ทางออกนอกตำรา : ‘ลุงตู่’ จัดชุดใหญ่‘เค้กไฟกระพริบ’ ล้มยักษ์กฟผ.เปิดทางยักษ์เอกชนสู้

26 ม.ค. 2562 | 20:19 น.
ล้มยักษ์-002 50255293_2507071322668356_849490135387996160_o วันที่ 24 มกราคม 2562 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้ประชุมกันที่ทำเนียบรัฐบาล หลังการประชุม “เฮียศิริ จิระพงษ์พันธ์” รมว.พลังงาน ออกมาบอกว่า ที่ประชุม กพช.มีมติเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (Power Development Plan-PDP) แล้ว

ภาพใหญ่สุดคือ การดำเนินตามแผนการผลิตไฟฟ้าของประเทศในระยะ 19-20 ปี หลังจากนี้ไปจะทำให้ค่าไฟฟ้าของไทย อยู่ระหว่าง 3.50-3.63 บาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ย 3.58 บาทต่อหน่วยเท่านั้น...

ดีมั้ย ดีมั้ย ดี...ชอบมั้ย ชอบมั้ย ชอบ...

ผมมีข้อมูลมาแชร์ให้ทุกท่านได้เห็นภาพดังนี้ ที่ประชุม กพช.พยากรณ์ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะยาว 20 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบ 3 หน่วยงาน คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และไฟฟ้าที่มาจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง หรือขายตรงของเอกชน (Independent Power Supply:IPS) ทั้งระดับในประเทศ ระดับภูมิภาคของประเทศจะตก 77,211 เมกะวัตต์

ข้อมูลที่นำเสนอ “นายกฯลุงตู่” ที่เป็นประธานไฟฟ้าทั้งหมดจะมาจากการผลิตไฟฟ้าใหม่ 56,431 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 20,766 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังนํ้ำสูบกลับ 500 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าระบบโคเจเนอเรชัน (ผลิตไฟฟ้าและไอนํ้าร่วมกัน) 2,112 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 เมกะวัตต์ รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 5,857 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 8,300 เมกะวัตต์ และจากแผนอนุรักษ์พลังงาน 4,000 เมกะวัตต์
50943229_2507071299335025_7883292796839264256_o แผนพีดีพี ยังได้กำหนดนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ด้วยการเพิ่มสัดส่วนโรงไฟฟ้าขยะจาก 500 เมกะวัตต์ เป็น 900 เมกะวัตต์ สนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน อาทิ เชื้อเพลิงชีวมวล 3,376 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,485 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังนํ้า 2,725 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเรือน ที่เรียกกันว่า โซลาร์ประชาชน 10,000 เมกะวัตต์ นำร่องปีละ 100 เมกะวัตต์ ระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

ที่ประชุม กพช.ยังเห็นชอบต่อสัญญากลุ่มโรงไฟฟ้า ขนาดเล็ก (เอสพีพี) ระบบโคเจเนอเรชันที่ผลิตอยู่ 25 ราย ซึ่งแต่ละรายที่ผลิตและขายไฟฟ้าให้กับรัฐ “รํ่ารวยเป็นเศรษฐี” กันถ้วนหน้า กำลังผลิตรวม 2,974 เมกะวัตต์

จำแนกแจกแจงกันแบบนี้ หลายท่านอาจจะไม่เห็นภาพ แต่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจไฟฟ้า ทั้ง “หน่วยงานรัฐ-เอกชน” ต้องบอกว่า บางกลุ่มอ้าปากค้าง ร้องออกมาดังๆ ว่า ตายแหล่ว ตายแหล่ว ตายแหล่ว.....

บางคนอาจหูผึ่ง บางคนตาลุกวาว กับโอกาสทองจากการจัดกลุ่มการผลิตไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอีก 19 ปีข้างหน้า ที่หน่วยงานของรัฐ คือ กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กฟผ. กฟภ. กฟน.จะต้องดำเนินการจัดสรรให้มีการผลิตไฟฟ้าตามแผนนี้

[caption id="attachment_380235" align="aligncenter" width="500"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

ผลลัพธ์แรกที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้คืออะไรรู้มั่ยครับ...ราคาหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า พลังงานทดแทนเขียวยกแผง นำโดย EA, GULF, BCPG, BGRIM, GPSC-GLOW และ SPRC ซื้อขายคึกคัก ราคาทะยานบวกขึ้นมารับ มติของ กพช.ที่อนุมัติแผน PDP ฉบับใหม่

หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กSPP IPP ในระบบโคเจเนอเรชั่นCogeneration บวกยกแผง แรงยกชุด นำโดยหุ้น RATCH-TSE-GUNKUL

ทำไมนะรึขอรับ ผมขอบอกชัดๆ ลงไปนะขอรับอย่ามาว่าผมนะพี่น้อง....BGRIM มีโรงไฟฟ้าที่ใกล้หมดอายุ 3 โรง กำลังการผลิต 154.7 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตในมือทั้งสิ้น 2,100 เมกะวัตต์ ได้แก่ โรง ABP1 (2562) และ ABP2 กับ BPLC1 (2565)

