ส่องโอกาสกระจายสินค้าไทยใน‘ซีอาน’ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์www.iesroad.com (2)

28 ม.ค. 2562 | 07:13 น.
นอกจาก E-Commerce ทั่วไปแล้ว ยังมี การนำเข้าส่งออกสินค้าจากต่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ หรือที่นิยมเรียกว่า Cross Border E-Commerce (CBEC) ที่ได้กลายมาเป็นโอกาสใหม่ของ E-Commerce ในจีน โดยมีทั้งรูปแบบของ B2B (Business-to-Business) และ B2C (Business to Consumer) ซึ่งรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ E-Commerce ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ตอนกลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกของจีน โดยมีการสนับสนุนให้เปิดคลัง สินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse) รวมไปถึงการประกาศใช้มาตรการสำหรับเขตการค้าเสรีที่มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าบางราย การในอัตราที่ตํ่ากว่าการนำเข้าแบบปกติ ทำให้สินค้าที่ซื้อผ่าน CBEC มีราคาถูกกว่าสินค้านำเข้าที่วางจำหน่ายในร้านค้าปลีกทั่วไป

ล่าสุด คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปประเทศ (NDRC) ได้ประกาศ 22 เมืองให้เป็น “เมืองแห่งการนำร่องการค้าอี-คอมเมิร์ซข้ามแดน” (Cross Border E-Commerce Pilot Zones : CBEC Pilot Zone) ประจำปี 2561 โดยรัฐบาลจะให้การสนับสนุนบริษัท E-Commerce ในการพัฒนาที่ตั้งและระบบคลังสินค้าในต่างประเทศ รวมไปถึงการส่งเสริมและปลูกฝังการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง

Xianhow ในส่วนของ เขตโลจิสติกส์นานาชาตินครซีอาน (Xi’an International Trade and Logistics Park) หรือ ITL นอกจากการ บูรณาการสำนักงานศุลกากรและสำนักงานตรวจสอบและกักกันโรคไว้ด้วยกันแล้ว ยังได้สร้างแพลตฟอร์มสำหรับการค้าอี-คอมเมิร์ซข้ามแดน (CBEC) ที่ควบคุมและกำกับดูแลโดยใช้ชื่อว่า บริษัท Xi’an International Inland Port E-commerce Co., Ltd. หรือ XIIPE ภายใต้ชื่อ U Life (www.iesroad.com) ปัจจุบัน U Life ใช้ประโยชน์จากการจดทะเบียนก่อตั้งวิสาหกิจภายใน ITL ที่เป็นหนึ่งในโซนพื้นที่ทดลองเขตการค้าเสรีมณฑลส่านซี เรียกว่าได้สิทธิประโยชน์ในด้านภาษีนำเข้าและเข้าถึงระบบกระจายสินค้าได้อย่างเต็มที่

สินค้าที่จำหน่ายบน www.iesroad.com มีทั้งสิ้น 6 กลุ่ม ได้แก่ สินค้ากลุ่มแม่และเด็ก เครื่องสำอาง-สกินแคร์ อาหารนำเข้า อาหารเสริมสุขภาพ สินค้าแบรนด์ เนม และสินค้าทั่วไปในชีวิตประจำวัน นอกจากสินค้า 6 กลุ่มข้างต้นแล้ว www.iesroad.com ยังมีการแบ่งสินค้าตามประเทศอีกด้วย โดยสินค้าจากประเทศไทยที่ได้รับความนิยม ได้แก่ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงผิว

จากการสำรวจสินค้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนพบเพียงกาแฟขาวแปรรูปของมาเลเซียเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสการทำตลาดของสินค้าไทยในกลุ่มอาหารและผลไม้แปรรูป เครื่องปรุงรส รวมไปถึงสินค้าหัตถกรรมตกแต่งบ้านยังมีอีกมาก สินค้าที่ผู้บริโภคจีนนิยมซื้อผ่าน U Life โดยมากเป็นสินค้าในกลุ่มแม่และเด็ก โดยเฉพาะนมผงและเครื่องใช้สำหรับทารกที่ได้รับอานิสงส์จากขบวนรถไฟขนส่งสินค้านานา ชาติ “ฉางอันห้าว” ซึ่งขนสินค้าของจีนไปขายยังทวีปยุโรป และบรรทุกสินค้าในกลุ่มแม่และเด็กที่ผลิตจากประเทศในทวีปยุโรปกลับเข้ามาจำหน่ายในจีนด้วย

คอลัมน์ หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3,438 ระหว่างวันที่ 27-30 มกราคม 2562 

595959859