นับถอยหลัง "บิ๊กอู๋" เซ็นลงนามอนุสัญญาฯ 188

25 ม.ค. 2562 | 04:59 น.
สมาคมประมงฯ เปิดทาง "บิ๊กอู๋" ลงนามอนุสัญญาฯ 188 ไร้ข้อกังวล แจงกฎหมายส่วนใหญ่บังคับใช้หมดแล้ว แลกเปลี่ยนข้อเสนอเพิ่มเติมให้คนรุ่นใหม่อายุ 16 ปีขึ้นไป ให้ฝึกงานบนเรือประมง แก้ไขกฎหมายผ่อนปรนให้นายจ้างเลือกจ่ายเงินสดและจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าได้ ด้านรัฐมนตรีฯ สั่งเคลียร์ชัดก่อนบินลงนาม 30 ม.ค. นี้

S__43384861
นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการประชุม (24 ม.ค. 62) ที่มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188  หรือ อนุสัญญาฯ ซี 188 ว่าด้วยการทำงานภาคประมง พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) นั้น ไม่มีผลกระทบ เพราะกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาซี 188 ทั้งกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้อยู่แล้ว และที่มีบางส่วนที่จะมีการออกมาเพิ่มเติมจะไม่มีผลกระทบกับพี่น้องชาวประมง ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกัน 11 ข้อ


family-2073604_960_720

ประกอบด้วย 1.อัตราการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน และการเรียกเงินคืนจากกองทุนฯ กรณีลูกจ้างอยู่ไม่ครบปี 2.การเปิดโอกาสให้สามารถซื้อประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขควบคู่กับประกันของภาคเอกชน ทดแทนการเข้าอยู่ในระบบของประกันสังคม และขอให้กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า ผู้ประกอบการประมงสามารถซื้อประกันสุขภาพเพียง 3 เดือน ได้หรือไม่


BAN211_THAILAND-FISHERMEN_0326_03-503x363

3.นิยาม "เรือประมงที่ทำการประมงเพื่อการค้า" ยังไม่ชัดเจน ซื่งเรือประมงพื้นบ้านจะต้องถูกบังคับใช้ตามกฎหมายด้วยหรือไม่ 4.การจัดที่พักอาศัยบนเรือประมง มีผลบังคับใช้เรือขนาดและประเภทใดบ้าง 5.ความเหมาะสมเกี่ยวกับปริมาณ/คุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม 6.การนำเข้าแรงงานตามเอ็มโอยูใช้เวลานานและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างฝ่ายเดียว ทำให้แรงงานต่างด้าวไม่มีความรับผิดชอบมักหลบหนีไปทำงานกับนายจ้างรายใหม่ 7.การตรวจสุขภาพ ไม่เห็นด้วย หากกระทรวงสาธารณสุขเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มในการตรวจสายตาและการได้ยิน พร้อมขอให้จัดทำคู่มือแนวทางปฎิบัติในการส่งต่อผู้ป่วย


IMG_4831-503x335

8.การนับชั่วโมงพักไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานบนเรือประมง โดยศูนย์ปีโป้บางแห่งมีการตรวจนับชั่วโมงพักยาวติดต่อกัน 10 ชั่วโมง 9.ขอให้แก้ไขความซ้ำซ้อนของกฎหมายเกี่ยวกับบัญชีรายชื่อลูกเรือ 10.การกำหนดอัตรากำลังตามขนาดของเรือไม่ชัดเจน และปัญหาจำนวนลูกเรือไม่ครบตามที่แจ้ง Port Out ทำให้ไม่สามารถออกทำการประมงได้ และ 11.เงื่อนไขการส่งตัวแรงงานกลับประเทศต้นทาง นายจ้างไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายผิด


IMG_4700-503x335

นายมงคล กล่าวต่ออีกว่า มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม ก็คือ 1.การเปิดโอกาสให้บุคคลอายุ 16 ปีขึ้นไป ฝึกงานในเรือประมงได้ 2.ปัญหาการจ่ายค่าจ้างผ่านบัญชีธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม สร้างภาระให้กับนายจ้าง/ลูกจ้าง เสนอให้แก้ไขกฎหมายให้สามารถจ่ายเป็นเงินสดและจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าได้ 3.แนวทางและประเภทเรือที่ต้องขอใบรับรองการตรวจสภาพเรือ 4.เสนอให้มีการควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์ปีโป้ 2.แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวีเอ็มเอส 3.เสนอให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนสำหรับทำการประมง 4.ขอให้แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงและการนำเข้าตามระบบเอ็มโอยู และ 5.ปัญหาการแจ้งเรือเข้า-ออก ศูนย์ปีโป้ในพื้นที่เกาะยาว จ.พังงา ซึ่งมีเกาะแก่งและกระแสน้ำที่เป็นอุปสรรคไม่สามารถเดินเรือได้ตามกำหนดเวลา


ruuprathmntrii_180606_0004-503x335

ด้าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานภาคประมง พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) รับข้อเสนอทั้งหมดให้หน่วยงานต่าง ๆ แก้ไขให้ชัดเจนจากข้อเรียกร้องชาวประมงและที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้แล้วเสร็จ ก่อนดำเนินการยื่นสัตยาบันใน 30 ม.ค. นี้

595959859