ดัชนีภาพลักษณ์คอรัปชั่นปี 61 ไทยร่วง แนวร่วมเอกชนฯจี้รัฐร่วมแก้อย่างเป็นระบบ

30 ม.ค. 2562 | 04:01 น.
S__50528566

องค์กรเพื่อความโปร่งใสระหว่างประเทศ(TI)ได้เผยแพร่ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันในภาครัฐทั่วโลก(CPI) ประจำปี 2561 ไทยได้ 36 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ถูกลดอันดับลงจากอันดับที่ 96 เมื่อปี 2560 ซึ่งได้คะแนน 37 คะแนน ลงมาเป็นอันดับที่ 99 โดยปี 2560 ไทยเคยทำอันดับได้ดีขึ้นจากเมื่อปี 2559 ที่เคยอยู่ในอันดับที่ 101 ด้วยคะแนน 35 คะแนน

S__50528569

รายงานจัดทำดัชนีภาพลักษณ์ การคอร์รัปชั่นในภาครัฐทั่วโลกยังบ่งชี้ว่า 2 ใน 3 ของประเทศต่างๆทั่วโลก ทำคะแนนได้ไม่ถึง 50 คะแนน และประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านั้น โดยไทยทำคะแนนได้ 36 คะแนน ขณะที่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 43 คะแนน

ส่วนประเทศที่อยู่ในอันดับต้นๆของ CPI คือเดนมาร์กและนิวซีแลนด์ ทำ คะแนนได้ 88 และ 87 ตามลำดับ ตามมาด้วย  ฟินแลนด์ สิงคโปร์ ที่ทำคะแนนได้ 85 คะแนน เท่ากัน  เช่นเดียวกับสวีเดนและสวิตเซอร์แลนด์ ที่ทำคะแนนได้  85 คะแนนเท่ากัน นอร์เวย์ และเนเธอร์แลนด์ ทำคะแนนได้ 84 และ 82 ตามลำดับ ส่วนแคนาดาและลักเซมเบิร์ก ทำคะแนนได้ 81 คะแนนเท่านั้น

บาร์ไลน์ฐาน ด้านนายกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ เลขานุการ แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) กล่าวว่า “ผลดัชนี CPI ที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าคอร์รัปชันยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของไทยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด ถึงแม้ว่าดัชนี CPI จะเป็นเรื่องของภาพลักษณ์ที่ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆมองประเทศไทย แต่ก็สะท้อนถึงสภาวะความรุนแรงของปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจริง”

“การจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันของไทยให้ได้ผล ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และรอบด้าน พยายามลดเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการรับ-จ่ายสินบน โดยภาครัฐต้องพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการ ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ทำให้ทุกขั้นตอนโปร่งใส ตรวจสอบได้ ในขณะที่ภาคเอกชนเองก็ต้องร่วมมือร่วมใจกันเลิกจ่ายสินบนเพื่อซื้อความสะดวก ซื้อความผิด หรือซื้อธุรกิจ ส่วนภาคประชาสังคมก็ต้องช่วยกันสอดส่อง สร้างค่านิยมใหม่ไม่ยอมรับวัฒนธรรมการโกงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทย มีเพียงแนวทางนี้เท่านั้นที่จะทำให้ดัชนี CPI ของไทยขยับสูงขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 090861-1927-9-335x503-8-335x503-13-335x503