GLOW มีโรงไฟฟ้าที่จะทยอยหมดอายุสัญญา ได้แก่ โรง Glow Energy เฟส 2 (2563), Glow SPP1 (2564), Glow SPP2 (2567), Glow SPP3 (2567-68) และ Glow SPP11 (2568) กำลังการผลิตรวม 1,200 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตในมือทั้งสิ้น 2,900 เมกะวัตต์

EGCO มีโรงไฟฟ้าที่จะหมดอายุได้แก่ โรง Gulf Cogen (2562) และหนองแค โคเจนเนอเรชั่น (2564) กำลังการผลิตรวม 230.9 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตในมือทั้งสิ้น 4.8 พันเมกะวัตต์

เมื่อมติออกมาเป็นเช่นนี้ ใครเป็นผู้ผลิตย่อมยิ้มออก ตีปีกกั๊บๆ เจ้าของ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นของกิจการขายไฟฟ้าให้รัฐ และนำมาขายให้กับประชาชน ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ไม่ต้องสุ่มเสี่ยงในเรื่องซื้อไม่ซื้อต่อสัญญาไม่ต่อสัญญา พวกเขาจึงรวยกันถ้วนหน้าจากราคาที่ปรับตัวขึ้น

แต่ท่ามกลางคนที่มีโอกาส ย่อมมีคนขาดโอกาสติดกับดักอยู่เสมอครับ เมื่อรัฐบาลนายกฯลุงตู่ จัดนโยบายชุดใหญ่ไฟกะพริบยาวไปแบบนี้ในอีก 20 ปี ผมของบอกว่า คนที่เจ็บหนัก...ขนาดปางตาย คือ กฟผ.ขาใหญ่ในการผลิตไฟฟ้าของประเทศครับ
1548306997374-696x522 เพราะอะไรนะหรือครับ เพราะถ้าพิจารณาสาระหลักของแผนพีดีพี ผ่านการจัดสรรรูปแบบการผลิตไฟฟ้าในระยะ 20 ปี แล้ว จะทำให้ “ยักษ์ใหญ่ กฟผ.” เน่าสนิทครับ เพราะเท่ากับเป็นการลดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ที่ปัจจุบันผลิตอยู่ในสัดส่วน 50% แต่จากมติ กพช. ตามแผนพีดีพีชุดที่นายกฯลุงตู่จัดสรรแบบนี้จะทำให้กำลังผลิตของ กฟผ. ลดลงเหลือเพียง 24-25% เท่านั้นขอบอก...กฟผ.รู้ถึงภัยที่กำลังมาหรือยังครับพี่น้อง....

หลายคนอาจจะเข้าใจว่า กฟผ. เป็นผู้ผูกขาดระบบการผลิตไฟฟ้าในไทยอยู่ แต่ท่านเชื่อหรือไม่ในปัจจุบันนี้ หลังจากที่มีการเปิดให้เอกชนเข้ามาผลิตไฟฟ้าได้สัดส่วนของ กฟผ. ก็ลดลงเรื่อยๆ จากเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้วที่อยู่ที่ 55-57% ตอนนี้เหลือ 35-40% แต่หลังจากนี้ไปในอีก 20 ปีข้างหน้า ยักษ์ใหญ่ที่หยิ่งทรนงอย่าง กฟผ. จะเหลือกำลังผลิตเพียง 24%

เมื่อรัฐบาลลดสัดส่วนการผลิตของ กฟผ.ลง ผู้ที่ได้รับอานิสงส์ในการเข้ามาผลิตไฟฟ้าแข่งผ่านกรรมวิธีการเสนอราคาที่ตํ่ากว่า จะเข้ามาแทนที่คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน...แล้วเอกชนคือใคร...ที่จะกุมชะตาเค้กก้อนใหญ่ในระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศ...อย่าให้ผมบอก...มันเจ็บปาก...ครับ

กฟผ. ผู้ทำหน้าที่รักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในประเทศมาโดยตลอด กำลังถูกปลดออกจากหน้าที่แล้วปล่อยให้เอกชนทำแทน เพราะแข่งขันกันได้

ใครคิดอย่างไรไม่รู้ครับ แต่ผมคิดว่า “นายกฯลุงตู่-เฮียหริ” กำลังสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดมายาวนานให้เกิดขึ้นในประเทศให้มีประสิทธิภาพ ส่วนใครจะสงสัยที่ว่ามีนัยบางอย่างที่น่าเคลือบแคลงมากกว่าที่เห็นอยู่เปลือกนอกหรือไม่ ผมมิอาจไปการันตี

อย่างไรก็ตาม เมื่อล้มยักษ์ใหญ่จอมผูกขาดและไร้ประสิทธิภาพลงไป จะต้องไม่ปล่อยให้ยักษ์ใหญ่เอกชนเพียงไม่กี่รายมาผูกขาดการผลิต การสร้างราคา ในระบบไฟฟ้าของประเทศที่คนไทยทุกคนต้องใช้ก็แล้วกันนายกฯลุงตู่..มิเช่นนั้น...หึหึ..

อ่าน | คอลัมน์ทางออกนอกตำรา ทั้งหมด >>คลิก<< 

| คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา
| โดย : บากบั่น บุญเลิศ
| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3439 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 27-30 ม.ค.2562
595959859