'อุตตม' อำลาตำแหน่ง รมว.อุตฯ ฝากผลงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0

29 ม.ค. 2562 | 10:44 น.
'อุตตม' อำลาตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ฝากข้าราชการสานต่อนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 ชี้! ผลงานที่ผ่านมาเป็นประโยชน์กับประเทศ เห็นเป็นรูปธรรม

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ได้มาอำลาตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กับข้าราชการและหน่วยงานภายใต้สังกัด โดยขอให้ช่วยสานต่องานสำคัญ ๆ ต่อเนื่องไปตามนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาเอสเอ็มอีพัฒนาคนและนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมโลก

 

[caption id="attachment_381479" align="aligncenter" width="503"] นายอุตตม สาวนายน นายอุตตม สาวนายน[/caption]

โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี จะต้องช่วยกลุ่มผู้ประกอบการไมโครเอสเอ็มอีและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ล้มไปแล้ว ต้องการให้การช่วยเหลือเข้มข้นยิ่งขึ้น การทำงานต้องต่อเนื่องและทำให้เร็วยิ่งขึ้น เพราะถ้าทำงานช้าจะไม่ทันการ และภาคอุตสาหกรรมเป็นหัวใจของเศรษฐกิจ หลายประเทศประสบผลสำเร็จในการยกระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็น จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์

ทั้งนี้ การดำเนินการตามนโยบายที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งที่ดี ขอให้ช่วยกันขับเคลื่อนต่อไปในการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น โครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV การพัฒนาเทคโนโลยี การขับเคลื่อนศูนย์ปฎิรูป อุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation Center : ITC การพัฒนาเอสเอ็มอีและธุรกิจสตาร์อัพและนวัตกรรมผ่าน บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ InnoSpace (Thailand) Co., Ltd. การพัฒนา E Factory

ขณะที่ ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมไม่เพียงดูแลผู้ประกอบการโรงงาน จึงขอให้ใช้โอกาสนี้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า และขอความร่วมมือให้ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มาร่วมยกร่างกฎหมายดูแลเรื่องมลพิษดูแลสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทางกระทรวงพลังงาน พร้อมจะสนับสนุนนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป


DSC3

นายอุตตม กล่าวอีกว่า ส่วนอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่ผ่านมาให้มีการขยายผลมากขึ้น และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคน สร้างแพลตฟอร์มในการเสริมสร้างทักษะใหม่ให้แรงงาน บุคลากรของประเทศ ให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุค 4.0 มีภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งสามารถนำเสนอมาตรการมายังรัฐบาลให้พิจารณาได้

สำหรับการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์อัพ มีการก่อตั้ง บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งปลายเดือน ก.พ. นี้ จะมีการลงนาม โดยมี Hong Kong CyberPort และหน่วยงานส่งเสริมสตาร์ทอัพของอิสราเอล ผู้นำ Startup ของโลกมาร่วมมือด้วยกับฝ่ายไทย ถือเป็นอีกแพลทฟอร์มในการเตรียมคนไทยในการก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ของภาคอุตสาหกรรมไทย

นอกจากนี้ ยังขอให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นหน่วยงานหลักในการช่วยส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)  ซึ่งที่ผ่านมาได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ 9 มาตรการทั้งด้านการเงิน และความช่วยเหลืออื่น ๆ แต่ยังไม่พอจะต้องทำเพิ่มเติมอีก ซึ่งที่ผ่านมาสามารถพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์ที่เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ การเพิ่มผลิตภาพให้เอสเอ็มอี เพิ่มการเชื่อมโยงสู่ตลาดสากล 2.7 หมื่นราย ในช่วงกว่า 2 ปี แต่ยังถือว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 เท่านั้นยังต้องสานต่อเนื่อง


DSC1

อีกทั้ง ฝากให้ กสอ. เดินหน้าการพัฒนาโครงข่ายศูนย์ปฎิรูปอุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation Center : ITC โดยร่วมมือกับสถานบันการศึกษา ให้มีการขับเคลื่อนให้กว้างขวางและมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น หากต้องการงบประมาณเพิ่ม สามารถขออนุมัติจากรัฐบาลได้ เพราะจะเป็นการช่วยเหลือคนตัวเล็กในพื้นที่ และยังยึดโยงกับการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) ที่จะต้องขยายเพิ่มเติมให้มากขึ้น จากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีเพียง 30 กว่าหมู่บ้านเท่านั้น

รวมทั้งให้เร่งผลักดันการพัฒนา E Factory โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในโรงงาน พร้อมเข้มงวดการดูแลสิ่งแวดล้อมและการมีบทบาทช่วยพัฒนาชุมชนโดยรอบโรงงาน

ขณะที่ การพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพขอให้เดินหน้าต่อไปอย่างจริงจัง เพราะเป็นจุดแข็งของประเทศและจะช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยได้อย่างแท้จริง เพราะไทยจะเป็นศูนย์กลางไบโอฮับของอาเซียน โดยภายใน 5 ปี น่าจะเห็นภาพนี้ชัดเจนและจะต้องสร้างโอกาสสร้างอาชีพ เพื่อดึงประชาชนให้อยู่ในพื้นที่ โดยนำอุตสาหกรรมเข้าไปในพื้นที่และจะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคน ซึ่งที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้ปลดล็อกให้สามารถเดินหน้าอุตสาหกรรมชีวภาพได้แล้ว


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก

นอกจากนี้ ยังต้องเดินหน้าเพิ่มการอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว เช่น การยกเลิกอายุใบ รง.4 ด้านการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องเร่งดำเนินการไปสู่การให้บริการแบบ e-Services มากขึ้น

ส่วนการเชื่อมโยงกับต่างประเทศนั้น ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้มีข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความร่วมมือพัฒนา Thailand 4.0 มีการการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม จ.มิเอะ – ประเทศไทย มีเป้าหมายขับเคลื่อนการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยให้เป็นผู้นำได้ในระดับสากล ที่สอดรับการพัฒาคนและอุตสาหกรรมเป้าหมายและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ติดตามฐาน