ดันไทย "Medical Hub" ... 'ฟิลิปส์' รุก ร.พ.รัฐ

01 ก.พ. 2562 | 07:52 น.
'ฟิลิปส์' สบช่องนโยบาย Medical Hub ของภาครัฐ ดันธุรกิจเครื่องมือแพทย์เติบโตฉลุย 8-10% เร่งนำเข้าเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า "Philips Tempus ALS" เจาะโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศกลางปีนี้ มั่นใจสร้างการเติบโตไม่น้อยกว่าตลาด

คุณวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด (3)
นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านขนาดเล็ก 'ฟิลิปส์' เปิดเผยว่า ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ในเมืองไทยมีการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสความต้องการและการตื่นตัวในการดูแลสุขภาพของคนไทย ขณะเดียวกัน ในเรื่องของนโยบายในการผลักดันไทยให้เป็น Medical Hub หรือ การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ของภาครัฐ คือ อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจทางการแพทย์ ทั้งโรงพยาบาล เครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ มีโอกาสทางการเติบโตสูง


เครื่อง Philips Tempus ALS และหุ่นจำลองการใช้งาน (1)

ล่าสุด เพื่อเป็นการรองรับแนวโน้มการเติบโตดังกล่าว บริษัทได้นำเข้าเทคโนโลยีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า "Philips Tempus ALS" โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถจำหน่ายอย่างเป็นทางการได้ในช่วงกลางปีนี้ ซึ่งไทยถือเป็นกลุ่มประเทศแรก ๆ รองจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปบางประเทศ และส่วนใหญ่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้อยู่ในวงการทหารและในรถพยาบาลเท่านั้น ซึ่งสาเหตุที่บริษัทเลือกเข้ามาทำตลาด เนื่องจากมองเห็นศักยภาพทางการเติบโต โดยวางเป้าหมายเจาะกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลรัฐบาลทั่วประเทศ เนื่องจากมองว่า โรงพยาบาลของรัฐมีจำนวนมากกว่าโรงพยาบาลเอกชน และมีงบประมาณในการเบิกจ่ายมากกว่า


101_Overview_daytime.resize

"ประเทศไทยพบผู้ป่วยฉุกเฉินราว 1.7 ล้านรายต่อปี โดย 7% ของผู้ป่วยฉุกเฉิน มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และกว่า 16% ของผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งหมด จำเป็นต้องใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าเข้าช่วยเหลือ ซึ่งการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการปั๊มหัวใจ (CPR) ร่วมกับการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED)"


090861-1927-9-335x503

อย่างไรก็ตาม บริษัทวางเป้าหมายการเติบโตสำหรับกลุ่มสินค้าเครื่องมือแพทย์ในปีนี้ไว้มากกว่า 8-10% จากภาพรวมตลาดเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่ากว่า 4-5 หมื่นล้านบาท มีการเติบโตเฉลี่ย 8-10% ต่อปี แบ่งเป็น ตลาดเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉิน 800-1,000 ล้านบาท ขณะที่ กลุ่มเครื่องมือแพทย์ฉุกเฉินในปีที่ผ่านมามีการเติบโตอยู่ที่ 15%

หน้า 30 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,441 วันที่ 3 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

595959859