสือ มากดราคาซื้อ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสัตยาบรรณที่ทั้ง 2 ประเทศ พร้อมที่จะก้าวไปด้วยกันในการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำแบบยั่งยืน

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว