สศช.ชง ‘นายกฯ’ รื้อแผนตั้ง 52 หน่วยงานใหม่ 25 มีนาคมนี้

25 ม.ค. 2562 | 05:58 น.
 

ทศพร-สศช-NESDB-e1533983727348 สศช.ชงนายกฯ รื้อแผนตั้ง 52 หน่วยงานใหม่ 25 ม.ค.นี้ หวั่นภาระงบประจำพุ่ง ดึงให้บริการมากขึ้น

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันศุกร์ที่ 25 มกราคมนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีวาระสำคัญที่จะพิจารณา 2 เรื่อง คือ แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการทบทวนการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ตามแผนปฏิรูปประเทศ 52 หน่วยงาน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ เนื่องจากจะเป็นภาระงบประมาณของแผ่นดินในอนาคต

“การทบทวนการตั้ง 52 หน่วยงานขึ้นใหม่ตามแผนปฏิรูปประเทศ เคยมีข้อเสนอนี้ต่อครม.แล้วสมัยที่เป็นเลขาธิการ ก.พ.ร. เพราะจะทำให้โครงสร้างของระบบราชการใหญ่ขึ้น เป็นภาระกับงบประมาณในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้พล.อ.ประยุทธ์ก็สนับสนุนให้มีทบทวน เนื่องจากแผนปฏิรูปประเทศต้องสอดรับกับแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังจะออกมา”

[caption id="attachment_378913" align="aligncenter" width="500"] สศช.ชง ‘นายกฯ’ รื้อแผนตั้ง 52 หน่วยงานใหม่ 25 มีนาคมนี้ เพิ่มเพื่อน [/caption]

ด้านนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เปิดเผยว่า ตามแผนปฏิรูปประเทศมีการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ 52 หน่วยงาน เป็นระดับกรม 9 กรม ระดับกอง 13 กอง ระดับองค์กรอิสระและองค์การมหาชนอีก 9 หน่วยงาน และอื่นๆ อีกที่เป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบพิเศษ 21 หน่วยงาน ที่ต้องพิจารณาใน แง่ของความคุ้มค่าเหมาะสมของงบประมาณแผ่นดินประกอบ แต่เมื่อดูยุทธศาสตร์ชาติที่ออกมาทีหลังแผนปฏิรูปประเทศ ก็พบว่ายุทธศาสตร์ชาติต้องการปรับสมดุลและการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ต้องมีขนาดเล็กลง และใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเกิดคำถามว่าการขอเสนอตั้ง 52 หน่วยงาน ที่ยังไม่ได้วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นและภาระงบประมาณ จะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่

[caption id="attachment_379451" align="aligncenter" width="503"] ปกรณ์ นิลประพันธ์ ปกรณ์ นิลประพันธ์[/caption]

อย่างไรก็ตาม ก.พ.ร. ดูโครงสร้างงบประมาณรายจ่าย พบว่าปี 2562 งบทั้งหมด 3 ล้านล้านบาท แต่เป็นรายจ่ายประจำ 2.2 ล้านล้านบาท หรือ 75% ส่วนงบประมาณรายจ่ายปี 2563 งบ 3.2 ล้านล้านบาท งบประจำถึง 2.35 ล้านล้านบาท เป็น 73% แม้เปอร์เซ็นต์ดูลดลงแต่เงินเพิ่มขึ้น 8.5 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.8% ก.พ.ร. จึงต้องหาทางบอกกับสังคมว่ากำลังจะเกิดปัญหา ถ้าไม่หาทางเตือนสติหรือกระตุกไว้อาจจะมีการตั้งหน่วยงานที่ไม่จำเป็นขึ้นเลยก็ได้ โดยอ้างว่าเป็นไปตามกฎหมายคือแผนปฏิรูปประเทศ ทั้งที่ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทที่ต้องออกตามยุทธศาสตร์ชาติ

ก.พ.ร.จะเสนอว่าถ้าจะต้องตั้งหน่วยงานขอให้ตั้งเฉพาะเท่าที่จำเป็น ปรับบทบาทภารกิจของหน่วยงานตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าทำไม่ได้ให้เสนอตามขั้นตอนปกติในการตั้งหน่วยงาน เพราะหากพิจารณาไม่รอบคอบจะหมายถึงภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในอนาคตระยะยาว และยังเสนอว่าในเมื่อปัจจุบันมีดิจิตอลเทคโนโลยีแล้ว รัฐบาลก็เน้นรัฐบาล 4.0 ก็น่าจะนำเทคโนโลยีมาให้บริการมากขึ้น โครงสร้างหน่วยงานขนาดใหญ่อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ จึงขอให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละคณะกรุณาทบทวน

| หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3438 หน้า 16 ระหว่างวันที่ 24-26 ม.ค. 2562
595959859