รฟม. หนุนช่วยค่ารถไฟฟ้าเมืองหลวง เปิดสูตรสารพัดวิธีลดราคาค่าโดยสาร

30 ม.ค. 2562 | 10:06 น.
รฟม. หนุนซับซิดี้ค่ารถไฟฟ้าเมืองหลวง พร้อมเปิดสูตรสารพัดวิธีลดราคาค่าโดยสาร แนะรัฐบาลตรึงค่ารถไฟฟ้าภูธร "เชียงใหม่-ภูเก็ต" ช่วยเหลือชาวบ้านเข้าถึงระบบขนส่งหลัก ด้าน สนข. เผยผลศึกษาคนไทยรับค่าโดยสารไม่ไหว

B554D298-018D-4EA3-8DDD-8CD63613565F
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 (M-MAP 2) ซึ่งมีระบุว่า จะมีแนวทางพิจารณาอุดหนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้กับประชาชน โดยพนักงานบริษัทสามารถนำบิลค่าเดินทางมาเบิกได้คล้ายกับค่าน้ำมัน เช่นเดียวกับพนักงานข้าราชการสามารถเบิกค่าเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ อย่าง รถไฟฟ้า หรือ รถเมล์ ได้ด้วยเช่นกัน

เบื้องต้น แนวทางดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การลดจำนวนยานพาหนะ แก้ปัญหารถติดในระยะยาว อย่างไรก็ตาม นโยบายการอุดหนุนและส่งเสริมค่าโดยสารนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีแตกต่างกันตามนโยบายของแต่ละรัฐบาล ว่า จะให้ความสำคัญอย่างไรบ้าง

 

[caption id="attachment_382020" align="aligncenter" width="336"] 91899DAD-BBA7-481B-9440-4FD555F1D890 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ[/caption]

"รัฐบาลชุดนี้ ซึ่งมีบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยควบคู่ไปกับการตรึงค่าโดยสารรถเมล์และรถไฟให้ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงระบบขนส่ง ขณะที่ ในอนาคตนั้น ประเทศไทยก็สามารถทำได้แบบในต่างประเทศ หรือ แบบในประเทศญี่ปุ่น คือ การอุดหนุนค่าโดยสารค่ารถไฟฟ้าให้กับประชาชนในหัวเมืองใหญ่ อย่าง กรุงเทพมหานคร ตลอดจนวิธีการควบคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าและรถเมล์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ประชาชนจับจ่ายได้ (Affordable Price) แล้วรัฐบาลค่อยอุดหนุนส่วนต่างค่าโดยสารที่เหลือ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะทำให้ค่าโดยสารราคาถูกและผู้ประกอบการสามารถอยู่ได้ อาทิ ค่ารถไฟฟ้าราคาเต็มตลอดสาย 100 บาท ประชาชนจะจ่ายเต็มราคาเพียง 40 บาท ส่วนอีก 60 บาท รัฐบาลจะจ่ายเงินค่าอุดหนุนให้กับเอกชน"

นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับระบบขนส่งรถไฟฟ้าในภูมิภาคนั้น ซึ่งมีหลายโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการและแนวทางการลงทุนนั้น รัฐบาลสามารถอุดหนุนค่าโดยสารส่วนต่างให้กับเอกชนผู้เดินรถสายนั้น ๆ หรือเป็นเอกชนผู้ชนะโครงการรถไฟฟ้าแต่ละสายตามหัวเมือง โดยใช้เงินภาษีท้องถิ่นหรือรายได้ที่มาจากท้องถิ่น เข้ามาเป็นตัวอุดหนุนค่าโดยสารให้มีราคาที่สมเหตุสมผลกับคนต่างจังหวัด และจูงใจให้ประชากรท้องถิ่นหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ รฟม. นั้น ปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ได้มีการกำหนดเพดานค่าโดยสารสูงสุดของโครงการไว้ที่ 16-42 บาทตลอดสาย และจะยังคงอัตราราคาดังกล่าวไว้ แม้จะมีการเพิ่มส่วนต่อขยาย แต่ราคาไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น


3EDFCA37-D61B-40F8-B978-0505E0FCA6B0

"ในอนาคต เมื่อรถไฟฟ้าดังกล่าวเปิดครบเฟสในปี 2563 คือ ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค ระยะทางรวมประมาณ 40 กม. จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 42 บาท หรือเฉลี่ยไม่ถึง 1 บาท/กม. ถือว่าเป็นหนึ่งในเส้นทางรถไฟฟ้าที่ถูกสุดในกรุงเทพมหานคร"

ด้าน แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระบุว่า จากผลการศึกษาแผนแม่บท M-MAP 2 ซึ่งรวมถึงค่าโดยสารรถไฟฟ้าในปัจจุบัน พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่ประชากรต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้าจำนวนมากในแต่ละเดือน ดังนั้น ในอนาคตประชาชนจะไม่สามารถรับภาระค่าโดยสาร 100-120 บาท/เที่ยว จึงเป็นโจทย์ที่รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาจะต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ เนื่องจากหลังจากปีนี้เป็นต้นไปจะมีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดบริการแทบทุกปี

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นมองว่า รัฐบาลมีความสามารถตรึงราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้ประชาชนได้ 20-30 บาทตลอดสาย ขึ้นอยู่กับสูตรคำนวณเรื่องการอุดหนุนให้เอกชน ว่า จะมีแนวทางเจรจาออกมาเป็นอย่างไร แต่ทั้งนี้ ขณะนี้รถไฟฟ้าสายหลัก อย่าง รถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม. นั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจาขอให้ผู้เดินรถ อย่าง บีทีเอส ยอมลดราคาค่าโดยสารตลอดสายจากคูคต-สมุทรปราการ ให้อยู่ที่ 65 บาทตลอดสาย จากผลการศึกษาเดิมราคาสายสีเขียวสูงสุดที่ 145 บาทตลอดสาย เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ารางเบา (แทรม) ภูมิภาคในต่างจังหวัด อาทิ ภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา พิษณุโลก และขอนแก่นนั้น สามารถกำหนดแนวทางการตรึงราคาค่าโดยสารได้เช่นกัน จากการดูแลของหน่วยงานท้องถิ่น

595959859