บ.วิจัย ชี้! "ยานยนต์ไฟฟ้า" จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมไทย

24 ม.ค. 2562 | 10:38 น.
'เคพีเอ็มจี' เผยผลวิจัย ระบุ นโยบายยานยนต์ไฟฟ้าจะช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมของไทยได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและความหลากหลายในการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศ

KPMG-Global Automotive Executive Survey (1)
ธิดารัตน์ ฉิมหลวง ประธานฝ่ายดูแลลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรม เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า จากผลสำรวจ "20th KPMG Global Automotive Executive Survey (GAES)" ที่บ่งชี้ว่า ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ผลิตรถยนต์สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยานยนต์ชั้นนำของโลก แต่ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับคู่แข่งในภูมิภาคที่ต่างกำลังมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของตนเอง ประกอบกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ดังนั้น ผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย จึงต้องหาวิธีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับตนเอง

โดยบริษัทฯ มองว่า ยานยนต์ขับเคลื่อนไฟฟ้า (Electric Vehicles – EVs) จะสามารถช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยได้ เนื่องจากความต้องการ EVs ทั่วโลก ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้ EVs และนโยบายทางภาษีที่ส่งเสริมการผลิต EVs ในประเทศไทย ต่างเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในการเพิ่มความหลากหลายในการผลิต สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด

ด้าน ผู้บริหารทั่วโลก ได้แสดงความคิดเห็นผ่านบทวิจัย โดยเชื่อว่า ภายในปี 2583 ระบบขับเคลื่อนแต่ละระบบจะมีส่วนแบ่งตลาดที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แบ่งเป็น BEVs 30%, ระบบไฮบริด 25%, FCEVs 23% และ ICEs 23%

"BEVs เป็นผู้นำตลาดในส่วนของผู้บริโภคนั้น ไม่ต้องการเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนทางเลือกแบบเต็มรูปแบบ ระบบไฮบริดจะเป็นทางเลือกอันดับ 1 ของผู้บริโภค สำหรับรถยนต์คันต่อไป โดยมี ICEs เป็นตัวเลือกที่ตามมา"


ChargeNow at CentralWorld (1)

อนึ่ง ผลสำรวจ "20th KPMG Global Automotive Executive Survey (GAES)" มาจากการสอบถามผู้บริหารในอุตสาหกรรมยานยนต์และเทคโนโลยีเกือบ 1,000 ราย และผู้บริโภคประมาณ 2,000 รายทั่วโลก พบว่า มีความเป็นไปได้ที่อุตสาหกรรมยานยนต์จะถูกขับเคลื่อนโดยนโยบาย กฎข้อบังคับ แต่ละประเทศมีแนวโน้มที่จะพัฒนาระบบส่งกำลังยานยนต์ (Powertrain) ที่ตรงกับวัตถุดิบ(Raw Material) ที่ประเทศนั้นมี เช่น สหรัฐอเมริกา จะมุ่งพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engines – ICEs) และยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles – FCEVs) ขณะที่ ประเทศจีน จะเน้นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (e-Mobility)

ตลาดค้าปลีกอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดย 30-50% ของร้านค้าปลีกจะหายไป หรือ ถูกเปลี่ยนสภาพไป ภายในปี 2568, จะไม่มีผู้เล่นรายไหนที่สามารถคุมห่วงโซ่แห่งคุณค่าได้ทั้งหมด แต่ละองค์กรจะมีความร่วมมือกันมากขึ้นในอนาคต, ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าจะซื้อรถยนต์ไฮบริดเป็นคันต่อไป, ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles – BEVs) กลับมาครองเทรนด์การผลิตอันดับ 1 ของปี ชนะยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEVs)

โตโยต้าได้รับเลือกจากผู้บริหารให้เป็นแบรนด์ที่เตรียมพร้อมสำหรับอนาคตได้ดีที่สุด ตามมาด้วย BMW และ Tesla

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก