"ฝนหลวง" ระดมปฏิบัติการ "ก่อเมฆ" ลุ้นฝนตกในกรุงเทพฯ ลด PM 2.5

01 ก.พ. 2562 | 09:46 น.
กรมฝนหลวงระดมปฏิบัติการก่อเมฆให้มีปริมาณมากที่สุด หวังให้ความชื้นจากเม็ดน้ำในอากาศเกาะฝุ่นละอองที่เป็นอนุภาคแขวนลอย ช่วยดับฝุ่น ขึ้นบิน 2 หน่วย เพื่อให้มีฝนตกทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ผลการตรวจสภาพอากาศวันนี้ (1 ก.พ. 62) ที่สถานีตรวจอากาศสัตหีบ จ.ชลบุรี พบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ในระดับการก่อเมฆอยู่ที่ 60% อยู่ในเกณฑ์ที่จะปฏิบัติการขั้นก่อกวน หรือ ทำให้เมฆก่อตัว ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศอยู่ที่ -2.1 ซึ่งเป็นระดับที่มีประสิทธิภาพในการที่เมฆจะพัฒนาตัวตามแนวตั้ง หน่วยฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง จึงตัดสินใจขึ้นบินปฏิบัติการโปรยสารฝนหลวงจากทิศเหนือของ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เป็นแนวเส้นตรงไปถึง อ.องครักษ์ จ.นครนายก

 

[caption id="attachment_383172" align="aligncenter" width="503"] นายสุรสีห์ กิตติมณฑล นายสุรสีห์ กิตติมณฑล[/caption]

ทั้งนี้ หากเมฆพัฒนาตัวดี แล้วตกเป็นฝนสู่พื้นที่เป้าหมาย คือ กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก และสมุทรปราการ จะช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็กได้มาก แต่เนื่องจากความชื้นสัมพันธ์ในอากาศระดับการพัฒนาตัวอของเมฆลดลงเหลือ 38% จึงตั้งเป้าหมายว่า ให้ก่อเมฆได้มากที่สุด เพื่อให้เม็ดน้ำในก้อนเมฆมาเกาะฝุ่นละอองที่ฟุ้งอยู่ในบรรยากาศ โดยผลจากเรดาร์ตรวจอากาศเย็นวานนี้ พบว่า หลังจากปฏิบัติการก่อเมฆแล้ว กระแสลมพัดพาเข้าสู่กรุงเทพมหานครแล้ว ปริมาณฝุ่นละอองที่ตรวจวัดได้ในพื้นที่ที่มีเมฆมากนั้น ลดลงจากในช่วงเช้า

สำหรับที่สถานีเรดาร์ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอยู่ที่ 56% ค่าดัชนีการยกตัวของมวลอากาศอยู่ที่ 5.4 ซึ่งไม่เอื้อต่อการก่อเมฆ โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงนครสวรรค์นี้ รับผิดชอบการลดฝุ่นละอองใน จ.นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี ซึ่งช่วงเช้ายังไม่ขึ้นปฏิบัติการ แต่จะติดตามตรวจสอบสภาพอากาศตลอดทั้งวัน

ส่วนที่สถานีเรดาร์เคลื่อนที่ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ตรวจวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอยู่ที่ 58% ซึ่งใกล้เคียงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 60% ค่าดัชนีการยกตัวของมวลอากาศอยู่ที่ -3 อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงนครสวรรค์จึงตัดสินใจบินปฏิบัติการสร้างแกนเมฆบริเวณทางทิศเหนือ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ไปยัง อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี โดยหวังผลให้เกิดเมฆฝนใน จ.ราชบุรี นครปฐม แล้วให้กระแสลมพัดพาเข้าสู่กรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก หรือ ฝั่งธนบุรี


ฝนหลวง1

"สภาพอากาศในฤดูหนาวมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ ประกอบกับมีบริเวณความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลงมาปกคลุม ทำให้อากาศอุ่น ซึ่งอยู่ด้านล่าง ไม่สามารถพัดขึ้นไปได้ ดังนั้น ฝุ่นละอองขนาดเล็กจึงฟุ้งกระจาย ไม่ลอยสู่บรรยากาศชั้นบน ทั้งนี้ กรมฝนหลวงคาดหวังว่า แม้สภาพอากาศจะไม่เอื้ออำนวยถึงขั้นทำให้เมฆกลั่นตัวตกลงมาเป็นฝน แต่ปฏิบัติการสร้างเมฆให้มีกลุ่มเมฆมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะช่วยให้เม็ดน้ำในอากาศมาจับตัวกับฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ แล้วทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพน้อยลง"


ฝนหลวง

ขณะที่ กรมฝนหลวงกำลังทำวิจัยผลิตสารฝนหลวงชนิดใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ปฏิบัติการได้ แม้ในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ สารฝนหลวงที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้มีศักยภาพดูดความชื้นได้เป็นอย่างดี โอกาสที่จะทำฝนหลวงในสภาพอากาศที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำจะเป็นไปได้มากขึ้น

ติดตามฐาน