“ศิริ”ชง"ปตท.-บางจาก" ลดราคาดีเซลพรีเมียมช่วงวิกฤติฝุ่น PM 2.5

04 ก.พ. 2562 | 07:51 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมันเป็นมาตรฐานยูโร5 นั้น ไม่จำเป็นต้องเร่งให้แล้วเสร็จก่อน 5 ปี เนื่องจากปัจจุบันโรงกลั่น ปตท. และโรงกลั่นบางจาก จำหน่ายน้ำมันดีเซลเกรดพรีเมียมที่เป็นมาตรฐานยูโร5 อยู่แล้ว แต่มีราคาแพงกว่า 3.50 บาทต่อลิตร ดังนั้นกระทรวงพลังงานเตรียมประสานกับทางปตท.และบางจากว่า ในช่วงวิกฤติฝุ่น PM 2.5 จะให้ส่วนลดสำหรับรถยนต์ที่ต้องการเติมน้ำมันดีเซลเกรดพรีเมียมมาตรฐานยูโร5 ได้หรือไม่ โดยแนวทางดังกล่าวจะเป็นมาตรการระยะสั้นในช่วงวิกฤติฝุ่นละออง PM 2.5 เท่านั้น

นอกจากนี้โรงกลั่นที่ยังไม่สามารถกลั่นน้ำมันตามมาตรฐานยูโร5 ได้ แต่ต้องการนำเข้าน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร5 กระทรวงพลังงานจะพิจารณาเพื่อลดปริมาณสำรองน้ำมันตามกฎหมายลง จากปัจจุบันอยู่ที่ 7% แบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 6% และน้ำมันสำเร็จรูป 1% ดังนั้นหากโรงกลั่นใดที่นำเข้าน้ำมันมาตรฐานยูโร 5 ก็ไม่จำเป็นต้องสำรองมากถึง 7% เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการน้ำมันขายน้ำมันดีเซลมาตรฐานยูโร5

สำหรับความคืบหน้าการนำน้ำมันปาล์มดิบ(ซีพีโอ) มาเผาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าบางปะกงนั้น ล่าสุดตัวเลขอยู่ที่ 1.3 แสนตัน จากทั้งสิ้น 1.6 แสนตัน ส่งผลให้ราคาผลปาล์มเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3.20 บาทต่อกิโลกรัม แบ่งเป็นหน้าลานเท 20 สตางค์ต่อกิโลกรัม และเกษตรกรได้ 3.04 บาทต่อกิโลกรัม ตอนนี้ราคาเริ่มปรับเพิ่ม ทำให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่เดียวกันมาตรการระยะบางของกระทรวงพลังงาน คือผลักดันการใช้น้ำมันดีเซลบี20 ที่เริ่มจำหน่ายในปั๊มแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยทั้งปีคาดว่ายอดใช้บี20 จะทำให้ความต้องการใช้ซีพีโออยู่ที่ 4 แสนตันต่อปี สามารถรองรับผลผลิตปาล์มส่วนเกินได้ทั้งหมด และคาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดว่ายอดใช้บี20 จะอยู่ที่ 15 ล้านลิตรต่อวัน

ติดตามฐาน ส่วนราคาขายบี20 ปัจจุบันยังถูกกว่าดีเซลปกติ 5 บาทต่อลิตรไปจนถึงสิ้นเดือนก.พ.นี้ จากนั้นจะลงมาอยู่ที่ 3 บาทต่อลิตร ซึ่งกระทรวงพลังงานยังคงมาตรการด้านราคาแบบถาวร โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงแบบไม่จำกัดวงเงิน อย่างไรก็ตามรถยนต์ขนาดเล็กที่ต้องการใช้บี20 จะต้องสอบถามค่ายรถยนต์ก่อนว่าสามารถเติมได้หรือไม่ เนื่องจากกังวลผลกระทบต่อเครื่องยนต์

นายศิริ กล่าวอีกว่า โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำขนาดใหญ่ (โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ) ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(พีดีพี 2018) อยู่ที่ 2.7 พันเมกะวัตต์ภายใน 20 ปี แบ่งเป็นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศเป็นหลัก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาร่วมกับกลุ่มเอสซีจี กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์

ส่วนอีก 700 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อให้เอกชนร่วมดำเนินการได้ ขณะที่ราคารับซื้อไฟฟ้าจะต้องไม่แพง สามารถแข่งขันได้ ดังนั้นราคารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำของ กฟผ.จะต้องต่ำกว่าราคาค้าปลีก แต่หากทำได้ต่ำกว่าค้าส่งก็จะเป็นเรื่องที่ดี 090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503